เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ควบคุมโรคขั้วหวีเน่าใน กล้วยหอมทอง..เพิ่มศักยภาพการส่งออก
   
ปัญหา :
 
 
กล้วยหอมทอง เป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออก เนื่องจากผลมีสีเหลืองสวย ผิวเนียน รสหวาน เนื้อนุ่มและมีกลิ่นหอม ลักษณะของกล้วยแต่ละผลเรียงตัวกันอยู่ในหวีอย่างสวยงาม ทำให้เป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดในประเทศญี่ปุ่นและจีน ซึ่งการส่งออกกล้วยหอมทองไปยังญี่ปุ่นค่อนข้างเข้มงวด โดยมีการกำหนดมาตรฐานการส่งออกไว้ว่า ต้องเป็นกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ ห้ามฉีดพ่นสารเคมีเด็ดขาด และต้องรมควันฆ่าเชื้อทั้งหมด ดังนั้น ผู้ผลิตกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกต่างให้ความสำคัญกับการลดการใช้สารเคมีในขบวนการผลิตตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศที่มีแนวโน้มความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดร.บุญญวดี จิระวุฒิ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การผลิตกล้วยหอมทองปลอดสารพิษ ผู้ผลิตจำเป็นต้องอาศัยการใช้สารที่ปลอดภัยทดแทนสารเคมีที่มีอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ซึ่งปัญหาของกล้วยหอมทองหลังการเก็บเกี่ยวจะมีความอ่อนแอต่อโรคขั้วหวีเน่า โรคขั้วหวีเน่า เป็นโรคที่เกษตรกรรู้จักโดยทั่วไป แต่ยังไม่มีการควบคุมโรคด้วยสารที่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมโรคดังกล่าวอย่างถูกต้องและปลอดภัย ดร.บุญญวดีและทีมงานจึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่องโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทองและการควบคุมโดยใช้สารปลอดภัย เพื่อให้ได้วิธีการผลิตกล้วยหอมทองปลอดโรคที่มีคุณภาพดีและสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น จากการศึกษา พบว่า สาร potassium sorbate ปริมาณ 500 มิลลิกรัม/ลิตร มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคได้ดีและสามารถยับยั้งความรุนแรงของโรคได้ถึง 81.65% ผลจากงานวิจัยสามารถนำไปต่อยอดส่งเสริมให้เกษตรกรใช้สารปลอดภัย เพื่อป้องกันโรคขั้วหวีเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยการนำกล้วยที่ตัดแยกหวีเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำมาจุ่มกับสารปลอดภัยเพียง 5 นาที ผึ่งทิ้งไว้จนแห้ง ซึ่งสารดังกล่าวจะไปกระตุ้นให้กล้วยหอมทองสร้างสารต้านทานหรือควบคุมเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคขั้วหวีเน่าไม่ให้สามารถออกฤทธิ์ทำลายผลผลิตกล้วยหอมทองได้ เป็นการยืดอายุเก็บรักษาได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติกล้วยที่เป็นโรคขั้วหวีเน่าจะเน่าเสียภายใน 3 วัน แต่หลังจากจุ่มสารปลอดภัยสามารถยืดอายุได้ถึง 5 วัน ในกรณีผลสุกตามธรรมชาติ การส่งออกกล้วยหอมทองไปยังต่างประเทศ จะจัดส่งเป็นกล้วยสดแช่เย็นซึ่งจะยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาโรคขั้วหวีเน่า แต่การเพิ่มคุณภาพของกล้วยหอมทองให้มีอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น สามารถเพิ่มศักยภาพในการส่งออกกล้วยหอมทองปลอดสารพิษไปยังต่างประเทศ ตลอดจนลดความเสี่ยงในการถูกกีดกันทางการค้าได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ตลาดต่างประเทศมีความต้องการกล้วยหอมทองปลอดสารพิษมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจีน ที่อนุญาตให้ส่งออกกล้วยหอมโดยไม่จำกัดขนาด หรือจะเป็นตลาดใหม่ที่น่าสนใจ เช่น ลาว และสิงคโปร์ ที่มีอัตราการขยายตัวของตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง งานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่อเกษตรกร จึงอยากให้เกษตรกรนำวิธีการดังกล่าวไปทดลองใช้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะสามารถควบคุมโรคขั้วหวีเน่า โรคสำคัญในกล้วยหอมทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเกษตรกรสนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว สำนักวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร เบอร์โทรศัพท์ 0-2579-6008.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM