เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
กว่าจะมาเป็น?น้ำผึ้ง ที่ดี
   
ปัญหา :
 
 
เมื่อพูดถึง "น้ำผึ้ง" ทุกๆ คนย่อมต้องเคยได้ชิมความหวานกันมาแล้ว และคงต้องยอมรับกับรสชาติอันแสนอร่อย ที่มีทั้งความหอมหวานนั้นได้ นอกจากการสัมผัสรสชาติแล้ว น้ำผึ้งยังมีความพิเศษอีกมากมาย ที่บางคนยังไม่รู้ "น้ำผึ้ง" นับว่าเป็นความหวานที่ได้จากธรรมชาติอย่างแท้จริง นอกจากความหอมหวานแล้ว คุณจะรู้ว่า น้ำผึ้ง นั้นมีดีกว่าที่คิดค่ะ? ก่อนที่จะมาเป็นน้ำผึ้งที่แสนอร่อย ให้เราได้ลองลิ้มชิมรสกันนั้น?คุณรู้หรือไม่ว่า มีกรรมวิธีอย่างไร?ในการได้มาซึ่งน้ำผึ้งที่แสนอร่อยนี้ ก่อนอื่นมารู้จัก น้ำผึ้ง กันก่อนค่ะ ว่า "น้ำผึ้ง" คือ ของเหลวมีรสหวานที่ผึ้งงานสร้างขึ้นมา มีลักษณะเข้มข้นจนเหนียวหนืด ได้จากรวงผึ้งที่เป็น "แผ่นน้ำหวานปิด" น้ำผึ้ง เกิดจากการที่ผึ้งงานบินไปดูด "น้ำต้อย" หรือน้ำหวานจากต่อมน้ำหวานของดอกไม้ โดยผึ้งงานจะใช้งวงดูดน้ำหวานมาผสมกับน้ำย่อย แล้วเก็บไว้ในกระเพาะพัก ระหว่างทางที่บิน พลังงานความร้อนจากร่างกายจะช่วยเร่งให้น้ำตาลในน้ำหวานแปรสภาพเป็นน้ำตาล ที่มีอณูเล็กๆ เมื่อผึ้งงานมาถึงรังก็จะคายน้ำหวานซึ่งแปรสภาพแล้ว มาเก็บไว้ในห้องรังผึ้ง และผึ้งจะกระพือปีกระเหยน้ำที่อยู่ในของเหลวออกมา จนได้ของเหลวเข้มข้น แล้วนำกลับมาสะสมไว้ในรัง จากนั้นบ่มจนของเหลวเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมี จนมีความเข้มข้นสูง คงเหลือปริมาณน้ำอยู่ ร้อยละ 20 ของน้ำหนัก และมีปริมาณแร่ธาตุ วิตามิน และกรดอะมิโน ต่างๆ มากมาย กระบวนการเก็บน้ำหวานจากธรรมชาติ ผึ้งงานจะดูดน้ำหวานสะสมไว้ภายในตัว ในอวัยวะที่เรียกว่า "กระเพาะน้ำหวาน" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลำไส้ที่แปรสภาพไปเป็นถุง โดยในแต่ละเที่ยวบิน ผึ้งงานจะดูดน้ำหวานจากดอกของพืชแต่ละชนิด ผึ้งงานมีระบบประสาทสัมผัสที่มีประสิทธิภาพ สามารถรับรู้ความแตกต่างในเรื่องความหวานของน้ำหวานจากดอกไม้ต่างชนิดกันได้ (ถ้าในบริเวณนั้นมีพืชมากกว่า 1 ชนิด ผึ้งงานจะบินไปหากินกับพืชดอกที่มีความหวานมากกว่า) น้ำตาล ใน...น้ำผึ้ง น้ำผึ้ง เป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งถ้าหักน้ำออกแล้ว ประมาณ 5-99% ของน้ำผึ้ง จะประกอบด้วย น้ำตาล 2 ชนิด ได้แก่ กลูโคส และฟรุกโทส 1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เช่น กลูโคส ฟรุกโทส เป็นส่วนประกอบที่เด่นที่สุดของน้ำผึ้ง จึงทำให้น้ำผึ้งมีรสหวาน และสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะใช้น้ำตาลกลุ่มนี้สร้างพลังงาน 2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ เช่น มอลโทส ซูโครส แล็กโทส เป็นต้น 3. น้ำตาลที่มีโมเลกุลซับซ้อน เช่น เดกซ์ทริน เป็นต้น น้ำตาลทั้งหมดนี้เป็นส่วนผสมขององค์ประกอบโดยธรรมชาติของ "น้ำต้อย" ที่ผลิตจากต่อมน้ำหวานของพืช ("น้ำต้อย" คือ ของเหลวรสหวานที่ผลิตโดยดอกไม้หรือส่วนอื่นของต้นไม้ จากน้ำและสารอาหารที่รากพืชดูดมาจากดิน หรือใบพืชดูดมาจากอากาศ โดยมีกระบวนการสังเคราะห์แสงด้วยแสงในเซลล์ที่ใบของพืชเข้ามาเกี่ยวข้อง เปลี่ยนวัตถุดิบเหล่านี้ให้กลายเป็นสารละลายน้ำตาล ซึ่งจะปรากฏเป็นน้ำต้อยในดอกไม้ หรือปรากฏเป็นน้ำหวานบริเวณตาใบพืชหรือต้นไม้อื่น เช่น ตาใบ ของต้นยางพารา เป็นต้น) ส่วนน้ำหวาน หรือน้ำเชื่อมที่ได้จากการเอาน้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลสังเคราะห์อื่นๆ ไปละลายน้ำแล้วให้ผึ้งกิน ไม่ยอมรับว่าเป็นส่วนผสมของน้ำผึ้งโดยธรรมชาติ ดังนั้น น้ำผึ้งแท้บริสุทธิ์ จึงต้องมีข้อกำหนดว่าจะมีน้ำตาลซูโครสได้เพียง ไม่เกิน 5-8% โดยน้ำหนัก น้ำผึ้งที่มีปริมาณน้ำตาลซูโครสสูงกว่านี้ ถือว่าเป็นน้ำผึ้งผสมน้ำเชื่อม ซึ่งไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธิ์ น้ำผึ้ง?กับความแตกต่าง ตามชนิดพืชอาหาร น้ำหวานที่ผึ้งได้มาจากพืชแต่ละชนิด จะมีรส กลิ่น และสี แตกต่างกัน เราสามารถจำแนกได้ว่า น้ำผึ้ง นั้นมาจากพืชอาหารชนิดใดได้ เช่น น้ำผึ้งลิ้นจี่ น้ำผึ้งทานตะวัน น้ำผึ้งลำไย น้ำผึ้งยางพารา เป็นต้น น้ำผึ้งจากดอกไม้ต่างชนิดกัน จะมีองค์ประกอบและสัดส่วนของน้ำตาลกลูโคส แล็กโทส มอลโทส และน้ำตาลชนิดอื่นแตกต่างกัน ซึ่งมีผลถึงความแตกต่างด้านคุณสมบัติทางกายภาพของน้ำผึ้งด้วย น้ำผึ้งจากดอกไม้บางชนิดอาจตกผลึกได้ยาก เช่น น้ำผึ้งจากดอกลำไย แต่น้ำผึ้งบางชนิดตกผลึกได้ง่ายเมื่อกระทบความเย็นหรือเก็บไว้นาน เช่น น้ำผึ้งลิ้นจี่ น้ำผึ้งยางพารา และน้ำผึ้งทานตะวัน เป็นต้น น้ำผึ้ง?ที่ดี มีลักษณะอย่างไร? น้ำผึ้ง ที่เราเห็นขายกันอยู่ หากไม่มีความรู้หรือไม่ช่างสังเกตก็จะคิดว่า มันคือ น้ำผึ้งเหมือนกันทุกขวด แต่น้ำผึ้งที่ดีนั้น จะต้องมีลักษณะข้นหนืด และจะต้องเป็นน้ำผึ้งที่ผ่านกรรมวิธีเก็บจากรังผึ้งอย่างถูกต้อง โดยต้องเป็นน้ำผึ้งที่ได้รับการบ่มจนข้นได้ที่แล้ว และผ่านกระบวนการเก็บที่สะอาด ปราศจากสิ่งเจือปนต่างๆ น้ำผึ้งไม่ว่าจะมีสีเข้มหรือสีอ่อน ต้องเป็นสีใส ไม่ขุ่นทึบ ที่ผิวของน้ำผึ้งที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะควรปราศจากฟองอากาศ และต้องไม่มีเศษซากวัสดุต่างๆ แขวนลอยอยู่ การที่น้ำผึ้งมีฟองอากาศอยู่มาก และมีลักษณะเหลว ถ้าเปิดภาชนะดมดู มีกลิ่นบูดเปรี้ยว แสดงว่า น้ำผึ้ง นั้นบูดแล้ว?น้ำผึ้งที่ดีควรมีรสหวาน หอม ไม่ขมเฝื่อน ไม่มีรสหรือกลิ่นไหม้ น้ำผึ้งที่ดีแต่ถูกเก็บไว้นานในที่เย็นหรือน้ำผึ้งจากดอกไม้บางชนิดอาจตกผลึกเป็นตะกอนนอนก้นอยู่ ก็อย่าเข้าใจผิดว่า น้ำผึ้ง นั้นเสีย ซึ่งสามารถแก้ไขให้กลับคืนสภาพเดิมได้ง่าย โดยนำภาชนะที่บรรจุน้ำผึ้งที่ตกผลึกนั้นไปแช่ในน้ำอุ่น อุณหภูมิไม่เกิน 65 องศาเซลเซียส หรือตากแดด ผลึกน้ำผึ้งก็จะละลาย แต่ผู้บริโภคบางรายนิยมรับประทานน้ำผึ้งที่ตกผลึก เพราะมีรสชาติอีกแบบ และง่ายต่อการตักรับประทานด้วย การคัดเกรดน้ำผึ้ง จะดูที่ความชื้นของน้ำผึ้ง ถ้าน้ำผึ้งมีความชื้นหรือน้ำปนอยู่น้อยกว่า ร้อยละ 21 แสดงว่าอยู่ในเกรดที่ดี แต่ถ้ามีความชื้นมากกว่านี้คุณภาพของน้ำผึ้งจะลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาของน้ำผึ้งไม่ได้ขึ้นอยู่กับความชื้นเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำผึ้งด้วยว่ามาจากดอกไม้ชนิดใด น้ำผึ้ง จากธรรมชาติ & น้ำผึ้ง จากการเลี้ยงผึ้ง? ตลาดน้ำผึ้งในประเทศไทย จะมีน้ำผึ้ง 2 ประเภท คือ น้ำผึ้งที่ได้จากธรรมชาติ หรือน้ำผึ้งป่า กับน้ำผึ้งที่ได้จากการเลี้ยงผึ้ง ทำให้ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจ ถึงคุณค่าทางอาหารของน้ำผึ้งแต่ละชนิด จากรายงาน ของ ดร.ไมเคิล เบอรเกตต์ จากสหรัฐอเมริกา ที่เก็บตัวอย่างน้ำผึ้งจากทั่วโลก ของผึ้งทุกชนิด ซึ่งมีตัวอย่างน้ำผึ้งของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย พบว่า ไม่มีความแตกต่าง ทั้งในด้านองค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางอาหาร ในประเทศไทย โดย สมนึก บุญเกิด (2544) รายงานผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งเลี้ยง และจากผึ้งในธรรมชาติว่า ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด จึงน่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า น้ำผึ้งป่า ไม่ได้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าหรือแตกต่างไปจากน้ำผึ้งที่ได้จากผึ้งเลี้ยงแต่อย่างใด คุณลักษณะต่างๆ ของ...น้ำผึ้ง 1. น้ำผึ้งทุกชนิดที่ได้จากดอกไม้ต่างๆ มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกันหรือใกล้เคียงกัน ทั้งในด้านองค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางอาหาร ดังนั้น ผู้บริโภคสามารถเลือกน้ำผึ้งที่มีรสชาติและกลิ่นที่ตนเองชอบได้ทุกชนิด 2. น้ำผึ้งจากยางพารา ดอกทานตะวัน และดอกลิ้นจี่ จะตกผลึกเป็นเกล็ดน้ำตาลละเอียด ที่เรียกว่า "ครีมน้ำผึ้ง" เป็นน้ำผึ้งแท้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของน้ำผึ้งที่ได้จากพืชดังกล่าว 3. น้ำผึ้งที่ดี ต้องใส สะอาด ไม่มีเศษไขผึ้ง หรือตัวผึ้งปะปน เมื่อรินจะมีลักษณะข้นหนืด มีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีน้ำตาล (ถ้าน้ำผึ้งมีสีดำเข้ม ไม่ควรบริโภค) 4. น้ำผึ้งที่ดี ต้องมีรสหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ตามชนิดของดอกไม้ ไม่มีกลิ่นเปรี้ยวบูด 5. มีฉลากปิดแสดงเครื่องหมายการค้า แหล่งที่ผลิต มีการรับรองจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น อย. สมอ. สำหรับเกษตรกรรายย่อยจะได้รับการรับรองจากกรมส่งเสริมการเกษตร น้ำผึ้ง?เก็บอย่างไร ให้ถูกต้อง! 1. เก็บในภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาด 2. เก็บในอุณหภูมิห้อง และไม่ให้แสงแดดส่องถึง 3. น้ำผึ้งที่เก็บมาจากรังใหม่ๆ มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าน้ำผึ้งเก่า หรือน้ำผึ้งที่เก็บไว้เป็นเวลานานๆ การเก็บน้ำผึ้งไว้นานเกินไป จะทำให้น้ำผึ้งมีสีเข้มจนออกเป็นสีดำ ยิ่งถ้าเก็บไว้ในที่ที่มีอากาศร้อนด้วยแล้ว จะยิ่งมีสีดำเร็วขึ้น เพราะมีสารเอชเอ็มเอฟ (HMF) สูง สารเอชเอ็มเอฟ คือชื่อย่อของสารเคมี ที่มีชื่อว่า (Hydroxy Methylfur Furaldehyde) ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จนเกิดปฏิกิริยาเคมีของการย่อยสลาย น้ำตาลฟรุกโทสในน้ำผึ้ง ความร้อนและแสงแดดจะเป็นตัวเร่งให้เกิดปฏิกิริยานี้เร็วขึ้น ดังนั้น จึงควรเก็บน้ำผึ้งไว้ในที่มืดและเย็น แต่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น อย่างไรก็ตาม สารเอชเอ็มเอฟ ในน้ำผึ้งนี้จะมีปริมาณน้อยมาก ไม่ค่อยมีอันตรายต่อผู้บริโภค หากจะบริโภคน้ำผึ้งสีเข้มจนเกือบดำ โดยทั่วไป น้ำผึ้ง จะเก็บได้นาน ประมาณ 1-2 ปี หากเก็บไว้นานกว่านี้ สี กลิ่น รส ก็จะเปลี่ยนไป ที่เห็นได้ชัดคือ น้ำผึ้งจะมีสีน้ำตาลเข้มจนดำ กว่าจะเป็น...น้ำผึ้งแท้และบริสุทธิ์มาให้เราบริโภคนั้น จะเห็นได้ว่า เกิดจากความขยันหมั่นเพียรของผึ้งงานโดยแท้ ดังนั้น ทุกๆ ท่านที่ต้องการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สมบูรณ์ ควรพิจารณาให้ดีว่าจะบริโภคน้ำผึ้งอย่างไร เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด เพราะการที่มีสุขภาพที่ดีนั้น ย่อมจะมีสิ่งดีดีอย่างอื่นตามมาอีกมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องการ และขอฝากไว้ว่า?เพื่อสุขภาพที่ดี ควรเป็นน้ำผึ้งที่แท้และบริสุทธิ์ ต้องมาจากแหล่งที่มีการรับรองว่ามีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการผลิตน้ำผึ้ง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากผึ้งเท่านั้น ถึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง?สำหรับน้ำผึ้งในบ้านเรา ก็หาได้ง่าย แถมมีคุณภาพดีอีกด้วย ลองดูสิคะ หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้งและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากผึ้ง ติดต่อได้ที่ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดชุมพร (ผึ้ง) โทรศัพท์ (077) 574-519-20 ได้ทุกวันในเวลาราชการ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ชุมพร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 24 ฉบับที่ 525
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM