เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงกบ วิธีเกษตรธรรมชาติ
   
ปัญหา :
 
 
เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริ ด้านการพัฒนาอาชีพตามแนวพระราชดำริ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โครงการเพาะเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงเป็นโครงการหนึ่งที่ดำเนินการเพื่อสนองพระราชดำริ ในการแก้ไขปัญหาการเสื่อมถอยของทรัพยากรธรรมชาติ การลดน้อยของประชากรกบที่พบในธรรมชาติ และการพัฒนาอาชีพเพาะเลี้ยงกบ ตามแนวพระราชดำริของหลักเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ คือการเลี้ยงในรูปแบบใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากธรรมชาติมาทำบ่อเลี้ยงเพื่อให้มีต้นทุนต่ำ และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ดังนั้นรูปแบบบ่ออาจจะต้องมีการพัฒนานำสิ่งที่ดี หาง่ายในพื้นที่มาใช้ในการทำบ่อ เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาทำรูปแบบและวิธีการเพาะเลี้ยงการทำบ่อเลี้ยงเช่น บ่อดิน มีความเหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงกบ เนื่องจากมีการลงทุนต่ำสามารถใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในครัวเรือน และมีสภาพคล้ายคลึงธรรมชาติ ขนาดบ่อทำได้ตั้งแต่ 2.5x3.0 เมตร แต่ไม่ควรใหญ่เกินกว่า 3.0x4.0 เมตร พื้นที่ควรเลือกบริเวณที่มีแดดส่องถึง โดยทำการปรับสภาพพื้นที่เป็นดินให้เรียบล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายไนลอนสีฟ้าสูง 1 เมตร ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อกันกบมุดหนีหรือศัตรูภายนอกมุดเข้ามาทำอันตรายกบ บริเวณที่เป็นแอ่งน้ำอาจขุดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ ถ้าดินสามารถเก็บน้ำได้ ในกรณีที่เป็นสภาพพื้นที่ไม่เก็บน้ำ ให้ใช้ภาชนะ เช่น กะละมังขนาดกลาง หรือถังซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร ด้านบนปากบ่อคลุมด้วยตาข่ายไนลอนสีฟ้าหรือสแลนให้มิดชิดเพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติ เช่น จิ้งเหลน นก แมว งู และ คน อาหารที่ใช้เลี้ยงกบลูกอ๊อด ซึ่งจะเริ่มกินอาหารครั้งแรกเมื่ออายุ 3 วัน ไรน้ำ เป็นแหล่งอาหารเสริมจากธรรมชาติที่ดีสำหรับลูกอ๊อด ในกรณีที่มีลูกอ๊อดเป็นจำนวนมาก อาจเสริมการให้อาหารด้วยการให้ผักกาดลวกน้ำร้อนกึ่งสุก เศษปลาต้มสุก รำละเอียด เศษเนื้อปลาบดผสมรำ เศษเครื่องในสัตว์ต้มสุก หรือหอยเชอร์รี่ต้มสุก บดผสมรำละเอียด ร่วมด้วย และเมื่อลูกอ๊อดโตขึ้นอาจให้อาหารสังเคราะห์สำเร็จรูปชนิดเม็ดสำหรับใช้เลี้ยงลูกกบโรยให้กินร่วมด้วย การให้อาหารควรให้ทีละน้อยและวางไว้ตลอดเวลาเพราะลูกอ๊อดจะกินอาหารตลอดวัน การเลี้ยงลูกกบ ต้องฝึกให้ลูกกบให้กินอาหารสังเคราะห์ในช่วงแรกก่อน เนื่องจากถ้าให้ลูกกบกินอาหารธรรมชาติตั้งแต่เริ่มต้น อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในกรณีที่มีอาหารธรรมชาติไม่พอเพียง ดังนั้นจึงควรฝึกให้กินอาหารสังเคราะห์ให้เป็นก่อน จากนั้นให้อาหารเสริมจากธรรมชาติ เช่น ปลวก ไส้เดือน จิ้งหรีดหรือหนอนนก วิธีฝึกให้ลูกกบกินอาหารทำได้หลายวิธี เช่น ใส่อาหารในภาชนะหรือบนจานแล้ววางปริ่มน้ำ หรือโรยอาหารเม็ดลงในน้ำ ถ้าโรยอาหารลงในน้ำต้องโรยในบริเวณที่ลูกกบสามารถนั่งได้และหัวไม่จมน้ำ ซึ่งทั้งสองวิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งในกบนาและกบบูลฟร็อก เมื่อลูกกบอายุประมาณ 2 เดือน สามารถให้อาหารสังเคราะห์ที่มีขนาดเม็ดใหญ่ขึ้นร่วมกับอาหารธรรมชาติที่เกษตรกรสามารถเพาะเลี้ยงได้เองโดยวิธีง่าย ๆ นอกจากนี้การใช้ชนิดของอาหารอาจขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และวิธีการเลี้ยงของเกษตรกร ถ้าผู้เลี้ยงกบนาอยู่ใกล้บริเวณที่สามารถหาปลาสดได้อาจใช้ปลาสดบดหรือสับเป็นชิ้นวางในภาชนะปริ่มน้ำหรือเหนือน้ำหรือใช้ปลาสดบดผสมรำในอัตรา 3:1 หรือให้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดที่ใช้เลี้ยงกบหรือเลี้ยงปลาดุก การเจริญเติบโตของกบจากลูกอ๊อดไปเป็นลูกกบโดยเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 28-45 วัน ตามปกติการเจริญจากลูกกบไปเป็นกบเนื้อใช้เวลา 3-5 เดือน กบเนื้อที่มีอายุประมาณ 4-5 เดือน มีความยาวของลำตัวประมาณ 4 นิ้ว มีน้ำหนักตัวอยู่ระหว่าง 200-300 กรัม ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเพศของกบ กบที่พบว่ามีขนาดใหญ่ในระยะนี้มักจะเป็นเพศเมีย ส่วนที่มีขนาดเล็กจะเป็นเพศผู้ การเจริญเติบโตของพ่อแม่พันธุ์ใช้เวลา 10-12 เดือน สามารถขายกบได้เมื่อมีอายุ 4 เดือน จำนวนกบ 768 ตัวน้ำหนักเฉลี่ยตัวละ 180 กรัม น้ำหนักรวม 138.24 กิโลกรัม ราคาขาย/กิโลกรัม 70 บาทขายกบได้เงิน 9,676.80 บาท ค่าอาหารรวม 4,335.70 บาทกำไรที่ได้ 5,341.10 บาท การคำนวณ ต้นทุนการเลี้ยงกบนี้จะเป็นการเลี้ยงกบในบ่อขนาด 2x3x1 เมตร และหากต้องการจำหน่ายให้ได้มากกว่านี้ก็เพิ่มปริมาณการเลี้ยงก็จะได้ผลกำไรที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลงานดี ๆ เช่นนี้ทางศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงใหม่ จะนำมาถ่ายทอดให้ผู้สนใจและต้องการเรียนรู้เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ ภายในงานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ “84 พรรษา ประโยชน์สุขสู่ปวงประชา” ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2555 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กทม. รับข้อมูลและการถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เชียงใหม่
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัส ที่ 1 มีนาคม 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM