เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มะละกอฮาวาย ศรีสวัสดิ์ เมืองกาญจน์ ส่งนอก 80 เปอร์เซ็นต์
   
ปัญหา :
 
 
ถึงแม้มีปลูกมานานแล้ว แต่มะละกอฮาวายดูจะไม่เป็นที่นิยมในครอบครัวคนไทยมากนัก เหตุเพราะผลเขามีขนาดเล็ก หากให้เป็นที่นิยม ต้องผลขนาดใหญ่ นำมาทำส้มตำกินได้ทั้งครัวเรือน แนวทางการผลิตมะละกอฮาวาย ส่วนใหญ่จึงส่งต่างประเทศ แล้วก็ตลาดในกรุงเทพฯ ที่ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีปลูกมะละกอฮาวายมานานแล้ว คุณพัฒน์พงษ์ กาญจนคุณ ถึงแม้เพิ่งเริ่มต้นปลูกมาเมื่อปี 2546 ปลูกหลังคนอื่น แต่ก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก คุณพัฒน์พงษ์ อยู่บ้านเลขที่ 119 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองเป็ด อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี โทร. (084) 527-6227 และ (081) 378-4770 นอกจากอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ชายคนนี้ยังเป็นรองนายกสภาตำบลหนองเป็ดอีกด้วย เดิมทีเขาปลูกข้าวโพด ปลูกพริก แต่รายได้ไม่แน่นอน ที่อำเภอศรีสวัสดิ์ มีคนกรุงเทพฯ ไปปลูกมะละกอผลเล็กๆ เป็นมะละกอฮาวาย ผลผลิตเขาส่งขายได้ดี ส่วนหนึ่งมีคนมารับไปส่งต่างประเทศ เนื่องจากคนกรุงเทพฯ ไม่ค่อยเข้าสวนบ่อยนัก คุณพัฒน์พงษ์ จึงไปเลียบๆ เคียงๆ ถามวิธีการปลูกและดูแลรักษากับคนสวน เมื่อมั่นใจว่าปลูกได้ไม่ยาก เขาจึงสำรวจตลาด สุดท้ายจึงลงมือ แนวทางการตลาดที่คุณพัฒน์พงษ์สร้างขึ้น ส่วนหนึ่งนำผลผลิตไปเข้าโครงการโอท็อป ในรอบปีหนึ่งจะมีการนำผลผลิตไปจำหน่ายหลายที่หลายแห่งด้วยกัน รวมทั้งที่เมืองทองธานี การเปิดตัวทำให้ผู้ซื้อเข้าไปหาเขา และตกลงซื้อขายกันได้ ส่วนโอท็อป มะละกอฮาวายเคยได้ 5 ดาว "แรกๆ ไปศึกษาก่อนว่า คุ้มไม่คุ้ม ดูตัวเลขแล้วดี จึงทำ ซึ่งก็ดีจริงๆ ด้วย เมื่อก่อนปลูกเอง พร้อมกับส่งเสริมให้เพื่อนบ้านปลูก มีผลผลิต ผมไปรวมมาจำหน่ายให้ เนื่องจากหลังๆ ไม่มีเวลา ผมเลิกทำแต่ไปดูของลูกสวน" คุณพัฒน์พงษ์ บอก มะละกอฮาวายนั้นคุณพัฒน์พงษ์บอกว่า จุดเด่นอยู่ที่มีรสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะ แรกที่ปลูกอาจจะต้องซื้อพันธุ์ แต่ปลูกไปนานๆ เลือกต้นที่ผลเหมือนหลอดไฟแรงเทียน โดยเลือกจากต้นที่ผลลักษณะเดียวกัน 90 เปอร์เซ็นต์ หากผลแบบหลอดไฟ 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือรูปทรงไม่ใช่ โอกาสกลายพันธุ์มีมาก จะไม่เลือกไว้ทำพันธุ์ เวลาที่เหมาะสมในการปลูกมะละกอ อยู่ที่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลผลิตระหว่างปีจะมีช่วงเดือนกันยายน ข้ามไปเดือนมิถุนายน ของอีกปีหนึ่ง วิธีการปลูก เริ่มจากเพาะเมล็ดในถุงให้ได้ 2 ต้น ต่อถุง เพาะนาน 45 วัน จากนั้นนำลงปลูก เมื่อปลูกได้ 50 วัน ให้หักทิ้งต้นหนึ่ง เหลือไว้ต้นหนึ่ง ต้นที่หักไม่ตาย แต่รอวันแตกขึ้นมา จากนั้น 50 วัน ต้นที่เหลืออยู่ เริ่มมีดอกให้เห็น หากเป็นดอกกระเทย ก็ทำลายต้นที่หักแต่แรกที่ยังไม่ตายทิ้งไป เหลือต้นกระเทยที่ได้เพียงต้นเดียว แต่หากต้นที่ปล่อยให้โต เป็นดอกตัวเมีย ให้เลี้ยงดูต้นที่หักแต่ยังไม่ตาย แล้วหักต้นตัวเมียทิ้ง รอจนกระทั่งต้นที่หักแล้วเจริญเติบโตใหม่มีดอก หากพิสูจน์ว่าเป็นต้นดอกกระเทยก็เลี้ยงดูกันต่อไป ถ้าเป็นดอกตัวเมีย อาจจะต้องปลูกซ่อม แต่ทุกวันนี้ หากพิสูจน์แล้วว่า ต้นมะละกอที่ได้เป็นต้นที่มีดอกตัวเมีย เกษตรกรนิยมนำยอดต้นกระเทยมาเสียบ ได้ผล 90 เปอร์เซ็นต์ แต่เกษตรกรเกรงว่า รอยต่ออาจจะไม่แข็งแรง เมื่อลมแรงๆ อาจหักได้ แต่ทางออกคือ ทำใหม่ทั้งแปลง เรื่องการพิสูจน์ดอก ได้รับคำแนะนำว่า หากเป็นหน้าแล้ง ดอกที่ออกมา มีลักษณะเหมือนดอกตัวเมีย เจ้าของต้องแกะกลีบดอกดู ดอกกระเทยมีเกสรอยู่ข้างๆ ดอกด้านใน ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ อาจจะเข้าใจว่า ดอกหน้าแล้งที่เห็นเป็นดอกตัวเมียทั้งหมด ได้รับคำแนะนำว่า อย่าด่วนสรุป แต่ควรพิสูจน์ โดยการแกะกลีบดอกก่อน วิธีการดูแลรักษามะละกอ ช่วงที่ยังไม่ให้ผลผลิต เจ้าของใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวนเล็กน้อยต่อต้น เดือนละครั้ง เมื่อมีผลผลิตใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ให้ไร่ละ 50 กิโลกรัม ต่อเดือน อาจจะสลับสูตร 13-13-21 บ้าง เพื่อปรับปรุงผลผลิต รวมทั้งเสริมปุ๋ยคอกให้ด้วย หลังปลูก 8 เดือน จึงเก็บผลผลิตได้ อย่างน้อยผู้ปลูกเก็บผลผลิตได้ 8 เดือน ได้มะละกอ 60 กิโลกรัม ต่อต้น พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะละกอได้ 250 ต้น แต่หากต้นไม่สูง โรคไม่รบกวน สามารถเก็บมะละกอได้นาน คุณพัฒน์พงษ์เคยเก็บได้นาน 3 ปี ช่วงที่มีมะละกอออก คุณพัฒน์พงษ์ คัดมะละกอใส่ตู้คอนเทนเนอร์ได้สัปดาห์ละ 20 ตัน โดยทั่วไปแล้ว ผลผลิตมะละกอ 80 เปอร์เซ็นต์ ส่งต่างประเทศ ที่เหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่งที่กรุงเทพฯ มีตกเกรดทำมะละกอหยีขายได้ดี มะละกอที่ขายในประเทศไทย ขายได้กิโลกรัมละ 14 บาท โดยเฉลี่ย ส่วนส่งนอก เกรด 1 เอ ขนาด 6 ขีด ต่อผลขึ้นไป กิโลกรัมละ 19 บาท เกรด 2 เอ ขนาด 4-5 ขีด ต่อผล ราคากิโลกรัมละ 16 บาท เกรด 3 เอ ขนาด 2.5-4 ขีด ต่อผล ราคากิโลกรัมละ 12 บาท นอกจากเกรดเอแล้ว ยังมีเกรดบี วิธีการเก็บมะละกอ หากส่งต่างประเทศ ผลมี 1 แต้ม แต่หากเก็บขายในไทย ผลมี 2 แต้ม กระบวนการเก็บ เริ่มต้นตั้งแต่ปลิดลงมาจากต้น หากต้นสูงต้องมีบันได เวลาวางต้องทำอย่างนิ่มนวล เมื่อได้ผลผลิตแล้ว นำมาตัดขั้วผล ล้างน้ำ แล้วคัดเกรด โดยอาศัยความชำนาญ ไม่ต้องชั่ง ส่วนการบรรจุตะกร้า บรรจุได้ตะกร้าละ 22 กิโลกรัม รวมตะกร้าด้วยก็เป็น 25 กิโลกรัม ผลผลิตมะละกอที่เป็นโรควงแหวน เป็นสิ่งต้องห้าม เขาไม่รับซื้อ ดังนั้น มะละกอที่คัดจำหน่ายผิวต้องสวย สมาชิกที่ปลูกมะละกอ แล้วนำมาส่งคุณพัฒน์พงษ์ ปัจจุบันมี 20 คน พื้นที่ 100 ไร่เศษ คุณพัฒน์พงษ์ จะปฏิบัติต่อสมาชิกเหมือนญาติๆ และพี่ๆ น้องๆ ที่สำคัญมากนั้น จ่ายเงินสดให้กับผู้ปลูก แปลงเกษตรที่คุณพัฒน์พงษ์ ปลูกมะละกอ อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสลักพระ เมื่อปี 2549 จากการสำรวจพบว่า มีช้างอยู่ 167 เชือก เดิมทีช้างไม่กินมะละกอ แต่เริ่มจากมีคนปลูกมะม่วง นำมะม่วงที่เหลือไปให้ช้างกิน ช้างชอบ ต่อมามะละกอเป็นโรคราสนิมที่ผิว แต่เนื้อยังดีอยู่ มีการตัดผลทิ้ง คนที่เคยนำมะม่วงไปให้ช้างกิน นำมะละกอผสมไปด้วย ปรากฏว่าช้างติดใจ หลังๆ ลงมาแปลงของเกษตรกร เลือกกินมะละกอสุก บางช่วงทำลายต้น สร้างความเสียหายไม่น้อย คุณพัฒน์พงษ์บอกว่า งานปลูกมะละกอสร้างรายได้ให้ดี ปัจจุบันมีเงินหมุนเวียน จึงสร้างโรงบรรจุขึ้นใหม่ งานพัฒนาคงก้าวหน้ายิ่งขึ้น ที่ผ่านมา มีคนจากหลายจังหวัดมาดูงาน เช่น จากสระแก้ว และจากที่อื่นๆ ส่วนผู้สนใจ รองนายกสภา อบต. หนองเป็ด บอกว่า ยินดีให้คำปรึกษา
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 503
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM