เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
'ปุ๋ยหมักชีวภาพ'จากผักตบชวา
   
ปัญหา :
 
 
วัชพืชไร้ค่าอย่าง "ผักตบชวา" ที่สร้างปัญหากีดขวางเส้นทางเดินของน้ำมาโดยตลอดนั้น ปัจจุบันได้หลายเป็นสิ่งมีค่า หลังทางโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรา สำนักชลประทานที่ 17 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป สมศักดิ์ เกตุจำนงค์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรา ในฐานะผู้ริเริ่มแนวคิดการนำผักตบชวามาสร้างมูลค่าโดยแปรรูปเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อให้เกษตรกรที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการนำไปใช้ประโยชน์ โดยยอมรับว่าที่ผ่านมาผักตบชวาได้สร้างปัญหาปิดกั้นเส้นทางเดินของน้ำมาตลอด แม้จะมีการกำจัดทุกปี แต่ก็ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากวัชพืชชนิดที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว "ในแต่ละปีเราใช้งบที่สูงพอสมควร ระดมทั้งเครื่องจักรและคนงานเพื่อกำจัดผักตบชวาทั้งในแม่น้ำบางนราและลำน้ำสาขา แต่ก็ไม่เป็นผล ยิ่งกำจัดก็ยิ่งเพิ่ม ก็เลยมาคิดว่าน่าจะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ แปลงวิกฤติเป็นโอกาส จึงนำมาทำปุ๋ยหมักชีวิภาพ เพิ่งเริ่มทำได้ไม่ถึงปี พนักงานของเรานี่แหละช่วยกันทำ บรรจุถุง ถุงละ 1 กิโลกรัม มีตราของเราเอง เอาไว้สำหรับแจกเกษตรกรในพื้นที่โครงการ" สมศักดิ์ย้อนที่มา ปัจจุบันปุ๋ยหมักชีวภาพจากผักตบชวาของโครงการ มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,500-3,000 ถึงต่อวัน ส่วนมีขั้นตอนการผลิตก็ง่าย ไม่ยุ่งยาก โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ ผักตบชวาแห้ง มูลสัตว์และปุ๋ยสูตร 15-15-15 สำหรับเพิ่มสารอาหาร ใช้อัตราส่วน 100 ต่อ 10 ต่อ 1 โดยน้ำหนัก สำหรับขั้นตอนการผลิต สมศักดิ์ อธิบายว่า เริ่มจากนำผักตบชวาจากแหล่งน้ำขึ้นมาตากกลางแจ้งประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ผักตบชวายุบตัวลง เพราะถ้าใช้ผักตบชวาสดปุ๋ยหมักที่ได้จะน้อย เนื่องจากผักตบชวาสดจะมีส่วนประกอบของน้ำถึง 90% "เมื่อได้ผักตบชวาเพียงพอต่อความต้องการ จึงนำมากองไว้บนพื้นดิน ขนาดความกว้างประมาณ 2-3 เมตร สูง 1-1.5 เมตรและความยาวไม่จำกัด โดยให้กองเป็นชั้นๆ เหยียบย่ำให้แน่น โดยให้แต่ละชั้นสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นจึงนำมูลสัตว์หว่านทับข้างบน หนาประมาณ 1-2 นิ้วแล้วโรยปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มธาตุอาหารทับมูลสัตว์อีกทีหนึ่งแล้วรดน้ำให้ชุ่มหรือไม่ก็ละลายเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำอุ่นหรือน้ำเย็นธรรมดาราดลงไปอีกครั้งหนึ่งก่อนนำผักตบชวามากองทับเป็นชั้นต่อไป" ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำคนเดิม อธิบายต่อว่า ให้ทำเช่นเดียวกับการกองครั้งแรกทุกประการ จนขนาดของกองมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตรและชั้นบนสุดใส่หน้าดินทับหนาประมาณ 1 นิ้ว กองทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน ถ้าไม่มีมูลสัตว์มาใช้เป็นตัวเร่งสำหรับทำปุ๋ยหมักก็สามารถนำหน้าดินบริเวณใต้กองหญ้าเก่า ใต้ฟางเก่าหรือปุ๋ยหมักที่มีอยู่แล้วมาผสมกับผักตบชวาแทนมูลสัตว์ก็ได้ จากนั้นให้ดูแลรักษากองผักตบชวาไประยะหนึ่ง ก็จะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนของผักตบชวาจะมีขนาดเล็กลงและยุบตัวลงกว่าเมื่อเริ่มกอง ขณะเดียวกันสีของผักตบชวาก็จะเปลี่ยนไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าปุ๋ยหมักเริ่มใช้ได้แล้ว "สังเกตที่สีของผักตบชวาถ้าเป็นสีน้ำตาลเข้มดำหรือสีดำ ซึ่งเป็นสีของอินทรีย์วัตถุ หรือให้สังเกตความร้อนภายนอกและภายในไม่แตกต่างกันหรือแตกต่างกันน้อยมาก แสดงว่ากองปุ๋ยหมักเริ่มใช้ได้แล้ว ถ้ายังไม่แน่ใจก็ให้ดูลักษณะความอ่อนนุ่มของผักตบชวา เมื่อใช้นิ้วบี้ดูจะอ่อนนุ่มยุ่ยขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็งกระด้างเหมือนเมื่อเริ่มกอง หรือไม่ก็ดูต้นพืชที่มีระบบรากลึกสามารถขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้ สนใจผลิตภัณฑ์ โทร.0-7354-2059" สมศักดิ์ให้ข้อสังเกตในการนำปุ๋ยหมักมาใช้งาน ซึ่งใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 80-90 วันนับตั้งแต่วันเริ่มก่อน แต่หากใช้สารเร่งจุลินทรีย์จะเหลือแแค่ 30-45 วันเท่านั้น ปุ๋ยหมักชีวภาพจากผักตบชวา นับเป็นการแปลงวิกฤติเป็นโอกาสที่นำวัชพืชด้อยค่ามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เด่นเพื่อให้เกษตรกรในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำบางนรานำไปใช้ประโยชน์โดยมีคิดมูลค่าแต่อย่างใด
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นราธิวาส
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM