เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
สูตรสำเร็จการเลี้ยงปลานิล
   
ปัญหา :
 
 
ผลจากสภาพปัญหาการเลี้ยงปลานิลในระบบเปิด ไม่ว่าใช้ลำน้ำธรรมชาติและบ่อดินเป็นแหล่งเพาะเลี้ยง ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทำให้เกิดน้ำเน่าเสีย ขณะเดียวกันก็มีปัญหาจากภาวะโลกร้อน อย่างเช่นน้ำท่วม น้ำแล้ง ล้วนมีผลกระทบต่อการเลี้ยงทั้งสิ้น แม้ปัจจุบันจะมีการเลี้ยงปลานิลในระบบปิด แต่ทำได้เฉพาะบริษัทรายใหญ่เท่านั้น เนื่องจากมีต้นทุนสูง ส่วนเกษตรกรทั่วไปไม่สามารถทำได้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ "ผศ.ดร.บัญญัติ มนเทียรอาสน์" อาจารย์คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หาวิธีลดต้นทุน โดยการใช้เทคนิคชีววิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิด ภายในอาคารไม่มีแสงแดดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่แบ่งระยะการดำเนินการออกเป็น 4 ชุดการทดลองในระยะเวลา 24 เดือน ทั้งนี้ เพื่อจุดประสงค์ค้นหาวิธีการลดต้นทุนค่าวัสดุกรองบางชนิดในบ่อเลี้ยงปลานิล โดยทดลองใช้วัสดุที่มีราคาถูกและหาได้ง่ายใน จ.เชียงใหม่ ร่วมกับการประยุกต์ใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์สูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ร่วมกับผักตบชวาเพื่อลดปริมาณของเสียตกค้างในบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิด ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า การใช้จุลินทรีย์สูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สูตร 3 (MMOs) ทั้งในปริมาณ 18.20 และ 36.40 ซีซีต่อน้ำเลี้ยงปลานิล 364 ลิตรต่อเดือน ไม่มีผลใดๆ ทางสถิติวิจัยต่อการปรับสภาพน้ำในบ่อระบบปิดภายในอาคาร เมื่อเปรียบเทียบกับบ่อควบคุม ซึ่งไม่มีการใช้จุลินทรีย์ใดๆ เลย นักวิจัยคนเดิมระบุอีกว่า เมื่อดูแนวโน้มข้อมูลดิบเฉลี่ยตลอดการทดลองใน 12 เดือนแรกนี้ พบว่า หากมีการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์หรือเพิ่มความถี่การใส่จุลินทรีย์ในบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดภายในอาคารอีกนั้น อาจจะส่งผลบางประการที่ชัดเจนขึ้นมากกว่านี้ได้ ในทำนองเดียวกัน การทดลองใช้วัสดุกรองบางชนิด เช่น ฝาขวดพลาสติกและลูกพลาสติกไบโอบอล โดยนำมาผสมรวมอย่างละเท่าๆ กันกับวัสดุมาตรฐานหินภูเขาไฟในระบบกรองของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดภายในอาคารนี้ พบว่า ไม่มีความแตกต่างในประสิทธิภาพการกรองและการลดของเสียในน้ำที่ใช้เลี้ยงปลานิลอย่างมีนัยสำคัญใดๆ ในทางสถิติวิจัยเมื่อเปรียบเทียบกับบ่อควบคุมที่ใช้วัสดุกรองมาตรฐานเป็นหินภูเขาไฟแต่เพียงอย่างเดียว "จึงมีข้อน่าสังเกตว่า หากเกษตรกรเลือกที่จะลดต้นทุนค่าวัสดุกรอง โดยการเลือกใช้ฝาขวดพลาสติกผสมกับหินภูเขาไฟ อาจจะเป็นวิธีที่เหมาะในการลดต้นทุนได้และการทดลองโดยเลือกใช้ฝาขวดพลาสติกอย่างเดียวในระบบกรอง จึงควรมีการศึกษาต่อไป นอกจากนี้การประยุกต์ใช้ 30% ผักตบชวาในระบบชีววิถีร่วมกับจุลินทรีย์ 36.40 ซีซีต่อน้ำเลี้ยงปลานิล 364 ลิตรต่อเดือน สำหรับบ่อระบบปิดภายในอาคารโรงเรือนที่ไม่มีแสงแดด จะส่งผลให้มีปริมาณก๊าซออกซิเจนละลายน้ำอยู่ในช่วงระหว่าง 3.60-4.02 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเหมาะสมใช้เลี้ยงปลานิลได้" ผศ.ดร.บัญญัติ ย้ำด้วยว่า ทุกการทดลองในครั้งนี้ พบว่าไม่สามารถลดปริมาณของเสียในกลุ่มฟอสฟอรัสและไนโตรเจนลงต่ำกว่า 0.20 และ 0.02 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงปลานิลระบบปิดในอาคารที่ไม่มีแสงแดดเชิงพาณิชย์ได้ จากการทดลองนี้มีข้อน่าสังเกตว่า ผลผลิตปลานิลที่เลี้ยง ซึ่งใช้วัสดุมาตรฐานผสมลูกพลาสติกไบโอบอลเป็นวัสดุกรองนั้น ให้ผลผลิตน้ำหนักปลานิลที่เพิ่มขึ้น การเลี้ยงปลานิลโดยใช้เทคนิคชีววิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงระบบปิด น่าจะเป็นอีกทางเลือกให้แก่เกษตรกรในการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ โดยมีต้นทุนที่ต่ำ อันนำไปสู่การมีอาชีพ เพิ่มรายได้ที่มั่นคงสืบไป เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดขั้นตอนการเลี้ยงปลานิลด้วยวิธีดังกล่าวได้ที่ ผศ.ดร.บัญญัติ มนเทียรอาสน์ 08-6116-0924 อาจารย์ยินดีตอบทุกข้อสงสัย
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 20 กันยายน 2554
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM