เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะละกอแขกดำหนองแหวน รัญธิรา เสือกรุง ปลูกได้ดี ที่ บางละมุง ชลบุรี
   
ปัญหา :
 
 
อาชีพเดิมของ คุณรัญธิรา เสือกรุง หรือ คุณติ๋ม ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกองุ่น ปลูกขนุน เพาะเห็ดฟาง แต่ปัจจุบันเกษตรกรรายนี้ กำลังสนุกสนานกับงานปลูกมะละกอ ส่วนกิจกรรมอื่น ขนุนยังมีอยู่บ้าง คุณติ๋ม อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 14 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ปัจจุบัน (ปี 2554) อายุ 54 ปี เดิมเธอบอกว่าเป็นคนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ย้ายตามพ่อมาอยู่ที่นี่ ตั้งแต่ปี 2504 พื้นที่ทำเกษตรมีอยู่ 50 ไร่ เป็นที่เช่า คุณติ๋ม มีญาติอยู่จังหวัดจันทบุรี ประกอบอาชีพทำสวนมะละกอจำหน่าย เมื่อปี 2549 เธอได้ไปเยี่ยมญาติที่ปลูกมะละกอพันธุ์ "แขกดำหนองแหวน" ขณะที่ไปเยี่ยมได้สอบถามแม่ค้า คือ คุณเจษฎาภรณ์ เกษสกุล ที่มาเก็บมะละกอของญาติไปขาย เธอเห็นว่ามีลู่ทาง จึงซื้อเมล็ดมาเพาะเพื่อปลูก จำนวน 2 ขีด ราคาขีดละ 500 บาท งานเพาะครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ จึงต้องไปซื้อมาใหม่ ปัจจุบัน เกษตรกรรายนี้ มีมะละกออยู่ที่แปลงปลูกหลายสายพันธุ์ด้วยกัน คือมะละกอแขกดำหนองแหวน ฮอลแลนด์ ศรีสุภา หนองพลอง และสายพันธุ์กลาย ณ โอกาสนี้ เป็นการพูดคุยงานปลูกมะละกอแขกดำหนองแหวน คุณติ๋ม เล่าเรื่องการปลูกว่า เริ่มจากนำเมล็ดลงแช่น้ำ 3 คืน จากนั้นเพาะเมล็ดในถุง ขนาด 4x6 นิ้ว วัสดุที่ใส่ในถุงมีดิน ขุยมะพร้าว และแกลบดำ ราว 10 วัน เมล็ดเริ่มงอก เมื่องอกได้ 25 วัน นำลงปลูกได้ ระยะปลูก ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2x2.50 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 250 ต้น ช่วงที่หยอดเมล็ดลงถุง หยอด 4-5 เมล็ด ต่อถุง ต้นจะงอกอย่างต่ำ 3 ต้น เมื่อนำลงปลูก ยามที่มีดอก ให้เลือกต้นกะเทยไว้เพียง 1 ต้น ต่อหลุม เท่านั้น งานปลูกมะละกอ เรื่องน้ำมีความสำคัญมาก น้ำดีมะละกอให้ผลผลิตดี คุณติ๋มให้น้ำโดยระบบสปริงเกลอร์ ปลูกใหม่ๆ เจ้าของให้น้ำทุกวัน วันละ 30-45 นาที สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ ความชื้น หากฝนตก เวลาการให้น้ำก็ลดลง ปลูกได้ 14 วัน เจ้าของเริ่มให้ปุ๋ย จากนั้นก็ให้ปุ๋ยทุกๆ 15 วัน เป็นสูตร 15-15-15 สลับกับสูตร 16-16-16 จำนวนครึ่งช้อนกินข้าว หว่านใต้ทรงพุ่ม เมื่อขณะที่เก็บผลผลิตอยู่ เห็นว่า มะละกอยอดยืดเกินไป ก็ให้ปุ๋ยสูตร 8-24-24 บ้าง ให้ยอดสั้นลง ปุ๋ยคอก เจ้าของใส่ขี้ไก่เนื้อให้ทุก 3 เดือน หลังปลูก 40 วัน มะละกอเริ่มมีดอก นับจากปลูก 7 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้ ส่วนใหญ่เจ้าของเก็บเป็นมะละกอสุก ราคาที่ขาย คุณติ๋ม บอกว่า ขายได้ราคาสูงสุด 15 บาท ต่ำสุด 4 บาท แต่เฉลี่ยแล้ว 8-10 บาท หากขายได้ราคา 5 บาท นานๆ จะไม่ดี ผลผลิตมะละกอ เมื่อส่งตลาดต้องคัดคุณภาพ หากคุณภาพไม่ดี คัดส่งโรงงาน ราคาอาจจะเหลือ กิโลกรัมละ 40 สตางค์ อายุการเก็บเกี่ยวมะละกอแขกดำหนองแหวนมีระยะเวลา 12 เดือน จากนั้นปริมาณผลผลิตที่ได้ จะไม่คุ้มกับปัจจัยการผลิต รวมระยะเวลาที่เจ้าของต้องดูแลมะละกอเป็นเวลา 20 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เพาะกล้า มะละกอแขกดำหนองแหวนให้ผลผลิตดก รายได้ต่อต้นในช่วงที่เขาให้ผลผลิต อยู่ที่ 1,000 บาท พื้นที่ 1 ไร่ มี 250 ต้น เจ้าของจะมีรายได้ 250,000 บาท ต่อระยะเวลา 20 เดือน ดูตัวเลขแล้วสูง แต่การลงทุนไม่ใช่น้อย ปัจจัยการผลิตต้องเต็มที่ อย่างปุ๋ยให้ทุก 15 วัน น้ำต้องดี การตลาดต้องชัดเจน คุณติ๋ม บอกว่า ก่อนที่จะปลูกนั้น ตนเองได้คุยกับแม่ค้าที่จันทบุรีก่อน เมื่อเขาตกลงก็ทำการผลิต ดังนั้น ผู้ที่สนใจทำอาชีพนี้ เธอบอกว่า ต้องมีตลาดก่อนถึงตัดสินใจ ทุกวันนี้หากมีคนจะเข้าไปซื้อ เป็นผู้ซื้อรายใหม่ ต้องคุยกันก่อนว่า จะซื้อได้นานขนาดไหน หากซื้อครั้งสองครั้งแล้วหยุด เธอก็จะไม่ขายให้ ลองมาดูมะละกอแต่ละสายพันธุ์ว่ามีรายละเอียดอย่างไรบ้าง แขกดำหนองแหวน เป็นมะละกอที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี กลายพันธุ์จากแขกดำ ลักษณะเด่นของเขาคือ โคนผลเล็ก กลางผลใหญ่ขึ้น ปลายผลแหลม ผิวผลสีเขียวเข้ม ผิวสวย ผลผลิตดก น้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัม ต่อผล เนื้อสีแดง แต่ไม่แดงติดเปลือก รสชาติหวานแหลม มะละกอหนองพลอง ได้จากการเพาะเมล็ดของเกษตรกรเลี้ยงกุ้ง ลักษณะผล ปลายผลมน เนื้อแข็ง เมื่อมีแต้มแล้ว สามารถยืดอายุการเก็บเกี่ยวไปได้อีก 1 สัปดาห์ เปรียบเทียบกับมะละกอแขกดำหนองแหวน เมื่อมีแต้มแล้ว แขกดำหนองแหวนต้องรีบเก็บเลย น้ำหนักอยู่ที่ 2 กิโลกรัม ต่อผล เจ้าของทดลองนำผลผลิตไปส่งตามโรงแรมที่พัทยา ปรากฏว่าทางโรงแรมชอบมาก มะละกอตัวกลาย เป็นลูกผสมระหว่างมะละกอฮอลแลนด์กับมะละกอหนองพลอง ผลผลิตมีขนาด 2 กิโลกรัม ต่อผล ติดผลผลิตดก ลักษณะผลคล้ายมะละกอฮอลแลนด์ แต่ใหญ่กว่า เนื้อแข็ง รสชาติหวาน มะละกอตัวกลายถือว่า ยังไม่นิ่ง ถามถึงโรคใบด่างวงแหวน คุณติ๋ม บอกว่า พบน้อย หากพบเจ้าของตัดแล้วเผาทำลายทันที ทำงานเกษตรมาหลายอย่าง ทำมาชั่วชีวิต คุณติ๋ม บอกว่า คงปลูกมะละกอไปอีกนาน สำหรับใครที่สนใจปลูก เธอย้ำว่า "ต้องไปคุยเรื่องตลาดกับผู้ซื้อก่อน" เบอร์โทรศัพท์ของเธอคือ (081) 572-5446
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ชลบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 504
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM