เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กระชังปลาบนแหล่งธรรมชาติ เหนือเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง
   
ปัญหา :
 
 
หลาย คนอาจไม่เชื่อว่า...ในเมืองไทยเรานั้นมีอาณาจักรแห่งปลากระชังคุณภาพ ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่ใสสะอาดตั้งอยู่เหนือเขื่อนขนาดใหญ่ รายล้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ภาพ ปลาทับทิมสีแดงอมชมพูเวียนว่ายไปมาในกระชัง ราวกับสีที่สะบัดจากปลายพู่กันของจิตรกรเอกนั้นเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าแหล่ง น้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่เหนือเขื่อนกิ่วลมแห่งนี้นั้นมีความอุดม สมบูรณ์ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง คุณ ขวัญสกุล กิจวรางกูล เป็นชาวจังหวัดลำปางคนหนึ่งที่อดีตทำงานอยู่ที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้ตนได้มองเห็นความอ่อนแอของชุมชนที่ล่มสลายจากปรากฏการณ์หลายด้านด้วย กัน ทำให้มีความตั้งใจกลับมาสร้างรากฐานให้กับคนในชุมชน ซึ่งในขณะนั้นได้มองเห็นว่าแหล่งน้ำเหนือเขื่อนกิ่วลมสามารถใช้ประโยชน์ได้ มากกว่าที่จะกักเก็บไว้ใช้เวลาน้ำขาดแคลนเท่านั้น เพราะด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งน้ำที่มี ทำให้คุณขวัญสกุลมีแนวความคิดในการพัฒนาและสร้างรากฐานความแข็งแกร่งให้ ชุมชนที่ขาดโอกาสโดยการใช้พื้นที่แหล่งน้ำเหนือเขื่อนกิ่วลมส่งเสริมสร้าง อาชีพเลี้ยงปลาในกระชังให้กับชุมชนขึ้นมา "นอกเหนือจากการเป็นแหล่ง น้ำที่ใช้เพื่ออุปโภค บริโภคแล้ว สิ่งหนึ่งที่แหล่งน้ำแห่งนี้สามารถทำได้นั้นคือการใช้เป็นสถานที่ส่งเสริม อาชีพเลี้ยงปลาในกระชังในระบบพัฒนาที่มุ่งมั่นการดูแลมิให้มีผลกระทบต่อสภาพ แวดล้อม นำไปสู่การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวิชาการได้อีกทางหนึ่ง และที่สำคัญยังสามารถทำเป็นโครงการนำร่องให้กับชุมชนเพื่อให้เห็นความสำคัญ ของอาชีพเลี้ยงปลากระชังเพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัวและท้องถิ่น ลดปัญหาที่จะเป็นภาระแก่สังคมและเริ่มสร้างเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดลำปาง และจังหวัดใกล้เคียงได้เป็นอย่างดีและยั่งยืน" สร้างอาชีพ เพิ่มความเข้มแข็งสู่ชุมชน จาก ความมุ่งมั่นและพยายามรวบรวมรูปแบบ วิธีการและเทคนิคสู่การสร้างนวัตกรรมการผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยใจจริง จนสามารถสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังที่เข้มแข็งขึ้นมา คุณขวัญสกุล เริ่มเลี้ยงปลาในกระชังตั้งแต่ปี 2543 โดยการขออนุญาตใช้พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนกิ่วลม ซึ่งมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมประมง และกรมธนารักษ์ "ศึกษาหาความรู้ในการเลี้ยงปลา อ่านหนังสือ สอบถามจากผู้มีประสบการณ์ ศึกษาดูงาน ดำน้ำดูสถานที่เพาะเลี้ยงด้วยตัวเอง จนได้ข้อสรุปว่า บริเวณท้ายเขื่อนกิ่วลมเป็นสถานที่ที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงปลา เพราะด้วยน้ำแร่ธรรมชาติที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติเจ้ซ้อน บวกกับระบบน้ำที่มีการไหลเวียนและการถ่ายเทอยู่ตลอด ทำให้เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง" คุณขวัญสกุล เริ่มประกอบธุรกิจเลี้ยงปลาในกระชังบริเวณท้ายเขื่อนกิ่วลม ภายใต้ชื่อ KC FARM 2002 ซึ่งช่วงแรกนั้นเริ่มเลี้ยงปลาทับทิมจำนวน 24 กระชัง แต่พอสามารถควบคุมระบบหรือวงจรการผลิตและจำหน่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ต่อเนื่องจึงเริ่มขยายกระชังเพิ่มขึ้นเป็น 109 กระชัง บริหารจัดการฟาร์มอย่างมีคุณภาพ ละเอียดอ่อนในทุกๆ ด้าน บริหาร จัดการฟาร์มภายใต้กรอบแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมและรับผิดชอบ อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถเป็นแหล่งในการศึกษาทดลองภาคการผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับหน่วย งานราชการและเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อให้คนเกิดเทคนิค และนวัตกรรมใหม่ๆ การเลี้ยงปลาของคุณขวัญสกุล มุ่งเน้นการใช้พันธุ์ปลา อาหาร อาหารเสริมและยาปฏิชีวนะที่มีคุณภาพที่ได้การรับรอง GAP : Q Mark จากกรมประมง มีการเฝ้าสังเกตสภาวะอากาศและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการสูญ เสียเพื่อรักษาคุณภาพและต้นทุนการผลิต คุณขวัญสกุลประยุกต์และพัฒนา วิธีการและเทคนิคควบคู่กับหลักวิชาการ นำสู่นวัตกรรมใหม่อยู่ตลอดเวลาจนสามารถทำให้ปลามีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดได้ ด้วยการเริ่มต้นจากการอนุบาลลูกปลาให้มีความแข็งแรง นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลาซึ่งการอนุบาลลูกปลาของคุณ ขวัญสกุลนั้นแบ่งออกเป็น 2 ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่หนึ่ง นำลูกปลาที่ซื้อมาอนุบาลในกระชังมุ้งสีฟ้า ใช้เวลาประมาณ 20 วัน โดยจะต้องเปลี่ยนมุ้ง 2-3 ครั้ง ตามความเหมาะสม ให้ยาปฏิชีวนะอาหารเสริมประมาณ 7 วัน โดยมีอาหารไฮเกร็ด รหัส 9961 ให้ตลอดทั้งวัน ระยะที่สอง จะนำลูกปลาหลังจากผ่านระยะที่หนึ่งมาแล้ว มาอนุบาลต่อในกระชังมุ้งสีส้ม ซึ่งขนาดของปลาจะประมาณ 1.5 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ให้อาหารไฮเกร็ด รหัส 9961 ผสมกับ 9950 วันละ 4 มื้อ หลัง จากที่ทำการอนุบาลในมุ้งสีส้มจนครบ 30 วันแล้ว ก็จะคัดแยกปลาที่มีขนาด 3 เซนติเมตร มาเลี้ยงในมุ้งสีเขียว โดยใช้กล่องกรองขนาด 3 เซนติเมตร หรือคัดแยกด้วยมือและให้อาหารไฮเกร็ด รหัส 9951 วันละ 4 มื้อ จนสามารถจับออกจำหน่าย "ในการเลี้ยงปลาทั้ง 2 ขั้นตอนข้างต้น ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น ต้องมีองค์ประกอบสำคัญหลายประการเพื่อให้มีคุณภาพ GAP : Q Mark สู่ผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย วิธีการให้อาหารต้องให้ทีละน้อย กระจายทั่วกระชัง แต่บ่อยๆ ในแต่ละมื้อเพื่อให้ปลาได้รับอาหารอย่างทั่วถึง และลดการสูญเสีย ที่สำคัญไม่เกิดการตกค้างที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" "การ ให้อาหารเสริมและยาปฏิชีวนะเป็นสิ่งที่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเมื่อ ปลาได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำและอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะที่เหมาะสม ก่อนส่งปลาออกสู่ตลาด เพื่อรักษาคุณภาพและมิให้มีสารตกค้างสู่ผู้บริโภคด้วยความรับผิดชอบ" คุณขวัญสกุล กล่าว มุ่งมั่นการรักษาสภาวะแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพสูง เพื่อคุณภาพชีวิตสู่ชุมชน เพื่อ ให้สินค้ามีคุณภาพ ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อชุมชนทำให้ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ เนื่องจากฟาร์มตั้งอยู่แหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค สำหรับกระชังที่ ใช้ในการเลี้ยง คุณขวัญสกุลเลือกกระชังที่มีขนาด 5x5 ในระดับน้ำลึก 2-3 เมตร ทิ้งสมอและเชือกยึดกระชังที่มั่นคงแต่สามารถยืดหยุ่นปรับขึ้นลงตามระดับน้ำ พร้อมกระชังสามารถเคลื่อนที่ในการขนย้ายอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาคุณภาพและลด การสูญเสีย "คำนึงถึงความปลอดภัยจึงเลือกใช้วัสดุประกอบกระชังที่มี คุณภาพสูง ซึ่งเราเลือกใช้เหล็กชุบคุณภาพสูง ไม่บิดงอ ปลอดสนิม คงทนถาวร มีการวางรูปแบบกระชังให้เหมาะสม ทุ่นถังพลาสติคปราศจากสนิม มีสะพานเดินในการปฏิบัติงานสำหรับให้อาหารและดูแลเอาใจใส่ให้เกิดคุณภาพได้ อย่างใกล้ชิด และที่มีการตรวจสอบสภาพน้ำและทำความสะอาดกระชังอย่างสม่ำเสมอ" ช่องทางการตลาด การ กระจายสินค้าคุณภาพของ KC FARM 2002 ได้วางแผนการตลาดด้วยการสร้างจุดแข็งโดยผลิตสินค้าให้ผู้บริโภคได้อย่างต่อ เนื่องทุกวัน ภายใต้ระบบการแข่งขันด้านคุณภาพและบริการที่ยิ่งกว่าราคา โดยการนำสินค้าไปแนะนำให้กับราคาภายในจังหวัดและต่างจังหวัดด้วยความจริงใจ พร้อมจัดทำเครื่องหมายฟาร์ม และ Q Mark เพื่อรับรองคุณภาพและส่งเสริมการขายให้กับลูกค้า กว่าฟาร์มจะก้าวมา ยืนอยู่ ณ จุดนี้ ต้องผ่านปัญหาและอุปสรรคมาอย่างมากมาย แต่ด้วยความมุ่งมั่นและอดทน บวกกับความจริงใจที่จะสนับสนุนและนำความมั่นคงให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา กระชังให้มุ่งสู่การพัฒนาสินค้าคุณภาพเพื่อประชาชนผู้บริโภค ภายใต้มาตรฐาน GAP : Q Mark รวมทั้งสร้างความเป็นธรรมและเท่าเทียมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน ในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน ท่านใดที่สนใจในแนวทางอาชีพเลี้ยง ปลากระชัง สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณขวัญสกุล กิจวรางกูล โทรศัพท์ (081) 882-3798 และ คุณชูศักดิ์ ภัควรางค์ โทรศัพท์ (081) 951-0683 คุณ ชูศักดิ์ ภัควรางค์ หนึ่งในผู้ดูแลฟาร์ม กล่าวว่า ฟาร์มตระหนักอยู่เสมอว่า การสร้างความยั่งยืนในการผลิตและจำหน่ายสินค้าคุณภาพ ซึ่งต้องอาศัยความจริงใจและต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเกษตรกรซึ่งเป็นสถาบันหลัก มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบเช่นปัจจุบัน เมื่อใดที่เกษตรกรสามารถยืน อยู่บนขาของตัวเองได้อย่างมั่นคงก็จะไม่เป็นภาระแก่รัฐบาลที่จะต้องนำเงินงบ ประมาณที่จะมุ่งสู่การพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ มาช่วยเหลืออย่างไร้ทิศทาง
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ลำปาง
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM