เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มังคุดเนื้อสีทับทิม (Ruby Mangosteen) นวัตกรรมใหม่ ที่ เมืองจันท์
   
ปัญหา :
 
 
มีความพยายามจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะนำมังคุดซึ่งเป็นผลไม้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้มาแปรรูปหรือคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า ที่นอกเหนือจากการบริโภคสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดจันทบุรีที่จัดว่ามีผลผลิตมังคุดสูงที่สุดในประเทศ อย่างกรณีที่คณาจารย์จากสาขาเทคโนโลยีการจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจันทบุรี ได้ร่วมกันคิดค้นการแปรรูปมังคุดด้วยการนำไปทำเป็นเค้กมังคุด ก็ถือว่าเป็นทางเลือกอีกแนวทางหนึ่งเพื่อใช้เพิ่มมูลค่าของมังคุดและเพิ่มเงินในกระเป๋าอีกทางด้วย ล่าสุดคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการร่วมพัฒนาผลไม้กับ บริษัท อินฟินิท ฟรุ๊ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งไปต่างประเทศ จึงได้มีการนำผลมังคุดแช่แข็งออกมาศึกษาคุณภาพภายใน ซึ่งพบว่าส่วนหนึ่งในบางผลมีสีแดงปะปนอยู่ จากนั้นได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดพบว่า สีแดงที่ปรากฏบนเนื้อมังคุดมาจากเปลือก และเป็นสารที่มีชื่อว่า แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งผลจากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หลายสำนักพบว่า สารในกลุ่มดังกล่าวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเปลือกอ่อน จึงเป็นเหตุผลที่ต้องการได้ส่วนที่เป็นสีแดงจากเปลือกอ่อนให้เข้าไปอยู่ในส่วนของเนื้อที่เราใช้บริโภคโดยไม่จำเป็นต้องไปสกัดเอาสารแอนโทไซยานินจากเปลือกให้ยุ่งยาก พร้อมกับหยิบเอาความโดดเด่นของอัญมณีประจำจังหวัดจันทบุรีมาเป็นการตั้งชื่อของนวัตกรรมใหม่ ที่เรียกว่า "มังคุดเนื้อสีทับทิม" หรือ Ruby Mangosteen คุณดวงเดือน เชิงเทิน ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินฟินิท ฟรุ๊ต จำกัด กล่าวว่า เหตุผลที่มาทดลองทำเนื้อมังคุดจากสีขาวให้เป็นสีแดงเพราะในปัจจุบันมังคุดเป็นผลไม้ที่จังหวัดจันทบุรีผลิตได้ปริมาณมาก มีการจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ ในบางปีถึงขนาดมีปริมาณล้นตลาดทำให้ราคาตกต่ำ จึงเห็นว่าควรทำอย่างไรที่จะหาทางออก และเห็นว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมังคุด "ความจริงที่บริษัทเป็นธุรกิจที่ส่งผลไม้ออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะมังคุดที่ส่งไปในลักษณะแช่แข็งและสดเป็นประจำอยู่แล้ว แต่หากต้องการผลักดันเพื่อให้มังคุดเป็นผลไม้ส่งออกที่มีความโดดเด่น ก็ควรจะหาสิ่งที่มีความแตกต่างจากมังคุดปกติเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของมังคุด" คุณดวงเดือน กล่าว กรรมการผู้จัดการให้รายละเอียดว่า เริ่มต้นด้วยการหาข้อมูลในผลมังคุดว่าที่เปลือกจะมีสารแอนติออกซิแดนต์ (Antioxidant) ที่มีคุณสมบัติในการกำจัดอนุมูลอิสระสาเหตุของสารก่อมะเร็ง จึงต้องหาวิธีทำอย่างไรให้สารตัวนี้เข้ามาอยู่ในเนื้อมังคุด "มังคุดเนื้อสีแดงเป็นนวัตกรรมที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่ โดยการพัฒนามาจากการผลิตมังคุดแช่แข็ง และจะมีคุณค่าทางอาหารและยา หรือมีความเป็น Super Fruit ที่มากกว่าผลมังคุดทั่วไป แนวคิดนี้เริ่มมาประมาณปีกว่า และมีสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. เป็นหน่วยงานที่ช่วยผลักดันในการสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อจัดทำเป็นโครงการนวัตกรรมของเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์" คุณดวงเดือน กล่าว กรรมการผู้จัดการเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่ามังคุดด้วยการพัฒนาแปรรูปจากผลสดไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร อีกทั้งหากสามารถผลิตให้เนื้อมังคุดเป็นสีแดงจะมีคุณค่าทางอาหารและทางยาสูง นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดของผลผลิตมังคุดของไทยให้มากยิ่งขึ้น สำหรับกระบวนการในการทำมังคุดสีเนื้อทับทิม กรรมการผู้จัดการอธิบายว่า จะเริ่มต้นจากการนำผลมังคุดสดจากกระบวนการผลิตแบบอินทรีย์ จากนั้นให้นำไปตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพก่อน แล้วจึงนำไปทำความสะอาด นำไปบรรจุในถุงตาข่ายในปริมาณ 30 กิโลกรัม ต่อจากนั้นนำไปเก็บในห้องควบคุมความเย็น (chill room) เพื่อแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ -40 องศาเซลเซียส ก่อน จากนั้นให้นำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ -25 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยนำไปสู่กระบวนการทำ Ruby Mangosteen หากจะอธิบายง่ายๆ ก็คือ เป็นวิธีการแพร่ของน้ำในลักษณะดูดซึมที่ผนังเซลล์ของเปลือกซึ่งน้ำจะซึมผ่านจากด้านนอกแล้วก็จะผลักสารจากด้านในของเปลือกมังคุดเพื่อให้เข้าไปที่เนื้อมังคุดทำให้เนื้อมังคุดเป็นสีแดงทั้งลูก ทั้งนี้จะมีปัจจัยในเรื่องการควบคุมเวลามากำหนดว่าจะใช้เวลานานเท่าไรจึงจะพอดี ทั้งนี้ เป็นการทดลองในแต่ละช่วงเพื่อหาข้อมูลประเมินผล แล้วค่อยปรับให้เหมาะสมทั้งเวลาและปริมาณ ส่วนด้านการวิเคราะห์ปริมาณ Antioxidant Activity นั้น ได้มีการส่งตรวจเพื่อหาปริมาณ Antioxidant Activity ในเนื้อมังคุดสีแดงกับสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ด้วยวิธีการ ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) คือวิธีการวัดศักยภาพของสารต้านอนุมูลอิสระที่จะทำให้อนุมูลอิสระกลายเป็นกลาง โดยระบุว่า ค่า ORAC ยิ่งสูง แสดงว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งสารอนุมูลอิสระสูงไปด้วย ทั้งนี้ ผลการวิเคราะห์ปริมาณ Antioxidant Activity ในครั้งที่ 2 ได้ค่า Total (ORAC) เกือบถึง 7,000 "ขณะนี้วิธีการทดลองตัวอย่างดังกล่าวประสบผลไปเป็นขั้นเป็นตอน ตามกระบวนการทางการทดลองที่ได้มาตรฐานถูกต้อง และแต่ละขั้นตอนก็จะมีการเก็บผลการทดลองนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์สรุปผล อย่างไรก็ตาม การทดลองนี้เป็นความร่วมมือการทำโครงการร่วมกับ สนช. ซึ่งจะต้องรอให้ปิดโครงการเพื่อสรุปผลของแต่ละขั้นตอนเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเหลืออีกกลุ่มหนึ่งและเป็นกลุ่มใหญ่ จากนั้นถ้าไม่มีปัญหาอะไรก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ครบสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ จึงเริ่มทำการตลาดต่อไป เพียงแต่ขณะนี้ส่งไปเป็นตัวอย่างให้กับลูกค้าที่ต่างประเทศเพื่อตรวจสอบความต้องการของลูกค้าก่อน" กรรมการผู้จัดการกล่าว คุณดวงเดือน เปิดเผยว่า จากการทดลองพบว่าการเลือกขนาดผลมังคุดก็มีความสัมพันธ์กับรสชาติ ทั้งนี้เพราะในความเป็นจริงจะต้องใช้ผลที่มีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีปริมาณเนื้อมาก รสชาติจะอมเปรี้ยวผสมกับรสฝาดจากเปลือกที่มีเล็กน้อย แต่หากใช้ขนาดผลเล็กด้วยความที่มีเนื้อน้อยจะทำให้เพิ่มรสฝาด มากกว่าผลขนาดใหญ่ สำหรับคนไทยเคยนำไปให้ชิมแล้วต่างบอกว่า มีรสชาติฝาดเกินไป และหากทำการตลาดในประเทศอาจต้องปรับเป็นการแปรรูปอย่างอื่น เช่น น้ำผลไม้ เป็นต้น ดังนั้น ตลาดคนไทยอาจยังไม่เหมาะสมเท่ากับในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังวางตัวสินค้าไปที่ตลาดเกาหลีก่อน จากนั้นหากได้รับความนิยมอาจต่อไปยังอีกหลายประเทศ สนใจข้อมูล หรือต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับมังคุดเนื้อสีทับทิม (Ruby Mangosteen) ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของการผลิตมังคุด และเป็นอีกทางเลือกของผู้บริโภค ติดต่อได้ที่ บริษัท อินฟินิท ฟรุ๊ต จำกัด เลขที่ 61/1, 67/24 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี โทรศัพท์ (039) 395-678
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 24 ฉบับที่ 527
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM