เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พื้นที่ปลูกยางพาราใหม่ กับปัญหาที่ต้องแก้ไข
   
ปัญหา :
 
 
ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกใหม่ ประสบปัญหาเรื่องการกรีดยางต้นเล็ก โดยเฉพาะสวนยางในโครงการยาง 1 ล้านไร่ ที่ปลูกลอตแรกเมื่อปี 2547-2548 จะเริ่มเปิดกรีดได้ในปี 2555 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่ แต่ที่ผ่านมาพบว่า มีเกษตรกรในหลายจังหวัดเปิดกรีดยางก่อนกำหนด เช่น จังหวัดบุรีรัมย์ หนองคาย นครราชสีมา ยโสธร นครพนม ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และมหาสารคาม รวมเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ โดยต้นยางมีขนาดเส้นรอบลำต้นเฉลี่ย 32.1 เซนติเมตร ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานของสถาบันวิจัยยางที่กำหนดให้เปิดกรีดเมื่อต้นยางมีขนาดเส้นรอบลำต้น 50 เซนติเมตร วัดที่ระดับความสูง 1.50 เมตรจากพื้นดิน หรือเปิดกรีดต้นยางที่อายุประมาณ 7 ปี การเปิดกรีดยางต้นเล็ก จะส่งผลกระทบต่อทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยจะได้ผลผลิตน้ำยางน้อยกว่าต้นขนาด 50 เซนติเมตร 25-60% หากกรีดยางต้นเล็กร่วมกับการกรีดถี่ กรีดหนึ่งในสามของลำต้น กรีดสามวันหยุดวัน ยิ่งทำให้ผลผลิตลดลงถึง 40-60% นอกจากนั้นการเปิดกรีดต้นยางขนาดเล็ก ยังทำให้ผลผลิตตลอดวงจรชีวิตของต้นยางลดลง 25-59% ทั้งยังกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ทำให้มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำและผลผลิตไม้ยางน้อยกว่า 28-60% เมื่อเทียบกับต้นขนาด 50 เซนติเมตร ยิ่งเปิดกรีดยางต้นเล็กยิ่งทำให้เกษตรกรและประเทศชาติสูญเสียรายได้เพิ่มขึ้น จากการสุ่มสำรวจเกษตรกรโดย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางใหม่ที่เปิดกรีดยางต้นเล็กพบว่าได้ผลผลิตน้อยกว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้น เกษตรกรจึงควรเรียนรู้เทคนิคการกรีดยางอย่างถูกวิธี ถ้ากรีดไม่เป็น มุมกรีดไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้น้ำยางไหลไม่เต็มที่และได้ผลผลิตน้อย ทั้งยังมีปัญหาหน้ากรีดเสียเร็ว และมีอาการเปลือกแห้งตามมา และต้นยางจะมีอายุการให้ผลผลิตสั้นลงด้วย และควรหมั่นฝึกฝนทักษะการกรีดให้เกิดความชำนาญเตรียมพร้อมก่อนที่จะเปิดกรีด เกษตรกรในแหล่งปลูกยางใหม่ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการและไม่ตรงตามความต้องการของพืช ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตไม่ดีเท่าที่ควร โดยต้นยางก่อนเปิดกรีดแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร 20-10-12 และต้นยางหลังเปิดกรีดแนะนำให้ใช้ 2 สูตร คือ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 หรือสูตร 29-5-18 แต่ขณะนี้เกษตรกรใส่ปุ๋ยไม่ถูกสูตรและใส่ในปริมาณมากเกินความจำเป็น ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้น จึงควรใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน หากปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำแนะนำจะช่วยให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตดี และเปิดกรีดได้ตามเวลาที่กำหนด ถ้าเกษตรกรผสมปุ๋ยใช้เองจะช่วยประหยัดต้นทุนได้ค่อนข้างมาก การใส่ปุ๋ยยางพารา ควรแบ่งใส่ปีละ 2-3 ครั้งเมื่อดินมีความชื้น โดยใส่เป็นแถบสองข้างระหว่างแถวยางหรือขุดหลุม 2-4 จุดต่อต้นบริเวณทรงพุ่มของต้นยางแล้วเกลี่ยดินกลบหรือไถกลบ อย่งไรก็ตาม ผู้ปลูกยางรายใหม่ควรเข้าไปศึกษาเรียนรู้และพัฒนาทักษะการปลูกยาง การจัดการดูแลรักษาต้นยาง รวมถึงการกรีดยางอย่างถูกต้องและเหมาะสม ในศูนย์เรียนรู้ยางพาราแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกร ที่กรมวิชาการเกษตรจัดตั้งขึ้นในจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาการประกอบอาชีพให้กับชาวสวนยางในแหล่งปลูกยางใหม่ได้.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
อุบลราชธานี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธ ที่ 31 สิงหาคม 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM