เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
4 ยุทธศาสตร์ช่วยชาวสวนมะพร้าว พิชิต 'หนอนหัวดำ-แมลงดำหนาม' : รายงานเกษตร : โดย ... ดลมนัส กาเจ
   
ปัญหา :
 
 
แม้ช่วงที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ให้เร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืช "หนอนหัวดำ และ "แมลงดำหนาม" ในสวนมะพร้าว ด้วยกลวิธีการต่างๆ นานา แต่วันนี้ดูเหมือนว่าการระบาดของแมลงศัตรูพืชทั้ง 2 ชนิด ยังขยายวงกว้างไปยังพื้นที่ใหม่อีก ที่เห็นได้ชัดใน จ.สุราษฎร์ธานี และสมุทรสงคราม ล่าสุด อนันต์ ลิลา รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งรับผิดในการแก้ไขปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม ยืนยันว่า ตอนนี้พื้นที่การระบาดของหนอนหัวดำลดลงเหลือ 96,701 ไร่ และแมลงดำหนามในพื้นที่ 101,514 ไร่ นอกจากนั้นมีด้วงแรดระบาดในพื้นที่ 2,431 ไร่เท่านั้น "ช่วงแรกๆ เราก็ยอมรับว่ามึนเหมือนกัน แต่หลังจากเราใช้แตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา จำนวน 810,340 แผ่น แตนเบียนหนอนบราคอนจำนวนหนึ่ง และไข่ผีเสื้อข้าวสาร จำนวน 6,150 กรัม ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทำให้เราสามารถยับยั้งการระบาด และสามารถกำจัดตัวแมลงศัคตรูพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ในระดับที่น่าพอใจระดับหนึ่ง" นายอนันต์ กล่าว รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุว่า การแก้ปัญหาการระบาดหนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการ 2 วิธี คือ วิธีเขตกรรม หมายถึง การปรับปรุงดิน น้ำ อากาศ แสงแดด สภาพแวดล้อม ให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การบำรุงให้พืชมีความสมบูรณ์มีความแข็งแรงทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลงศัตรูพืชได้ และอีกวิธีคือวิธีกล เป็นการควบคุมกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยการใช้แรงคน และการใช้เครื่องมือกลต่างๆ อย่างเช่นเมื่อพบว่าหนอนหัวดำระบาด จะตัดใบทิ้งทันที พร้อมกับฉีดเชื้อไวรัสบีที และปล่อยแตนเบียน ซึ่งขณะนี้กรมส่งเสริมการเกษตรอบรมให้ชาวบ้านเลี้ยงเองอีกด้วย การดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตรสอดคล้องกับคณะทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาศัตรูพืชระบาด ที่เห็นชอบโครงการควบคุมและกำจัดศัตรูมะพร้าวแบบครอบคลุมพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการควบคุมหนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม 2 วิธี คือ วิธีตัดทางใบที่ถูกทำลายมาเผา และวิธีปล่อยศัตรูธรรมชาติโดยให้ใช้แตนเบียนหนอน Bracon hebetor อัตรา 200 ตัวต่อไร่ ต่อครั้งติดต่อกันจำนวน 12 ครั้ง ส่วนการกำจัดศัตรูมะพร้าว ประเภทแมลงดำหนามให้ใช้วิธีปล่อยศัตรูธรรมชาติ โดยใช้ Asecodes hispinarum และ Tetrastichus brontispae ในอัตราเดียวกัน คือ ปล่อย 5 มัมมี่ต่อไร่ต่อครั้ง ติดต่อกันจำนวน 3 ครั้งโดยเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถกำจัดศัตรูมะพร้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การระบาดของหนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม ในสวนมะพร้าวเริ่มรุนแรงมาตั้งแต่ปี 2550 ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ปัตตานี สุราษฎร์ธานี นราธิวาส ชลบุรี ระยอง เสียหายหลานแสนไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีการระบาดมากที่สุดกว่า 1.9 แสนไร่ จากพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัดกว่า 4.1 แสนไร่ ขณะที่ พรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ยอมรับว่า ทั้งแมลงดำหนามและหนอนหัวดำนั้น เป็นศัตรูมาจากต่างถิ่น โดยช่วงแรกยากในการปราบปรามลองผิดลองถูกใช้สารเคมีแต่ไม่ได้ผล จึงเปลี่ยนมาทดลองฉีดแบคทีเรียบีที ซึ่งได้ผลระดับหนึ่ง ขณะนี้มีการกำจัดศัตรูมะพร้าวใน 4 วิธีด้วยกัน ได้แก่ 1.ตัดใบมะพร้าวทิ้งเพื่อกำจัดหนอนดักแด้ 2.ใช้เพาะเชื้อแบคทีเรียบีที 3.ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโคแกรมม่าในอัตรา 2 หมื่นตัวต่อไร่ เพื่อกำจัดไข่หนอนหัวดำ และ 4.ปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอนอัตรา 200 ตัวต่อไร่ เพื่อกำจัดหนอนหัวดำ คาดว่าผลการดำเนินงานตั้งแต่กันยายน 2554-กันยายน 2555 น่าจะเหลือเพียง 20% หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ถ้าทุกภาคส่วนร่วมมือกันสามารถจะเอาชนะได้ในเร็วๆ นี้ ด้าน นายพะสิน พัฒนปณชัย ประธานกลุ่มสมาชิกเลี้ยงแตนเบียนหนอนบราคอนบ้านจวนบน ต.กุยบุรี อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เผยว่ามีสวนมะพร้าวประมาณ 20 ไร่ ถูกหนอนหัวดำ แมลงดำหนามระบาด 100% ก่อนหน้านี้พยายามฉีดสารเคมีแต่ไม่ได้ผล ต่อมาใช้แบคทีเรียบีทีซึ่งได้ผลระดับหนึ่ง ตอนหลังมาปล่อยแตนเบียนหนอนบราคอนปรากฏว่าต้นมะพร้าวที่ถูกศัตรูทั้งสองโจมตีสามารถฟื้นได้ 70% "วิธีการเลี้ยงแตนบราค่อนไม่ยาก เริ่มนำเอาไข่ผีเสื้อข้าวสาร 1 ช้อนประมาณ 2,000 ฟอง ลงในกระปุก จากนั้นปล่อยตัวแตนเบียนหนอนบราคอนลงไป 250 ตัว รอ 12 วันก็สามารถนำไปปล่อยที่สวนมะพร้าวได้" เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวคนเดิมกล่าว นี่คือสถานการณ์ล่าสุดของหนอนหัวดำและแมลงดำหนามระบาดในสวนมะพร้าวของเกษตรกร แม้จะสามารถแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่เป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ส่วนแผนในการกำจัดทั้งหนอนหัวดำและแมลงดำหนามให้สิ้นซากในระยะยาวไม่อาจดำเนินการให้ลุล่วงได้ หากขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันจันทร์ ที่ 26 มิถุนายน 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM