เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ป้องกันเพลี้ยจักจั่นช่อมะม่วง
   
ปัญหา :
 
 

 

นายเฉลิมศักดิ์ ประสิทธิ์สุวรรณ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้ เป็นฤดูกาลของการแทงช่อดอกของมะม่วง ซึ่งมีแมลงศัตรูมะม่วงมาทำลายช่อดอก ผลอ่อน หรือ ผลแก่ เช่น หนอนผีเสื้อกัดกินผล หนอนผีเสื้อเจาะผล แมลงวันทอง เพลี้ยไฟ ที่สำคัญคือ เพลี้ยจักจั่นมะม่วง  เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเพลี้ยจักจั่นเข้าทำลายช่อดอกมะม่วงเพลี้ยจักจั่น มะม่วง เป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวสีเทาแกมดำ ด้านหัวโต ส่วนลำตัวไปทางปลายปีกเรียวแหลม ไข่ 100-200 ฟอง ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและช่อดอก ขนาดตั้งแต่ 5 มิลลิเมตร 4 มิลลิเมตร และ 3.5 มิลลิเมตร การเข้าทำลาย ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่ของเพลี้ยจักจั่น ดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอกแล้วขับถ่ายเป็นน้ำหวาน จับบนใบหรือช่อดอก มีลักษณะเหนียวเยิ้ม ซึ่งต่อมาจะเป็นโรคราดำที่ช่อดอก ในต้นที่มีเพลี้ยจักจั่นอยู่มากจะได้ยินเสียงเพลี้ยจักจั่นมะม่วงกระโดดดัง กรอกแกรก ขณะเดินเข้าไปใกล้ทรงพุ่มมะม่วง การทำลายมักจะทำให้ช่อดอกร่วงและผลร่วงได้ ทำให้มะม่วงติดผลน้อย หรืออาจไม่ติดผลเลยก็ได้

การป้องกันกำจัด 1. ใช้น้ำฉีดล้างช่อดอกและใบ ช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากเชื้อราได้บ้าง การฉีดน้ำแรงพอช่วยให้ตัวอ่อนเพลี้ยกระเด็นออกมาจากช่อดอก เพื่อชะล้างมูลน้ำหวานที่เกิดจากเพลี้ยจักจั่น เพื่อป้องกันการเกิดราดำไม่ควรฉีดน้ำแรงในช่วงติดผลอ่อน อาจทำให้ผลร่วงได้  2. ใช้ควันไล่ให้เพลี้ยจักจั่นหนีไป โดยการสุมควันที่โคนต้นมะม่วงให้มีควันมาก ๆ ส่วนการกำจัดโดยใช้สารเคมีกำจัดนั้น ให้ทำก่อนที่จะระบาดมาก หรือทำในระยะที่ยังเป็นตัวอ่อน จะสามารถกำจัดได้ง่าย ถ้าปล่อยไว้จนเป็นตัวแก่จะมีปีกบินหนีไปยังต้นอื่น เมื่อคนเดินเข้าไปใกล้ หรือเมื่อพ่นยาฆ่าแมลงซึ่งจะทำให้การกำจัดไม่ค่อยได้ผล  3. ช่วงที่ดอกมะม่วงยังไม่บานให้ใช้กาวเหนียวสำหรับดักแมลงทาขวดน้ำพลาสติกหรือ แผ่นพลาสติกสีเหลือง หรือลูกเหม็นใส่ถุงตาข่าย แขวนไว้บริเวณใต้พุ่มมะม่วงหลาย ๆ จุดเพื่อดักและไล่เพลี้ยจักจั่น แต่ถ้าช่วงดอกบานไม่ควรใช้ลูกเหม็นเพราะกลิ่นลูกเหม็นทำให้แมลงที่ช่วยผสม เกสรเช่น ผึ้ง ตัวต่อ แตน ไม่กล้าเข้ามาผสม  4. แมลงศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยจักจั่น ได้แก่ ผีเสื้อตัวเบียน แมลงวันตาโต แตนเบียน สำหรับตัวห้ำได้แก่ มวนตาโต กิ้งก่า และตุ๊กแก  5. ใช้สารเคมี ได้แก่ เซฟวิน 85% อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในระยะก่อนมะม่วงออกดอก 1 ครั้ง และเมื่อเริ่มแทงช่อดอก 1 ครั้ง ถ้าระบาดรุนแรงควรเปลี่ยนสารเคมีพ่นด้วยสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์ คือ เพอร์มาทริน เช่น แอมบุช 10% อัตรา 10 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาราเต้ 2.5% อัตรา 7 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร 6. ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บเกี่ยวให้โปร่งเพื่อลดแหล่งหลบซ่อนของเพลี้ยจักจั่น.

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นครราชสีมา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM