เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การจัดการในฟาร์มสุกร...ป้องกัน โรคพีอาร์อาร์เอส
   
ปัญหา :
 
 
โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) หรือโรคระบบทางเดินหายใจและระบบสืบพันธุ์ในสุกร เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรม การเลี้ยงสุกรเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตโดยตรง เช่น การแท้งของแม่สุกร การตายของลูกสุกรอนุบาล การตายของสุกรขุน และการตายของสุกรพ่อแม่พันธุ์ และที่สำคัญโรคพีอาร์อาร์เอส เป็นโรคที่ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งสุกรที่หายจากอาการป่วยแล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อไปยังสุกรตัวอื่นได้ โดยเฉพาะสุกรที่นำเข้ามาร่วมฝูงใหม่ เมื่อได้รับเชื้อจากสุกรที่มีอยู่เดิมแล้วจะแสดงอาการรุนแรง และอัตราการสูญเสียสูงมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือโรคนี้เป็นโรคที่กดภูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามาโดยง่าย นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคพีอาร์อาร์เอส ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ อีกทั้งเมื่อสุกรที่ได้รับเชื้อดังกล่าวจะไปกดภูมิคุ้มกัน ทำให้เชื้ออื่นแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น แนวทางที่จะลดความสูญเสียและสามารถแก้ปัญหาโรคนี้ได้อย่างยั่งยืน คือการจัดการฟาร์มโดยใช้มาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคพีอาร์อาร์เอสตลอดจนโรคระบาดอื่น ๆ เข้าสู่ฟาร์มได้ดีที่สุด ในส่วนของเกษตรกรรายย่อยหรือประชาชนที่มีการเลี้ยงสุกรหลังบ้านเพื่อเป็นอาชีพเสริมหรือเลี้ยงเพื่อการบริโภคเองนั้น จะประสบปัญหากับโรคพีอาร์อาร์เอส รวมถึงโรคระบาดอื่นเป็นประจำ เนื่องจากการละเลยในด้านการป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์ม โดยเฉพาะการนำสุกรไม่ทราบแหล่งที่มา และการเลี้ยงสุกรรวมกันหลายรุ่น ทำให้เมื่อเลี้ยงไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง ลูกสุกรจะแสดงอาการป่วยตาย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใส่ใจในการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม โดยอาศัยหลักพื้นฐานของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งประกอบด้วย การป้องกันเชื้อโรคเข้าฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงสุกร ซึ่งการจะนำสุกรเข้ามาเลี้ยงควรจะมาจากแหล่งที่มีระบบป้องกันโรคที่ดีและไม่มีประวัติการระบาดของโรค และควรแยกเลี้ยงสุกรใหม่พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียในสัปดาห์แรกของการเลี้ยง หลีกเลี่ยงการใช้พ่อพันธุ์ร่วมกับฟาร์มอื่น หรือหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกับฟาร์มในกลุ่มอื่นต้องมั่นใจว่าฟาร์มเหล่านั้นไม่มีโรคพีอาร์อาร์เอสระบาด ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม หากจำเป็นต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อน พร้อมกันนี้ต้องมีการสุขาภิบาลการเลี้ยงสุกรที่ดี เช่น คอกสะอาด ไม่ชื้นแฉะ อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่อยู่ในที่หนาว เย็น ร้อนหรือถูกฝนมากเกินไป ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสุกรด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างสม่ำเสมอและเสริมวิตามินในอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย สังเกตอาการป่วยของสุกรในฝูงอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการต้องสงสัยให้แจ้งอาสาปศุสัตว์ ปศุสัตว์ตำบล เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทราบทันที หรือ คอลเซ็นเตอร์ 08-5660-9906 ส่วนการควบคุมโรคเมื่อมีการระบาด ทำการรักษาสุกรป่วยด้วยยาปฏิชีวนะ ยาลดไข้และสารน้ำ ซึ่งถ้าพบแม่สุกรแท้งให้คัดทิ้ง ที่สำคัญห้ามนำสุกรเข้าเลี้ยงทันทีต้องทิ้งไว้หลังจากไม่มีสุกรป่วยในฝูงอย่างน้อย 2 เดือน เพื่อหยุดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 30 สิงหาคม 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM