เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปักเป้ามีพิษตายใน 15 นาที
   
ปัญหา :
 
 
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่าตามปกติปลาปักเป้าจะมีสภาพเหมือนปลา ทั่วไป มีหนามสั้น หรือยาวแล้วแต่ชนิด หากถูกรบกวนจะพองตัวโตขึ้น มีรูปร่างคล้ายลูกโป่ง หรือลูกบอลลูน หรือคล้ายผลทุเรียนลูกกลม ๆ มีหนามแหลม ๆ สั้นหรือยาวได้อย่างชัดเจน ปลาปักเป้าทะเลเป็นที่รู้จักดี และคุ้นเคยของชาวประมง ถ้าพบเห็นบนเรือลากอวน ก็มักจะทำลายทิ้งหรือโยนกลับลงไปในทะเล ในประเทศญี่ปุ่นมีการนำเนื้อปลาปักเป้าสดมาบริการตามภัตตาคารใหญ่ ๆ มีราคาสูงเนื่องจากชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทาน เนื้อปลาปักเป้าสดที่จำหน่ายจะต้องเตรียมโดยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะเป็นอย่างดีเพื่อลดอันตรายจากพิษของปลาให้มากที่สุด โดยชาวญี่ปุ่นนิยมบริโภคเป็นปลาดิบ จนเป็นอาหารประจำชาติญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเป็นที่รู้จัก แม้กระนั้นในช่วง 20 ปีมีผู้บริโภคเนื้อปลาปักเป้าเป็นพิษไม่น้อยว่า 3,000 ราย ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตถึงร้อยละ 51 เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เนื้อปลาปักเป้าเป็นที่นิยมของชาวญี่ปุ่นก็คือ เนื้อปลามีรสชาติที่วิเศษ หวาน กรุบ และอร่อยดี สำหรับประเทศไทย มีผู้ได้รับพิษจากการบริโภคปลาปักเป้าทั้งชนิดน้ำจืด และชนิดน้ำเค็ม ซึ่งมีรายงานทางการแพทย์บ้างเป็นครั้งคราว โดยเฉพาะรายงานผู้ป่วยในภาคอีสาน ชาวบ้านจะนำปลาปักเป้าที่จับได้จากหนองน้ำลำธารมาต้มหรือย่างและแบ่งรับประทานกัน ส่วนปลาปักเป้าในทะเลอ่าวไทยมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ปลาปักเป้าสี่เหลี่ยม บางพื้นที่เรียกว่าปลากระดูก ลำตัวเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่สามารถพองตัวได้ โดยมีกระดองหุ้มลำตัวอยู่ใต้ผิวหนัง ตากลม ปากเล็ก ครีบหูขนาดใหญ่ ครีบหลังมีเพียงอันเดียวและไม่มีก้านแข็ง ครีบท้องไม่ปรากฏ ครีบหางบางใสเป็นรูปโค้ง ขนาดความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวสีเทาแต้มด้วยจุดสีดำเป็นดอกกระจัดกระจายทั่วไป ปักเป้าชนิดนี้อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งทั่วไป ปลาปักเป้าหนามทุเรียน ลำตัวค่อนข้างกลม และแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ครีบท้องไม่ปรากฏ ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีเทา มีลายด่างสีดำเป็นปื้นใต้ตา ใต้คาง บนหัว ข้างแก้มและบนหลัง ปลาปักเป้าชนิดนี้พบอาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลริมชายฝั่งทั่วไปในอ่าวไทย เนื้อของปลาชนิดนี้รับประทานไม่ได้ ปลาปักเป้าลายดำลำตัวอ้วนกลมและเรียวเล็กน้อย ปากเล็ก ฟันเหมือนนกแก้ว ตากลมโต ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหูเล็ก ครีบทวารอยู่เยื้องไปทางด้านซ้ายของครีบหลัง ครีบหางโค้งกลมเป็นรูปพัด ขนาดความยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวสีขาว แต้มด้วยจุดดำปะปนอยู่ทั่วไป ครีบหลังและครีบหูมีสีเหลืองอ่อน ปลาปักเป้าชนิดนี้อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลบริเวณที่เป็นดินทรายปนโคลน สามารถพองตัวออกได้เมื่อตกใจ พบทั่วไปในบริเวณอ่าวไทย ปลาชนิดนี้สามารถนำมารับประทานได้ แต่ขณะทำต้องระวังไม่ให้ถุงน้ำดีแตก พบมากในทะเลเขตร้อนรอบโลกและบริเวณปากแม่น้ำ ปลาปักเป้าที่มีไข่อ่อนจะผลิตพิษโดยพิษจะสะสมอยู่ในอวัยวะภายใน พบมากที่ ตับ กระเพาะ ลำไส้ รังไข่ ลูกอัณฑะ และผิวหนัง พิษของปลาจะเพิ่มมากขึ้นในฤดูวางไข่ อาการของพิษจะกำเริบขึ้นหลังได้รับพิษจากปลา อาการพิษที่เกิดขึ้นแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ ขั้นแรก ชาที่ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ คลื่นไส้ วิงเวียน อาเจียน กระสับกระส่าย ขั้นที่สอง ชามากขึ้น อาเจียนมาก อ่อนเพลีย แขนขาไม่มีแรง ยืนและเดินไม่ได้ ขั้นที่สาม เคลื่อนไหวแขนขาไม่ได้ พูดลำบากจนถึงพูดไม่ได้ เนื่องจากสายกล่องเสียงเป็นอัมพาต ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว ขั้นที่สี่ กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตทั่วไป หายใจลำบาก เขียวคล้ำ หมดสติ รูม่านตาโตเต็มที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อแสง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ผู้ที่ทนพิษไม่ได้ อาการอาจแรงขึ้นจากขั้นแรกถึงขั้นที่สี่และอาจเสียชีวิตได้ในเวลาเพียง 10-15 นาทีเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยสามารถทนพิษได้อาจอยู่ได้นานถึง 24 ชม.ก็จะมีโอกาสรอดชีวิตสูงหากถึงมือแพทย์ พิษของปลาปักเป้าน้ำเค็มมีผลต่อระบบประสาท เป็นพิษที่ละลายน้ำได้ และทนความร้อน แม้หุงต้มแล้ว ยังคงความเป็นพิษอยู่ มีชื่อว่า เทโทรโดท็อกซิน.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัส ที่ 1 มีนาคม 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM