เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
''หนอนหัวดำ'' ...ตัวการทำลายมะพร้าว
   
ปัญหา :
 
 
หนอนหัวดำ...แมลงศัตรูมะพร้าวระบาดและสร้างความเสียหายรุนแรงให้กับแหล่งปลูกมะพร้าวมากที่สุดเมื่อเทียบกับศัตรูมะพร้าวชนิดอื่น เนื่องจากหนอนหัวดำสามารถเข้าทำลายจนมะพร้าวยืนต้นตายได้ ซึ่งจะกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันหนอนหัวดำมีการแพร่ระบาดครอบคลุมพื้นที่ 12 จังหวัด รวมกว่า 90,000 ไร่ โดยเฉพาะ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตมะพร้าวแหล่งใหญ่ของประเทศ ดังนั้นจำเป็นต้องควบคุมพื้นที่ระบาดอย่างเร่งด่วน ก่อนลุกลามจนเอาไม่อยู่ นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า หนอนหัวดำมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูพืชต่างถิ่น เริ่มเข้ามาระบาดในประเทศไทยเมื่อปี 2551 โดยมีรายงานการระบาดครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าว คือ สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้งที่มีอุณหภูมิสูง หนอนหัวดำจะสามารถขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การระบาดรุนแรง ขณะที่สภาพแวดล้อมในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์ของหนอนหัวดำทำให้การระบาดมีแนวโน้มลดลง นอกจากนั้นหนอนหัวดำยังสามารถแพร่กระจายไปกับผลมะพร้าวหรือต้นพันธุ์มะพร้าว รวมทั้งพืชตระกูลปาล์ม ทำให้การระบาดขยายวงกว้างขึ้นได้ ระยะตัวหนอนของหนอนหัวดำจะกัดแทะกินผิวใบแก่มะพร้าวทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาล กระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต สำหรับสวนมะพร้าวที่ขาดการดูแลรักษาต้นมะพร้าวจะอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของศัตรูพืช ดังนั้นหากมีการสำรวจติดตามสถานการณ์ระบาดอย่างต่อเนื่อง จะทำให้พบการเข้าทำลายแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถควบคุมการระบาดได้ทันท่วงที การทำลายของหนอนหัวดำ แบ่งระดับความรุนแรงเป็น 3 ระดับ คือ 1. ระดับการทำลายน้อย ต้นมะพร้าวจะมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ไม่มีร่องรอยการทำลายตั้งแต่ 13 ทางใบขึ้นไป ซึ่งจะไม่กระทบต่อผลผลิตมะพร้าว 2. ระดับการทำลายปานกลาง มีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ไม่มีร่องรอยการทำลาย 6-12 ทางใบ และ 3. ระดับการทำลายรุนแรง ต้นมะพร้าวมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยการทำลาย 0-5 ทางใบ โดยทั่วไปถ้ามะพร้าวมีทางใบเขียวที่สมบูรณ์เหลืออยู่บนต้น 3 ใบ ต้นมะพร้าวมีความเสี่ยงที่จะตายได้ การควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถควบคุมได้เบ็ดเสร็จ 100% ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการป้องกันกำจัด ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของหนอนหัวดำ โดยเบื้องต้นเกษตรกรต้องหมั่นสำรวจทางใบมะพร้าวในแปลงอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบการทำลายของหนอนหัวดำให้ตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลายมาเผาทิ้งทันที เพื่อกำจัดหนอนหัวดำระยะไข่ ตัวหนอนและระยะดักแด้ ภายหลังตัดทางใบที่ถูกทำลายมาเผาแล้ว ควรฉีดพ่นด้วยเชื้อ Bacillus thruringiensis หรือเชื้อบีที (Bt) เพื่อกำจัดหนอนหัวดำ โดยใช้เชื้อ Bt ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตร อัตรา 80-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วยสารจับใบตามคำแนะนำในฉลาก ฉีดพ่นทางใบสีเขียวที่เหลือบนต้น จำนวน 3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 7-10 วัน ที่สำคัญการใช้บีทีจะมีประสิทธิภาพดีต้องพ่นช่วงเช้าก่อนแดดจัดและช่วงเย็น ห้ามฉีดพ่นขณะที่มีแสงแดดจัดเพราะจะทำให้เชื้อ Bt อ่อนแอ และประสิทธิภาพการกำจัดหนอนหัวดำลดลง จากนั้นควรปล่อย แตนเบียนไข่ Trichogramma sp. เพื่อช่วยควบคุมระยะไข่ของหนอนหัวดำ อัตราไร่ละ 10 แผ่นต่อไร่หรือประมาณ 20,000 ตัวต่อไร่ ปล่อยทุก 15 วัน ติดต่อกัน 12 ครั้ง โดยแขวนแผ่นแตนเบียนไข่ไว้กับต้นมะพร้าวหรือพืชอื่น ๆ ภายในสวนมะพร้าวกระจายทั่วทั้งแปลง โดยใช้จารบีหรือสารป้องกันมดไม่ให้มาทำลายแผ่นแตนเบียนและควรมีวัสดุกันแดดและฝนก่อนที่แตนเบียนจะฟักเป็นตัวเต็มวัย ขณะเดียวกันให้ปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอน (Bracon hebetor) ควบคุมระยะหนอนของหนอนหัวดำ ปล่อยในอัตราไร่ละ 200 ตัว ปล่อยทุก 15 วัน ต่อเนื่องกัน 12 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ในวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายนนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้กำหนดจัดงาน “ควบคุมและกำจัดหนอนหัวดำแบบครอบคลุมพื้นที่” ณ บ้านฟากนา หมู่ 7 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการการควบคุมและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีการควบคุมกำจัดหนอนหัวดำ ...และให้เกษตรกรที่เข้าร่วมงานฯ นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการควบคุม ป้องกัน และกำจัดในแปลงของตนเองได้ ซึ่งจะช่วยยกระดับการผลิตมะพร้าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM