เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ด ทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้ 100%
   
ปัญหา :
 
 
ต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ ปุ๋ยเคมี เนื่องจากราคาของปุ๋ยเคมีมีการปรับตัวตามราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้ต้นทุนของเกษตรกรที่ยังคงต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมีในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือสารอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมีจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ช่วยลดต้นทุนการผลิต แต่ยังเป็นผลดีต่อพืช สภาพของดิน สิ่งแวดล้อมและตัวของเกษตรกรตลอดจนผู้บริโภคด้วย สุปราณี มั่นหมาย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดิน สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ธาตุอาหารไนโตรเจนมีความสำคัญต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่การเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรต้องอาศัยปุ๋ยไนโตรเจน แต่ด้วยแนวโน้มราคาปุ๋ยเคมีมีการปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ดังนั้น กลุ่มวิจัยจุลินทรีย์ดินจึงได้ศึกษาวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสำหรับพืชตระกูลถั่ว โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรต่อไป จากการวิจัยพบว่า ไรโซเบียมเป็นปุ๋ยชีวภาพชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากจุลินทรีย์ชนิดแบคทีเรียที่สามารถเข้าไปอยู่ในรากของพืชตระกูลถั่วและสามารถตรึงไนโตรเจนที่อยู่ในอากาศมาเป็นธาตุอาหารไนโตรเจนให้พืชนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถใช้ไรโซเบียมทดแทนปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตได้ 100% ทั้งนี้ ในปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ชนิดผงและชนิดเหลว ซึ่งการนำไปใช้งานสำหรับชนิดผงจะต้องคลุกเมล็ดถั่วกับผงไรโซเบียมโดยใช้น้ำมันหรือน้ำเชื่อมเป็นตัวประสานให้ผงปุ๋ยติดกับเมล็ดก่อนจึงจะนำไปปลูกได้ ส่วนชนิดเหลวก็ต้องนำเมล็ดถั่วไปคลุกกับไรโซเบียมแล้วจึงนำไปปลูก และยังมีข้อจำกัดตรงที่เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว ดังนั้นเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับเกษตรกรในการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียม สำหรับพืชตระกูลถั่ว ทางคณะวิจัยจึงได้พัฒนาไรโซเบียมรูปแบบเม็ดขึ้นมา โดยเกษตรกรสามารถนำเม็ดปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมไปหยอดพร้อมกับเมล็ดถั่วได้ทันที ซึ่งการทำไรโซเบียมรูปแบบเม็ดจะต้องหาวัสดุมาปั้นเป็นเม็ดสำหรับให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าไปอาศัยอยู่รวมทั้งสามารถพาเชื้อดังกล่าวให้รอดชีวิตได้นานและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการตรึงธาตุอาหารไนโตรเจนได้ จากการทดลองหาวัสดุปั้นเม็ด ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ซีเมนต์ขาว ปูนยิปซัม ดินเหนียว ปุ๋ยหมักมูลโค และหินฟอสเฟต พบว่าปูนยิปซัมและดินเหนียวมีความเหมาะสมในการนำมาทำวัสดุปั้นมากที่สุด เนื่องจากเมื่อนำไรโซเบียมไปไว้ในวัสดุปั้นทั้ง 2 ชนิดนี้ สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ 1 ปี แต่ต้องเก็บรักษาไว้ในที่เย็น ถ้าเป็นอุณหภูมิห้องปกติควรใช้ปูนยิปซัมเป็นวัสดุปั้นจึงจะเหมาะแต่จะมีอายุเก็บได้ประมาณ 6-8 เดือนเท่านั้น ผลจากการทดลองทั้งในห้องปฏิบัติการและแปลงปลูกเป็นระยะเวลาถึง 5 ปี สามารถสรุปว่าประสิทธิภาพของปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ดในด้านการเพิ่มผลผลิตพืชตระกูลถั่วไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยชีวภาพชนิดผงและชนิดเหลว นอกจากนี้ ราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปุ๋ยชีวภาพทุกชนิดอยู่ในราคาเดียวกันคือ 20 บาท/ถุง แต่จุดเด่นของปุ๋ยชีวภาพชนิดเม็ดคือความสะดวกในการใช้งานและอายุการเก็บรักษายาวนานกว่าชนิดอื่นการพัฒนาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ดของกรมวิชาการเกษตรในครั้งนี้ น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะค่าปุ๋ยไนโตรเจน เพราะปุ๋ยชีวภาพตัวนี้สามารถทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่ได้ผลิตปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมชนิดเม็ดเพื่อจำหน่าย เนื่องจากยังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตในระดับโรงงานอยู่ สำหรับเกษตรหรือผู้สนใจสามารถติดต่อขอรับตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพเพื่อนำไปทดสอบในแปลงปลูกของตนเองได้ โดยติดต่อไปยังกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน สำนักพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร.0-2579-7522-3 ในวันและเวลาราชการ.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM