เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
พริกพันธุ์ "ขี้หนูเลย" กับ "พริกขี้หนูยอดสน" ทางเลือกใหม่ของการปลูกพริก
   
ปัญหา :
 
 
"พริก" เป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีการบำรุงรักษาตลอดระยะเวลาการเจริญเติบโตจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การดูแลรักษา การป้องกันกำจัดศัตรูพริกที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังจำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง ต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น การส่งออกจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องมาตรฐานคุณภาพสินค้าและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยแข่งขันในและที่สำคัญคือ ผู้ผลิตต้องพัฒนาตนเองเข้าสู่ระบบมาตรฐานสากล เช่น การผลิตเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ ตลาดโลกได้ การนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโลกจำเป็นต้องรักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าและให้มีปริมาณผลผลิตสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา ราคาสมเหตุผล และให้มีการขึ้นทะเบียนที่มีการตรวจสอบรับรองจากแหล่งผลิตได้ GAP (Good Agricultural Practice) การปรับปรุง "พริกขี้หนูเลย" "พริกขี้หนูเลย" หรือ "พริกปากปวน" หรือ "พริกส้ม" เป็นพริกพันธุ์หนึ่งที่คนอีสานนิยมรับประทานผลสดเพราะมีลักษณะเด่นคือ มีกลิ่นหอม นิยมใช้ทำน้ำพริกอีสาน (แจ่ว) เป็นพริกขี้หนูผลใหญ่ มีลักษณะที่แตกต่างจากพริกพันธุ์อื่นๆ คือลำต้นสูง การแตกกิ่งน้อย ผลดก ผลดิบสีเขียวอมเหลือง หรือขาวอมเหลือง ผลสุกสีส้มแดง นิยมปลูกในพื้นที่จังหวัดเลย ทั้งในเขตอำเภอเมืองและอำเภอวังสะพุง เป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในรูปผลผลิตสด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับให้เกษตรกรผลิตตอบสนองตามความต้องการของผู้บริโภค การศึกษาวิจัยและพัฒนาพริกจำเป็นจะต้องเร่งรีบดำเนินการเพื่อให้ได้พันธุ์พริกต่างๆ ที่เหมาะสมกับแหล่งปลูก เป็นพันธุ์ดีที่มีลักษณะตรงตามความต้องการของตลาดและผลิตภัณฑ์ ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูเลย โดยดำเนินการทดลองระหว่าง ปี พ.ศ. 2549-2554 โดยการรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์ ทำการคัดเลือกพันธุ์พริกขี้หนูเลยที่มีลักษณะเจริญเติบโตดี ความยาวผล อยู่ระหว่าง 6.0-8.2 เซนติเมตร ก้านผลสีเขียว ก้านผลยาว 3.5-4.6 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางผล 0.8-1.0 เซนติเมตร จากแหล่งปลูกต่างๆ ในเขตจังหวัดเลย จำนวน 200 สายพันธุ์ ปลูกคัดเลือกพันธุ์แบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ จำนวน 2 รุ่น ใน ปี 2549-2550 คัดพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ การเปรียบเทียบและทดสอบพันธุ์โดยใช้สายพันธุ์พริกขี้หนูเลยที่ได้จากการคัดพันธุ์ครั้งที่ 2 จำนวน 12 สายพันธุ์ (รวมสายพันธุ์ของเกษตรกร) โดยศูนย์วิจัยพืชศรีสะเกษได้จัดเตรียมต้นกล้าพริกให้ทุกสถานที่ที่ทดลองปลูกและเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต เช่น ความสูง ทรงพุ่ม และลักษณะทางพฤกษศาสตร์อื่นๆ เช่น ลักษณะต้น ขนาดใบ ความยาวก้านใบ สีกลีบดอก ฯลฯ เพื่อคัดสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกต่างๆ การทดสอบพันธุ์ที่ดีเด่นในไร่เกษตรกร ในแหล่งปลูกต่างๆ โดยใช้สายพันธุ์ที่ปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกต่างๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ หนองคาย นครพนม และชัยภูมิ เป็นต้น ผลการทดลองพบว่า ผลผลิตสดของพริกในแต่ละจังหวัด และแต่ละพันธุ์ที่ทดสอบ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ยกเว้นปี พ.ศ. 2553 ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสดสูงที่สุด คือ ศก.59-1-2 การทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรในแหล่งปลูกต่างๆ พบว่า เมื่อนำพันธุ์ไปทดสอบในพื้นที่ของเกษตรกรแล้ว ประสบปัญหาเกษตรกรไม่สามารถดูแลต้นพริกให้ได้ผลผลิตเต็มที่ได้ จึงทำให้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตของการทดสอบพันธุ์ในท้องถิ่นที่ทำการทดลองในสถานี ซึ่งมีการปฏิบัติดูแลรักษาโดยนักวิชาการเกษตรที่มีความชำนาญ จากการทดลองสรุปได้ว่า พริกขี้หนูเลยสายพันธุ์ "ศก.59-1-2" เป็นพริกที่ให้ผลผลิตสดและผลผลิตแห้งสูงกว่าพันธุ์ของเกษตรกร เป็นสายพันธุ์ที่มีการปรับตัวได้ดีในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ นครพนม และศรีสะเกษ และสายพันธุ์ ศก.40-2-2 เป็นพริกที่ให้ผลผลิตสดและผลผลิตแห้งสูงกว่าพันธุ์ของเกษตรกร เหมาะสำหรับแนะนำให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้บริโภคพริกที่นิยมบริโภคพริกรับประทานผลสด เป็นพริกที่มีการเจริญเติบโตดี เหมาะสำหรับปลูกในฤดูฝน และเป็นการชดเชยพริกในตลาดในฤดูที่ไม่สามารถผลิตพริกพันธุ์อื่นๆ ได้ การปรับปรุงพันธุ์ "พริกขี้หนูยอดสน" พันธุ์ใหม่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษดำเนินการการปรับปรุงพันธุ์พริกขี้หนูยอดสนระหว่างปี 2549-2553 เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์ มีองค์ประกอบผลผลิตและลักษณะทางการเกษตรที่ดี โดยรวบรวมพริกขี้หนูพันธุ์ยอดสน จากแหล่งปลูกต่างๆ ในจังหวัดนครราชสีมา ใน ปี 2549-2550 ได้จำนวน 200 สายพันธุ์ นำมาปลูกและคัดเลือกสายพันธุ์แบบสายพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure line selection) คัดได้พันธุ์ที่มีลักษณะดี จำนวน 8 สายพันธุ์ ซึ่งนำมาปลูกทดสอบในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรชัยภูมิ นครพนม และหนองคาย เป็นต้น โดยเปรียบเทียบกับพันธุ์เกษตรกร จากการปลูกทดสอบนี้คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีไว้แห่งละ 4 สายพันธุ์ และนำมาปลูกทดสอบพันธุ์ในไร่เกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครพนม และนครราชสีมา จังหวัดละ 2 ราย จากผลการทดลอง สรุปได้ว่า พริกยอดสนสายพันธุ์ ศก.119-1-3 และ ศก.165-1-1 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ผลผลิตสดในฤดูฝน เฉลี่ยระหว่าง 0.29-1.08 ตัน ต่อไร่ และในฤดูหนาว (หลังนา) เฉลี่ยระหว่าง 0.83-2.12 ตัน ต่อไร่ ผลผลิตแห้งในฤดูฝน เฉลี่ยระหว่าง 0.07-0.26 ตัน ต่อไร่ และในฤดูหนาว เฉลี่ยระหว่าง 0.32-0.69 ตัน ต่อไร่ สายพันธุ์ ศก.119-1-3 มีความเผ็ด 85,085 SHU และ ศก.165-1-1 มีความเผ็ด 266,823 SHU จากการประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกพริกและผู้รับจ้างเก็บผลผลิตพริกยอดสนจังหวัดศรีสะเกษมีขนาดของผลและความสูงของต้นเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรมากที่สุด พริกทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ สามารถแนะนำพันธุ์และการกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรผู้ปลูกพริกยอดสนเป็นการค้าในแหล่งปลูกต่างๆ โดยให้ผลตอบแทนสูง และลดต้นทุนการผลิตในเรื่องค่าเมล็ดพันธุ์ลงได้ เนื่องจากเป็นพริกสายพันธุ์แท้ เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ เทคโนโลยีการปลูกพริก แบบปรับปรุง ที่ทางศูนย์ แนะนำเกษตรกร พริก เป็นพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจพืชหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงแต่งรสชาติของอาหาร ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง หรือพริกป่น รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคบางชนิดสำหรับแหล่งผลิตที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา เลย ศรีสะเกษ ชัยภูมิ และอุบลราชธานี จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่า เกษตรกรปลูกพริกอยู่ในพื้นที่เดิมเป็นเวลานาน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และมีความเป็นกรดจัด รวมทั้งมีการสะสมโรคและแมลงศัตรูพริกในแปลงทำให้เกิดการระบาดของโรคและแมลง จากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งการใส่ปุ๋ยเคมีในอัตราที่สูงขึ้น สำหรับศัตรูพืชที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรขาว เพลี้ยอ่อน หนอนเจาะกระทู้ผัก และหนอนแมลงวันผลไม้เจาะผล จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ปลูกพริก ใน ปี 2549/2550 จำนวน 12,639 ไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้จัดทำเวทีเสวนากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพริกในจังหวัดศรีสะเกษ ผลจากการจัดเวทีเสวนาการปลูกพริกของเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกพริกในฤดูแล้ง ปัญหาโรคที่พบมากที่สุดคือ โรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อรา แมลงที่พบคือ พวกหนอนเจาะผล และมีการระบาดของเพลี้ยไฟมาก เมื่อพบปัญหาเกษตรกรจะซื้อสารเคมีที่ร้านค้าเป็นคนจัดให้มีลักษณะเป็นชุด และพบว่ามีการใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ในบางครั้งใช้ไม่ถูกกับโรคและแมลงที่เกิดกับต้นพริก ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิต ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ทำให้ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพริกเพื่อพัฒนาระบบการผลิตพริกที่สามารถลดการใช้สารเคมี ลดต้นทุนการผลิต และสารพิษตกค้างในผลผลิตของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ โครงการการปลูกพริกตามกรรมวิธีปรับปรุงจะเริ่มจากการไถ โดยไถดะ 1 ครั้ง ตากแดดไว้ 15 วัน ไถพรวน ไถแปร 1 ครั้ง จึงยกแปลง ใส่ปูนโดโลไมท์ อัตรา 100 กิโลกรัม ต่อไร่ ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ จึงปลูก ในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ แนะนำ แช่เมล็ดพันธุ์พริกด้วยน้ำอุ่น 15-20 นาที ก่อนเพาะ (แต่วิธีการของเกษตรกรไม่แช่เมล็ดพันธุ์พริกก่อนเพาะ) แช่ต้นกล้าด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 1 ชั่วโมง ก่อนปลูก (แต่เดิมเกษตรกรถอนต้นกล้าแล้วนำมาปลูกเลย) วิธีปลูกกล้าใช้วิธีปักดำ ระยะระหว่างต้น 45 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร (ใช้วิธีการเดียวกันกับเกษตรกร) ใส่ปุ๋ยหมักแห้งผสมเชื้อไตรโคเดอร์ม่า อัตรา 150-250 กิโลกรัม ต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีแนะนำใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 20-30 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังปลูก 10-15 วัน และหลังจากนั้นใส่ทุก 20-30 วัน (แต่วิธีเดิมการใส่ปุ๋ยของเกษตรกร ใส่ปุ๋ย 46-0-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 25-50 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังปลูก 10-15 วัน และหลังจากนั้นใส่ทุก 20-30 วัน) การป้องกันกำจัดศัตรูพริกแนะนำให้เกษตรกรสำรวจแมลง ศัตรูพืชก่อน จึงไปซื้อยามาฉีด โดยจะเลือกซื้อยาเฉพาะโรคและแมลงที่พบและฉีดพ่นเสริมด้วยน้ำหมักสูตรสมุนไพร (สูตรยาฉุน ฯลฯ) จากคำแนะนำ จากศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษในการปลูกและดูแลรักษาพริกทั้ง 2 สายพันธุ์ ที่ให้เกษตรกรทดลองปลูก ไม่พบสารพิษตกค้างในผลผลิต แต่วิธีเกษตรกรตรวจสารพิษตกค้างในผลผลิต สามารถสรุปได้ว่า วิธีแนะนำทำให้สามารถลดสารพิษตกค้างในผลผลิตพริกของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้เป็นที่พึงพอใจ นอกจากนี้ ยังสามารถลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ในด้านการให้ผลผลิตพริกเฉลี่ยต่อไร่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจนัก ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจากพื้นที่ปลูกพริกในจังหวัดศรีสะเกษมีการระบาดของโรคและแมลงค่อนข้างมาก และหากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการยังใช้สารเคมีในปริมาณมาก ทำให้แมลงเข้ามาระบาดและทำลาย หนังสือ "ปลูกพริกเงินล้านแบบไร่ช้างขาว" พิมพ์ 4 สี แจกฟรีพร้อมกับ หนังสือ "อาชีพเกษตรกรรม ทำง่าย รายได้งาม เล่มที่ 1-9" รวมทั้งหมด 10 เล่ม จำนวน 792 หน้า เกษตรกรและผู้สนใจเขียนจดหมายสอดแสตมป์ มูลค่ารวม 300 บาท (พร้อมระบุชื่อหนังสือ) ส่งมาขอได้ที่ ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เลขที่ 2/395 ถนนศรีมาลา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร 66000 โทร. (056) 613-021, (056) 650-145 และ (081) 886-7398
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ศรีสะเกษ
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 24 ฉบับที่ 527
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM