เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ขยายพันธุ์หอยหลอดในถัง - ทิศทางเกษตร
   
ปัญหา :
 
 
นางสาวจินตนา นักระนาด ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง เปิดเผยว่า ทางศูนย์ฯได้รับพ่อแม่พันธุ์หอยหลอดมาจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง สมุทรสงคราม โดยนำมารวบรวมและขุนเลี้ยงไว้ในถังไฟเบอร์กลาสที่ปูพื้นถังด้วยทรายละเอียด ปนเลนหนาประมาณ 10 เซนติเมตร เพื่อให้หอยฝังตัวอยู่ และให้สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น ระยะเวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์ เพื่อให้หอยมีความสมบูรณ์แล้วจึงทำการเพาะพันธุ์ โดยนำหอยหลอดขึ้นมาจากถังที่ขุนเลี้ยงล้างโคลนออกจากเปลือกหอยให้สะอาด แล้วกระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์โดยวิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม หรือการกระตุ้น ทั้งนี้ วิธีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำร่วมกับการปล่อยให้ตัว หอยสัมผัสอากาศจะเป็นวิธีที่ประหยัด และไม่ยุ่งยาก การเพาะพันธุ์หอยหลอดครั้งนี้ทางศูนย์ฯ ได้ทดลองใช้ทั้งสองวิธี ซึ่งสามารถกระตุ้นให้หอยปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาได้จากทั้งสองวิธี เมื่อหอยหลอดปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมา แล้วต้องสังเกตและจำแนกว่าเป็นน้ำเชื้อหรือไข่ แยกพ่อแม่พันธุ์หอยที่ปล่อยเซลล์สืบพันธุ์ออกมาใส่ภาชนะไว้โดยแยกเพศผู้เพศ เมียออกจากกัน ตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่และน้ำเชื้อโดยนำไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ แล้วจึงรวบรวมไข่และน้ำเชื้อมาผสมกัน ในอัตราส่วนที่เหมาะสม นำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วลงฟักในถังใช้ระยะเวลาประมาณ 17 ชั่วโมง ลูกหอยหลอดจึงฟักเป็นตัว แล้วจึงทำการอนุบาลโดยให้สาหร่ายเซลล์เดียว เป็นอาหาร ถ่ายน้ำ 100% ของถังทุกวันเว้นวัน ในระยะแรกลูกหอยจะดำรงชีวิตโดยว่ายน้ำกรองกินอาหารอยู่ในมวลน้ำ ใช้ระยะเวลาประมาณ 7 วัน ลูกหอยจึงเริ่มลงพื้น และจะพัฒนาต่อไปจนมีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย โดยจะใช้เวลาอนุบาลในโรงเพาะฟักประมาณ 3 – 4 เดือน จึงจะได้หอยขนาดความยาวเปลือกโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตร และล่าสุดทางกรมประมงได้จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ น้ำประเภทหอยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยขึ้น โดยได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์หอยชนิดต่าง ๆ เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งกรณีของการศึกษาวิจัยเรื่องการเพาะขยายพันธ์ุหอยหลอดของศูนย์วิจัยและ พัฒนาประมงชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ กรมประมง หากสามารถทำการเพาะขยายพันธุ์หอยหลอดได้ในปริมาณมาก ทางกรมประมงก็จะนำลูกพันธุ์หอยหลอดที่ได้จากการเพาะพันธุ์เหล่านี้ไปปล่อย คืนสู่แหล่งอาศัยในธรรมชาติต่อไปนั้นก็จะเป็นการช่วยฟื้นฟูทรัพยากรหอยหลอด หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากเหตุมหาอุทกภัย ให้กลับมาคงความอุดมสมบูรณ์ดังเดิม หอยหลอด เป็น หอยทะเลกาบคู่ รูปร่างคล้าย หลอดกาแฟ ยาว 7-8 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. เปลือกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อสีขาวขุ่น ส่วนหัวนิ่ม ส่วนปลายเหนียว ชอบฝังตัวตามแนวดิ่งในตะกอนดินโคลนปนทรายบริเวณปากแม่น้ำที่ชาวบ้านเรียกว่า ทรายขี้เป็ด บริเวณที่มีหอยหลอดเป็นจำนวนมากใน ประเทศไทย คือ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม นอกจากที่ดอนหอยหลอดแล้ว ยังอาศัยอยู่ที่ จังหวัดเพชรบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ตราด รวมไปถึง ประเทศอินโดนีเซีย และ ออสเตรเลีย การจับหอยหลอดจะใช้ปูนขาวหยอดลงในรู ทำให้หอยโผล่ขึ้นมาให้จับได้ง่าย ช่วงที่เหมาะสำหรับการจับมากที่สุดคือเดือน ม.ค.-พ.ค. เพราะตอนกลางวันน้ำจะลดลงมาก ทำให้สันดอนโผล่พ้นน้ำ เนื้อหอยหลอดนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ทั้งทอดกรอบ ต้มยำ และผัดฉ่า.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ประจวบคีรีขันธ์
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัส ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM