เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผลิตใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก:เกษตรยุคใหม่
   
ปัญหา :
 
 
คราวที่แล้วได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับไส้เดือนฝอยที่สามารถใช้ในการฆ่าแมลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ล่าสุดที่ได้พบว่า ไส้เดือนฝอย เหล่านี้สามารถกำจัดปลวกได้ จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากเพราะว่าแต่เดิมนั้นการกำจัดปลวกทั้งในบ้านเรือนหรือในสวนก็ตาม คงหนีไม่พ้นเรื่องการใช้ยาเคมีในการกำจัด แต่เมื่อเรามีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ และไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ก็จะกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เป็นประโยชน์มาก ไส้เดือนฝอยที่ว่านี้ เป็นไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย เพราะว่าพบในดินของเมืองไทย จึงเป็นสายพันธุ์ที่ทนร้อนและสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมมากกว่าสายพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จากการที่นักวิจัยได้ทดลองใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์นี้ในการกำจัดปลวก ก็พบว่าปลวกจะเริ่มตายตั้งแต่ 6 ชั่วโมงแรกหลังจากที่ได้ใส่ไส้เดือนฝอยเข้าไปในการทดลอง และจะตายครบ 100% ภายใน 28-30 ชั่วโมง นั่นก็คือค่อนข้างเชื่อมั่นได้ว่าเมื่อปลวกได้รับไส้เดือนฝอยเข้าไปก็คงตายแน่ เพียงแต่ว่าไม่ได้รวดเร็วทันจเหมือนการใช้ยาฆ่าปลวกที่เป็นสารเคมีโดยตรง ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ เมื่อศึกษาตัวปลวกที่ตายเนื่องจากไส้เดือนฝอย โดยนับจำนวนไส้เดือนฝอยในปลวกแต่ละตัว พบว่ามีประมาณมากกว่า 20 ตัว แต่ที่สำคัญคือ ไส้เดือนฝอยเหล่านี้ขยายพันธุ์ได้อีกในตัวปลวก โดยสามารถเพิ่มจำนวนได้ไส้เดือนฝอยรุ่นใหม่ตั้งแต่ 200 กว่า ถึง 700 ตัว ตรงนี้คือประเด็นสำคัญ เพราะจะก่อให้เกิดการตายต่อเนื่องได้ เนื่องจากปลวกที่ได้รับไส้เดือนฝอยเข้าไป ไม่ได้ตายในทันที อาจมีส่วนหนึ่งที่ไปตายในรัง ไส้เดือนฝอยที่อยู่ในตัวปลวกเหล่านั้นก็จะออกมา และแพร่ระบาดไปยังปลวกที่เหลือต่อไป ผลก็คือภายในเวลาไม่นานจำนวนปลวกก็จะค่อยๆ ลดลง จากผลการวิจัยพบว่าเมื่อใช้เหยื่อล่อที่ประกอบด้วยขี้เลื่อยไม้และเซลลูโลสที่ผสมไส้เดือนฝอยเข้าไปในนั้น นำไปวางล่อปลวกให้เข้ามากิน ก็จะพบว่าจำนวนปลวกในบริเวณใกล้เหยื่อล่อนั้น จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไม่พบอีกต่อไป รวมทั้งไม่มีการสร้างรังเพิ่มขึ้นใหม่ แสดงว่าปลวกได้ถูกกำจัดไปแล้ว ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ในการกำจัดปลวกเร็วสุดคือ 7 วัน แต่ที่นานที่สุดคือ 120 วัน สำหรับกรณีของปลวกที่อยู่ในไร่นา อย่างเช่นในแปลงมันสำปะหลัง ก็มีการทดลองนำไปใช้ดู พบว่าถ้ามีการใส่ไส้เดือนฝอยในร่องปลูกมัน จะพบว่าท่อนพันธุ์ที่ถูกทำลายโดยปลวกมีเพียงประมาณ 17% เท่านั้น ในขณะที่การปลูกปกติโดยไม่ใส่ไส้เดือนฝอย มีความเสียหายถึง 59% ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นปลวกตามบ้านหรือปลวกในไร่นาก็ตาม การใช้ไส้เดือนฝอยจะสามารถกำจัดปลวกได้อย่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างดี ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ไส้เดือนฝอย ได้เริ่มมีการผลิตออกสู่ตลาดแล้ว และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากความปลอดภัยทั้งต่อคนและสัตว์ รวมทั้งไม่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม ที่สำคัญคือไส้เดือนฝอยมีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้ในตัวปลวก ทำให้เกิดการฆ่าอย่างต่อเนื่อง หรือเกิดอาการตายยกรังขึ้นได้ ซึ่งต่างจากการใช้ยาเคมีค่อนข้างมาก ขณะนี้ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวกที่ใช้เหยื่อล่อนี้ก็ได้จดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้ที่วิจัยในเรื่องนี้ก็คงต้องยกย่องกันคือ ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด จากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งได้มีการวิจัยต่อเนื่องมาหลายปี จนกระทั่งสามารถพัฒนาไส้เดือนฝอยให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้จริงและเป็นประโยชน์ต่อสังคมทั่วไปครับ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันศุกร์ที่ 16 กันยายน 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM