เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ผลงานฐานเรียนรู้ การอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง แม่ฮ่องสอน
   
ปัญหา :
 
 
การปฏิบัติงานของสถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน ได้ดำเนินการฐานเรียนรู้การอนุรักษ์ดินและน้ำบนพื้นที่สูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การใช้ประโยชน์ที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อทำการเกษตรบนพื้นที่สูง เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นสถานที่ศึกษาดูงานและฝึกงานของเกษตรกร นักศึกษา และเพื่อขยายผลไปสู่หมู่บ้านบริวารต่างๆ ในโครงการพระราชดำริ จังหวัดแม่ฮ่องสอน คุณวุฒิไกร บุตรพลวง ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน เล่าว่าในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปางตอง สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอนได้สร้างจุดเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำหลายกิจกรรม ตามนโยบายของกรมพัฒนาที่ดิน ประกอบด้วย จุดเรียนรู้และสาธิตอนุรักษ์ดินและน้ำแบบขั้นบันไดโรงเรียน ที่โรงเรียนร่มเกล้าปางตอง การปลูกชาอู่หลงในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ อาคารชะลอความเร็วของน้ำ ขยายผลการดำเนินงานสู่เกษตรกรใกล้เคียง การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก พด.1 การผลิตและใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.2 การปรับปรุงบำรุงด้วยปุ๋ยพืชสด การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก การใช้ระบบน้ำหยด ระบบรากหญ้าแฝก เปรียบเทียบผลการพังทลายของดิน หลุมดินและแสดงหน้าตัดของชั้นดิน พืชผักอินทรีย์เมืองหนาว การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนและยุวหมอดิน การศึกษาดูงานและการท่องเที่ยว จุดเรียนรู้การปลูกพืชปลอดสารพิษกิจกรรมหนึ่งคือ การปลูกสตรอเบอรี่อินทรีย์ เกษตรกรที่ปลูกสตรอเบอรี่ทั่วไปจะใช้สารเคมีกันมาก สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอน กรมพัฒนาที่ดิน แนะนำการปลูกสตรอเบอรี่โดยไม่ใช้สารเคมีก็สามารถทำได้ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริปางตอง สถานีพัฒนาที่ดินแม่ฮ่องสอนใช้สตรอเบอรี่สายพันธุ์ "พันธุ์พระราชทาน 80" เป็นพันธุ์มีคุณสมบัติและลักษณะพันธุ์ที่แตกต่างจากพันธุ์อื่น ได้แก่ ผลใหญ่ ผลรูปคล้ายหัวใจ สีแดงสด รสชาติหวานมาก ผิวบาง เหมาะสมที่ใช้ปลูกสำหรับนักท่องเที่ยวได้ชม ชิม และถ่ายภาพในแปลง การขนส่งจะต้องระมัดระวังไม่ให้ผิวช้ำ เนื่องจากพันธุ์นี้ผิวจะบาง การปลูกแบบอินทรีย์ มีวิธีการปฏิบัติคือ จะต้องปรับปรุงบำรุงดินให้เหมาะสม เช่น การปลูกพืชหมุนเวียนใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมัก ใช้จุลินทรีย์ที่ได้จากสารเร่งซุปเปอร์ พด. 3 ควบคุมศัตรูพืช ป้องกันแมลงศัตรูพืชด้วยการใช้สารเร่ง พด. 7 และใช้ปูนโดโลไมท์ คลุมแปลงด้วยหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชื้นในดิน ให้น้ำด้วยระบบน้ำหยด ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ พด. 2 เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและเร่งดอก ขณะนี้อยู่ระหว่างการขยายผลไปสู่เกษตรกรในโครงการ จุดเรียนรู้อีกแห่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วไปคือ จุดเรียนรู้การชะล้างพังทลายของดิน มีแปลงที่ทำการเกษตรในรูปแบบต่างๆ ถึง 4 รูปแบบ การปลูกพืชแบบไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกพืชขวางความลาดเทของพื้นที่ การปลูกขวางความลาดเทและมีการปลูกหญ้าแฝก และการปลูกขวางความลาดเทร่วมกับหญ้าแฝกและมีคูรับน้ำขอบเขา เกษตรกรที่ได้มาศึกษาดูงาน สามารถนำไปใช้ในไร่นาของตนเองได้ จุดเรียนรู้อีกกิจกรรมหนึ่งคือ โครงการเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียนและยุวหมอดิน เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนจัดทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยน้ำหมัก เพื่อใช้ในแปลงพืชผักภายในโรงเรียนที่ใช้ในโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน บางส่วนนำไปจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในชุมชนราคาถูก โดยมี คุณประจักษ์ ชีพพานิชย์ หมอดินอาสาประจำตำบลปางหมู เป็นผู้ให้คำแนะนำ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
แม่ฮ่องสอน
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ปีที่ 23 ฉบับที่ 505
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM