เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูก "ดอกไพรีทรัม" กำจัดแมลง ด้วยวิถีธรรมชาติกันดีกว่า
   
ปัญหา :
 
 
มีข่าวดีมาบอก!!! ณ เวลานี้ เมืองไทยปลูก "ดอกไพรีทรัม" ได้แล้ว ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ถือเป็นข่าวดีสำหรับวงการเกษตรของเมืองไทยทีเดียว เพราะดอกไพรีทรัมถือเป็นทางเลือกใหม่ในการป้องกันและกำจัดแมลงร้ายแบบวิถีธรรมชาติที่ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รศ. จิตราพรรณ (พิลึก) เทียมปโยธร ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในกูรูด้านพืชสวน ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับของบ้านเรา เล่าถึง ดอกไพรีทรัมว่า เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเด่นในด้านกำจัดแมลงศัตรูพืช และเป็นยากำจัดเชื้อรา ช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติและดูแลป้องกันชีวิตมนุษย์มานานกว่า 2,000 ปี ทำให้วงการพฤกษศาสตร์ยกย่องพืชชนิดนี้ว่าเป็น "ดอกไม้ของพระเจ้า" (Flower of God) ดอกไพรีทรัมนั้น เป็นไม้ดอกทรงพุ่ม มีดอกสีเหลือง/ขาว คล้ายดอกเดซี่ หรือเบญจมาศ มีการเจริญเติบโตคล้ายต้นผักกาดหอม และเยอร์บีร่า ไพรีทรัมมีลำต้นสั้นติดดิน ใบคล้ายใบผักชีเรียงซ้อนกันแน่นที่โคนต้น มีหัวใต้ดินคล้ายต้นรักแรก และแตกกอเพิ่มจำนวนหัวได้เป็นกลุ่ม ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและแยกหัวใต้ดินไปปลูก หลังเพาะเมล็ดประมาณ 7 เดือน ต้นจะออกดอกได้เมื่อได้รับอุณหภูมิต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ (ถ้าต้นได้รับอุณหภูมิสูงกว่า 24 องศาเซลเซียส นานกว่า 1 เดือน จะไม่ออกดอก) การปลูกไพรีทรัมให้ผลิดอกตลอดทั้งปี ควรเลือกปลูกในพื้นที่สูง 1,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล สภาพอากาศตอนกลางวันร้อนจัด ช่วงกลางคืนมีอากาศหนาวเย็น การเก็บดอกไพรีทรัม มักใช้วิธีเด็ดดอกหรือตัดด้วยเครื่องจักร และนำดอกไพรีทรัมไปตากแดดจนแห้งแล้วเก็บไว้ใช้งาน ดอกสด 3-4 กิโลกรัม ทำเป็นดอกแห้งได้ 1 กิโลกรัม เมื่อนำดอกแห้งเข้าโรงสกัดจะได้สารจากธรรมชาติ เรียกว่า "ไพรีทรินส์" ที่ออกฤทธิ์ดูดซึมทำลายระบบประสาทของแมลง เช่น ยุง แมลงวัน แมลงสาบ แมลงหวี่ ไร เรือด เพลี้ยอ่อน หมัดกระโดด ตั๊กแตน ทำให้แมลงสลบอย่างรวดเร็วในเวลา 2-3 นาที และตายในที่สุด สารไพรีทรินส์ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลือดอุ่น เพราะในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีเอ็นไซม์ชนิดหนึ่งที่สามารถย่อยสลายสารไพรีทรินส์ได้ จึงไม่มีการตกค้างในร่างกายและสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติด้วยแสงแดดและความร้อน องค์การอนามัยโลก WHO และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ FAO จึงยกย่อง สารสกัดจากดอกไพรีทรัมเป็นสารฆ่าแมลงที่ปลอดภัยกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากที่สุด ในต่างประเทศนิยมปลูกดอกไพรีทรัมแซมในแปลงผักสวนครัว เพื่อช่วยป้องกันแมลง หรือนำดอกและใบมาขยี้ผสมน้ำรดพืชผักสวนครัวได้ โดยไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตราย ส่วนกากที่เหลือหยอดลงที่ยอดต้นข้าวโพดเพื่อกำจัดหนอนเจาะลำต้น ดอกแห้งผสมกับน้ำมันงาและน้ำมันพืช หยอดใส่รังปลวก สามารถทำลายปลวกได้ทั้งรัง นอกจากนี้ ยังนิยมใช้สารไพรีทรินส์เป็นส่วนประกอบของยากำจัดแมลงในอุตสาหกรรมไร่ไวน์องุ่น อุตสาหกรรมยาสูบ รวมถึงสเปรย์กำจัดยุงในบ้านเรือน สำหรับผู้ริเริ่มนำดอกไพรีทรัมเข้ามาปลูกที่ประเทศไทยในครั้งนี้ คือ คุณวรรณี ควรสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สถาพร มาเก็ตติ้ง จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ "คายาริ ไพรีทรัม สเปรย์" ที่นำสารสกัดจากดอกไพรีทรัมมาใช้ในสเปรย์กำจัดยุงและแมลงร้ายในครัวเรือนเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย คุณวรรณีเล่าว่า บริษัทได้ทดลองปลูกดอกไพรีทรัมในประเทศไทย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 โดยความร่วมมือจากสถาบันวิจัย BRA รัฐแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย โดยมีเป้าหมายเพื่อประชาสัมพันธ์ความมหัศจรรย์ของดอกไพรีทรัมให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะดอกไพรีทรัมเป็นพืชทางเลือกใหม่ในการกำจัดแมลงที่ปลอดภัยกับมนุษย์และสัตว์เลี้ยงมากที่สุด และต้องการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะส่งเสริมปลูกเชิงการค้าในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันดอกไพรีทรัมถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญมากในหลายประเทศ เช่น เคนยา และออสเตรเลีย คุณวรรณี ต้องการเผยแพร่ข้อมูลให้เกษตรกรไทยหันมาสนใจปลูกดอกไพรีทรัมเป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงามและช่วยขับไล่แมลงไม่ให้เข้ามารบกวนในแปลงปลูกพืชสวนครัว หากใครสนใจเรื่องดอกไพรีทรัม คุณวรรณีเปิดโอกาสให้เข้าเยี่ยมชมแปลงทดลองปลูกดอกไพรีทรัม ณ สวนคริสต์มาสอิงภู อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์โทรศัพท์ (085) 010-9315, (082) 843-3854
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
เลย
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 24 ฉบับที่ 524
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM