เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูกกระถินยักษ์ป้องโรงไฟฟ้าชีวมวล
   
ปัญหา :
 
 
ผลสืบเนื่องจากนโยบายรัฐบาลตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนระยะ 15 ปี (ปี 2552-2565) ที่ได้กำหนดเป้าหมายให้ประเทศไทยจะต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนให้เป็น 20% ของการใช้พลังงานทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2565 โดยพลังงานทดแทนที่มีการส่งเสริมให้มีการนำมาใช้สูงสุด คือ พลังงานชีวมวล ตั้งเป้าให้มีการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงดังกล่าวที่ 3,700 เมกะวัตต์ จากนั้นสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน จึงมอบให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดทำโครงการนำร่อง 4 แห่ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ปลูกไม้โตเร็วเป็นพลังงานชีวมวล โดยสนับสนุนให้ปลูกพันธุ์ไม้ประเภทกระถินยักษ์ กระถินเทพา ยูคาลิปตัส และกระถินณรงค์ ซึ่งเป็นไม้ที่ปลูกง่าย แม้เป็นพื้นที่สภาพดินเสื่อมโทรม เติบโตเร็ว ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ที่สำคัญเนื้อไม้ให้ค่าความร้อนสูง และหนึ่งในนั้นก็คือ โครงการธรรมรักษ์นิเวศน์ 2 ของวัดพระบาทน้ำพุ อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต้นกระถินยักษ์ เพื่อป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท เอพลัส พาวเวอร์ จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 87 หมู่ 5 ต.ดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ร่วมกับมูลนิธิธรรมรักษ์ ผลิตกระแสไฟฟ้าชีวมวลเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ "เกษตรกรในพื้นที่อยู่ในรัศมีที่สะดวกก็ให้เข้าร่วมโครงการกับเรา เราก็จะให้ต้นกล้าปลูกถึงเวลาไม้โตเต็มที่ก็ตัดและจ่ายเงินให้ทันที ส่วนไม้ที่ได้มาก็จะลิดตัดกิ่งและใบออกนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ หลังจากนั้นตัวไม้ใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้แก่โรงไฟฟ้า โดยนำมาย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปตากแดดเพื่อลดความชื้นก่อนนำไปเป็นเชื้อเพลงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป ซึ่งความคิดของหลวงพ่อท่านให้ช่วยเกษตรกรก่อน ใครเอาไม้มาขายเราซื้อหมด เมื่อไม่พอจึงจะเอาไม้ของเรามาใช้ เพราะบริษัทก็มีพื้นที่ปลูกกระถินยักษ์อยู่เหมือนกัน" ธีระศักดิ์ อุดมพร วิศวกรที่ปรึกษาบริษัท เอพลัส พาวเวอร์ จำกัด กล่าวถึงความเป็นมาของโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งนี้ ที่เกิดจากการดำริของท่านเจ้าคุณอลงกต หรือพระอุดมประชาทร เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ในฐานะประธานที่ปรึกษามูลนิธิธรรมรักษ์ว่า มีความต้องการที่จะช่วยสร้างพลังงานไฟฟ้าที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ให้กลับมาอยู่กับครอบครัวที่อบอุ่น ด้วยการปลูกกระถินยักษ์ ธีระศักดิ์ เผยต่อว่า สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลนี้ ใช้ไม้กระถินยักษ์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยประมาณ 100 ตันต่อวัน โดยจะมีส่วนที่เป็นขี้เถ้าเหลือออกมาทุกวันประมาณ 5% หรือประมาณ 2.5 ตัน โดยจะนำส่วนนี้มาแปรรูปใช้บำบัดน้ำเสียในโรงงานและส่วนหนึ่งก็นำมาขึ้นรูปใช้เป็นถ่านหุงต้มอีกด้วย ขณะที่กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็จะใช้ในภายในมูลนิธิ หากเหลือก็จะจำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ต่อไป ขณะที่ พระอุดมประชาทร หรือท่านเจ้าคุณอลงกต เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ และที่ปรึกษามูลนิธิธรรมรักษ์ บอกว่า มูลนิธิมีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้กระถินยักษ์ระยะที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้โตเร็ว ใช้ระยะเวลาปลูกประมาณ 14 เดือนก็ให้ผลผลิตถึง 6 ตันต่อไร่ และจะเพิ่มปริมาณอีก 2-3 ตัน ในการตัดครั้งต่อไป คือทุกๆ 8 เดือน และยังสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องนานถึง 10 ปี "ขณะนี้ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยบริษัทจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดตันละ 700 บาท นอกจากนี้กิ่งอ่อนและใบกระถินสามารถนำมาป่นเพื่อใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสัตว์ส่งขายให้โรงงานผู้ผลิตอาหารสัตว์ในราครตันละ 6,000 บาท ส่วนถ่านที่เหลือจากกระบวนการเผาไหม้สามารถนำมาผลิตเป็นถ่านอัดแท่งไร้ควันจำหน่ายได้อีกด้วย" ท่านเจ้าคุณอลงกตกล่าวย้ำ การปลูกกระถินยักษ์เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวล นับเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรบ้านดงดินแดง อ.หนองม่วง จ.ลพบุรี ในการสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงนั่นเอง
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ลพบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันอังคาร ที่ 16 ตุลาคม 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM