เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การปลูกฟักยักษ์ไต้หวันในประเทศไทย
   
ปัญหา :
 
 
"ฟัก" ที่เกษตรกรไทยนิยมปลูกตามรั้วบ้านในฤดูฝน หรือหลังเสร็จสิ้นจากการทำนา โดยจะขุดหลุมแล้วหยอดเมล็ด ดูแลรดน้ำ และให้ปุ๋ย-ฉีดยา ป้องกันกำจัดศัตรูพืชบ้าง ปลูกเป็นพืชผักสวนครัว หลังจากนั้นปล่อยให้ฟักแก่ มีลักษณะผิวสีขาวนวลเคลือบผล สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานหลายเดือนเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นฟักแก่ ขนาดน้ำหนักของผลฟักที่ปลูกในบ้านเราจะมีน้ำหนักผลเฉลี่ยประมาณ 3-7 กิโลกรัม ต่อผล (ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ราคาจำหน่ายมากกว่า 3 บาท ต่อกิโลกรัม ถือว่าได้ราคาที่ดีแล้ว เนื่องจากลงทุนไม่มาก เนื่อง จากฟักเป็นพืชที่มีการปลูกและดูแลง่าย เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่จะให้ผลผลิตได้สูง และต้นมีความสมบูรณ์นั้น ควรมีการจัดการเตรียมดินก่อนปลูกเสมอ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร จึงได้ทดลองนำเมล็ดพันธุ์ฟักจากไต้หวันซึ่งจัดเป็นฟักเขียวชนิดหนึ่งมาทดลอง ปลูกในฤดูหนาวช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2553 และฤดูฝนช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2554 ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผล ผลิตดกมาก แต่ต้องแต่งผลทิ้งบ้าง เนื่องจากเมื่อผลฟักแก่จะให้น้ำหนักเฉลี่ย 15-20 กิโลกรัม ต่อผล ขนาดผลยาวกว่า 60 เซนติเมตร และกว้าง 15-20 เซนติเมตร ระยะตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดจนถึงเก็บเกี่ยว 85-90 วัน บางผลมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักผลมากกว่า 20 กิโลกรัม ทางชมรมจึงได้เรียกชื่อพันธุ์ "ฟักยักษ์ไต้หวัน" นอกจากจะให้ผลผลิตที่มีขนาดใหญ่มาก แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องรสชาติ และการนำไปบริโภค เมื่อนำฟักมาปรุงเป็นน้ำซุป แกงจืด รสชาติของเนื้อฟักมีความอร่อยเฉพาะตัว ซึ่งเมื่อให้หลายๆ คนลองชิม ต่างให้ความเห็นตรงกันว่าอร่อยกว่าฟักที่ปลูกในบ้านเรา คนจีน และคนไต้หวัน จะนิยมใช้ฟักในการทำซุปในลักษณะเดียวกับหัวไชเท้า คนจีนถือว่าฟักเขียวเป็นยาเย็นใช้ดับกระหายในฤดูร้อน ประโยชน์ทางสมุนไพร ฟักใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาโรคเบาหวาน ลดไขมันในเส้นเลือด และมีส่วนในการช่วยลดน้ำหนัก และบริโภคต้มซุปมากในช่วงฤดูหนาวของจีน คนจีนมีการนำเอาฟักเขียวทั้งเปลือกมาต้มน้ำดื่มเป็นยาแทนน้ำ สำหรับไต้หวันมีการนำฟักมาบริโภคหลายรูปแบบ อาทิ ดองไว้กินกับข้าวต้ม ทำซุปต้มจืด และที่พัฒนาล่าสุด คือ นำมาผลิตน้ำฟักกระป๋องพร้อมดื่ม กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบันนี้ ขณะนี้ไต้หวันได้มีการพัฒนาสาย พันธุ์ฟักให้มีขนาดผลใหญ่มากเพื่อรองรับการแปรรูปเป็นน้ำฟักพร้อมดื่ม และทั้งประเทศจีนและไต้หวันเองจะมีการใช้ฟักเป็นจำนวนมากในการทำไส้ขนมไหว้ พระจันทร์ที่ใช้ในเทศกาลประจำปีหรือตัวอย่างในบ้านเราก็จะมีการใช้ฟักเป็น จำนวนมากเพื่อนำมาทำฟักเชื่อมที่ใช้ในเทศกาลตรุษจีน ทางชมรมได้มีการนำเมล็ดฟักยักษ์จากไต้หวันมาทดลองปลูกในประเทศไทยได้ขนาดของ ผลใหญ่ใกล้เคียงกับที่ปลูกในไต้หวัน คือมีน้ำหนักผลเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15-20 กิโลกรัม ต่อผล สรรพคุณทางยาของฟักเขียว ผลฟักเขียวทั้งลูกมีที่ใช้ในทางยาทั่วโลก เปลือกผลกินขับปัสสาวะ เถ้าเปลือกใช้ใส่แผล เมล็ดขับพยาธิ ลดอักเสบ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ ใช้เป็นยาระบาย และเพิ่มกำลังวังชา กินถอนพิษที่เกิดจากเนื้อสัตว์และแอลกอฮอลล์ แก้ร้อนใน แก้พิษแมงกะพรุน เนื้อฟักแห้งนำมาบดกินแก้บวมน้ำ แก้ร้อนใน แก้กระหาย ตำรายาอายุรเวทของประเทศอินเดียใช้เมล็ดฟักเขียวแก้ไอ แก้ไข้ กระหายน้ำ และขับพยาธิ น้ำมันจากเมล็ดใช้ขับพยาธิด้วย ผลมีฤทธิ์เพิ่มพลังเพศ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย และเพิ่มกำลังวังชา ใช้รักษาโรคชัก โรคปอดและหอบหืด น้ำคั้นผลฟักใช้รักษาโรคชัก และโรคเส้นประสาทในงานวิจัยพบสารเทอร์พีนต้านมะเร็งจากผลฟัก ระบบรากทนต่อโรคจึงไว้ใช้เป็นต้นตอสำหรับการปลูกพืชตระกูลแตงอื่นๆ ใน ประเทศเกาหลีใช้ฟักเขียวในการรักษาโรคเบาหวาน และขับปัสสาวะ งานวิจัยฟักเขียวในปัจจุบัน ต้านและป้องกันมะเร็ง ป้องกันโรคหลอดเลือด ที่ประเทศจีนใช้ฟักเขียวในการรักษาผู้ป่วยความดันเลือดสูงและรักษาอาการ อักเสบ คุณค่าอาหารฟักเขียว 100 กรัม ให้พลังงาน 5 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย เส้นใย 1.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม น้ำตาล 1 กรัม โปรตีน 0.5 กรัม โซเดียม 1 มิลลิกรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 77 มิลลิกรัม ฟัก ยักษ์เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดและสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ของ ประเทศไทย การเตรียมดินควรขุดดินตากไว้อย่างน้อย 7-14 วัน ขนาดหลุมปลูก 1x1 เมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 1-3 เมตร ระหว่างแถว 5-10 เมตร ใส่อินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยหมัก 10-20 กิโลกรัม ต่อหลุม ปุ๋ยสูตร 16-16-16 อัตรา 1 กำมือ ปูนขาว 0.5 กิโลกรัม ต่อหลุม เพื่อปรับสภาพดิน และป้องกันเชื้อโรคทางดิน สับดิน อินทรียวัตถุ ปุ๋ย และปูนขาวให้เข้ากัน และบ่มเมล็ด และเพาะกล้าก่อนปลูกจะช่วยประหยัดค่าเมล็ดพันธุ์ ทั้งยังได้ต้นกล้าที่มีความแข็งแรง โดยการนำเมล็ดฟักแช่น้ำอุ่น 30-40 นาที ห่อผ้าขาวบางที่ชุบน้ำจนชุ่ม ใส่ไว้ในกล่องพลาสติกใส 2-5 วัน เมล็ดฟักจะทยอยออกราก จึงเริ่มย้ายเมล็ดที่มีรากงอกลงปลูกในถาดหลุมหรือถุงดำทุกวันจนเมล็ดพันธุ์ งอกจนหมด ปลูกเลี้ยงจนกล้ามีใบจริง 1-3 ใบ หรือประมาณ 10 วัน แต่ถ้าในฤดูหนาวจะประมาณ 12-15 วัน แล้วจึงย้ายกล้าปลูก ก่อนย้ายกล้าปลูกควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ต้นกล้ามีการปรับสภาพ มีความแข็งแรง และรากยึดเกาะกับวัสดุปลูก ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ฟักยักษ์ไต้หวันที่นำมาปลูกในประเทศไทยในขณะนี้เป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ดังนั้น หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วไม่แนะนำให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูก เพราะอาจจะทำให้ผลผลิตมีขนาดผลเล็กลงหรือมีขนาดไม่สม่ำเสมอ ฟักยักษ์ เป็นพืชเถาเลื้อย ฟักเป็นไม้ล้มลุกตระกูลแตง ลำต้นเป็นเถาเลื้อยบนค้าง มีหนวดเป็นมือจับไปตามค้าง การทำค้างเพื่อให้ฟักเลื้อยนั้นสามารถทำก่อน หรือระหว่างการปลูกก็ได้ โดยการใช้เสาไม้ที่หาได้จากท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ต้นกระถิน หรือยูคาลิปตัส เป็นต้น ขุดหลุมฝังเสา ให้มีความสูงจากพื้น 1.5-2 เมตร เพื่อให้เหมาะสมและสะดวกต่อการทำงาน ตัดไม้ไผ่ เศษกิ่งไม้ หรือใช้ตาข่ายสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด ทำเป็นร้านให้เถาฟักเลื้อยขึ้น ซึ่งการทำให้เถาฟักเลื้อยจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ไม่เสี่ยงต่อการทำลายของโรคทางดินโดยเฉพาะช่วงฤดูฝน ฟักยักษ์ไต้หวัน เป็นฟักที่มีผลขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ควรใช้เชือกสานเป็นตาข่ายแขวนผลไว้เพื่อรับน้ำหนักผล และป้องกันขั้วผลขาด การทำค้างเหมาะสำหรับทำในฤดูฝน หรือทุกฤดู แต่หากต้องการลดต้นทุนในการทำค้าง หรือไม่ทำค้างควรเลือกปลูกฟักในฤดูหนาวที่ไม่จำเป็นต้องทำค้างก็ได้ แต่ต้องมีการช่วยจัดเถาให้เลื้อยกระจายไม่แน่นทึบจนเกินไป หลังจากฟักติดผลแล้วควรใช้ฟางข้าว หรือแผ่นโฟมรองผลฟักเพื่อป้องกันโรค และแมลงทำลายผล การตัดแต่งเถาฟักยักษ์ไต้หวัน การไว้เถาฟักถ้าเป็นแบบขึ้นค้างและแบบปล่อยให้เลื้อยกับพื้น เราจะเด็ดแขนงข้อที่ 1-4 ให้หมด หลังจากนั้น ปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติ มีการแต่งใบรอบโคนต้น และใบที่เป็นโรคออก ส่วนการไว้เถาเลื้อยแบบการปลูกแตงโมนั้น เมื่อต้นฟักมีใบจริงได้ 5-6 ใบ ก็เด็ดยอด แล้วเลือกเถาที่สมบูรณ์มีขนาดใกล้เคียงกัน 3 เถา ส่วนที่เหลือให้เด็ดทิ้งไปให้หมด การให้น้ำและปุ๋ยฟักยักษ์ไต้หวัน ในการให้น้ำฟักยักษ์ไต้หวันในช่วงการเจริญเติบโตควรให้มีความชื้นใน แปลงอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ควรให้แปลงแห้งหรือชื้นแฉะเกินไป ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจสอบแปลงและการให้น้ำที่เหมาะสม และงดการให้น้ำสปริงเกลอร์ เนื่องจากจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคราน้ำค้าง ไม่ควรให้ฟักขาดน้ำในช่วงออกดอกและติดผล เพราะจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ดอกร่วงและไม่ติดผล เมื่อใกล้อายุการเก็บเกี่ยว ควรเลิกการให้น้ำอย่างน้อย 10-15 วัน ก่อนการเก็บผลผลิต ส่วนการให้ปุ๋ยฟักควรเน้นปุ๋ยอินทรีย์ และใส่ปุ๋ยเคมีบ้าง เช่น ช่วงหลังจากปลูกจนก่อนติดผล ควรให้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) สลับกับปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หลังจากติดผลแล้วควรให้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 8-24-24 เพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเพิ่มน้ำหนักผลผลิต อัตราการให้พิจารณาถึงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เน้นการใส่น้อยแต่ให้บ่อยครั้งเพื่อให้ฟักสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเกิด ประโยชน์ นอกจากนี้ ควรหว่านปูนขาวรอบโคนต้น อัตรา 1-2 กำมือ หลังจากที่ฟักติดผลแล้ว เพื่อปรับสภาพดินและป้องกันโรคทางดินได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ควรมีการจัดการแปลงโดยการกำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาดเพื่อให้แปลงโปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ลดปัญหาการเกิดโรคและแมลงได้ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูฟักยักษ์ ก่อนตัดสินใจฉีดยาป้องกันศัตรูฟักควรทราบถึงโรค-แมลงศัตรูที่สำคัญ นอกจากนี้ ควรมีการตรวจแปลงเพื่อการตัดสินใจและป้องกันอย่างทันก่อนการระบาดรุนแรง ซึ่งโรคที่มักเกิดกับการปลูกฟัก ได้แก่ โรคเหี่ยวเขียวจากเชื้อฟิวซาเรียม โรคเหี่ยวจากแบคทีเรีย โรคราน้ำค้าง โรคใบกรอบ และโรคยอดหยิกจากไวรัส นอก จากนี้แล้ว แมลงศัตรูที่สำคัญ ได้แก่ ด้วงเต่า แตง เพลี้ยไฟ แมลงวันหนอนชอนใบ และแมลงหวี่ขาว เป็นต้น การใช้ยากำจัดแมลงศัตรูของฟักนั้นควรหลีกเลี่ยงใช้ในระยะที่ฟักติดดอก อันจะเป็นอันตรายต่อผึ้ง และแมลงอื่นๆ ที่ช่วยในการผสมเกสร ทำให้การติดผลดีขึ้น ทุกครั้งที่มีการฉีดสารเคมีควรใช้ฮอร์โมนเสริมทางใบเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตที่ ดีขึ้น ปลูกน้อย และควรดูแลอย่างประณีต จากการทดลองปลูกฟักยักษ์ไต้หวันของแผนกฟาร์ม ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรมาหลายรุ่น สรุปได้ถึงปัญหาและอุปสรรคของการปลูกได้หลายประการ อาทิ ในการย้ายต้นกล้าลงหลุมควรปลูกหลุมละ 1 ต้น เท่านั้น หลังจากย้ายกล้าลงหลุมปลูกนั้น เกษตรกรจะต้องหมั่นดูแลต้นฟักยักษ์ ในขณะเดียวกันเกษตรกรจะต้องเตรียมต้นกล้าไว้ปลูกซ่อมประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในการปลูกฟักยักษ์ไต้หวันจำเป็นต้องดูแลในเรื่องการติดผลซึ่งในต้นฟักยักษ์ แต่ละต้นไม่ควรไว้ผลผลิตเกิน 2 ผล เนื่องจากฟักยักษ์เมื่อผลผลิตแก่เต็มที่จะมีน้ำหนักผลเฉลี่ย ผลละ 15-20 กิโลกรัม (ขนาดของผลฟักยักษ์ไต้หวันจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 15-20 เซนติเมตร และความยาวของผล 60 เซนติเมตร) ในการทำค้างปลูกฟักยักษ์ก็ เช่นกัน ถ้าปลูกในฤดูฝนควรจะทำค้างที่มีความแข็งแรงโดยเฉพาะในช่วงที่ฟักยักษ์มีผล ผลิตแก่จะมีน้ำหนักมาก ถ้าค้างไม่แข็งแรงและมีฝนตกอย่างต่อเนื่องจะทำให้ค้างหักลงมาได้ การเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังหยอดเมล็ดจนถึงอายุการเก็บเกี่ยวฟักยักษ์ไต้หวันประมาณ 85-90 วัน โดยสังเกตได้ว่าผลฟักจะมีไขสีขาวจับผล การตัดให้ใช้มีดหรือกรรไกรที่คมตัดที่ขั้วของผล การเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ที่ผลด้วย เพื่อช่วยให้ผลฟักเก็บรักษาได้นานขึ้น เกร็ด ในการเลือกซื้อฟัก ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีตู้เย็น คนโบราณนิยมปลูกฟักแล้วเก็บผลฟักไว้ในครัว ซึ่งในครัวค่อนข้างเย็น เวลาจะใช้ก็ค่อยนำมาทำอาหาร จะนำมากินหรือใช้ประกอบอาหารก็ต้องรองานบุญ เพราะฟักทั้งลูกสามารถเลี้ยงคนได้จำนวนมากหรือไม่อย่างนั้นก็ต้องตัดแบ่งแจก จ่ายเพื่อนบ้าน ทุกวันนี้เราจะซื้อฟักเขียวตามตลาด แม่ค้าก็จะต้องมีการตัดแบ่งให้เป็นท่อน ให้พอทำกิน 1 มื้อ หรือฟักที่ขายในห้างสรรพสินค้าก็ต้องตัดเป็นแว่นๆ ห่อหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์พลาสติกใส การเลือกฟักให้เลือกซื้อฟักที่มี เนื้อแข็ง เพราะเวลานำมาทำอาหารจะได้รสหวานและกรอบ ฟักที่ดีจะต้องมีขอบของเนื้อเป็นสีเขียวเข้ม แล้วค่อยๆ จางกลายเป็นสีขาวตรงใจกลาง หรือบางท่านที่ซื้อฟักมาทั้งผล บางครั้งไม่สามารถใช้หรือกินได้หมดในครั้งเดียว เพราะผลฟักค่อนข้างใหญ่ แนะนำว่าให้ลองเอาปูนแดงที่กินกับหมากมาทาตรงรอยแผลก็จะสามารถเก็บรักษาไว้ ได้นานขึ้นอีกหลายวัน พบกับผล "ฟักยักษ์ไต้หวัน" ได้ในงาน "เกษตรมหัศจรรย์ วันเส้นทางเศรษฐี-เทคโนโลยีชาวบ้าน 2555" วันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ 2555 ณ ชั้น 4 MCC HALL เดอะมอลล์ บางแค ที่บู๊ธของ "ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จังหวัดพิจิตร" หรือ โทร. (081) 886-7398 และ (089) 433-1580
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
พิจิตร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 24 ฉบับที่ 519
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM