เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แนะผู้ปลูกพริกไทย...รับมือตลาดเสรีอาเซียน
   
ปัญหา :
 
 
นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ไทยได้เปิดตลาดพริกไทยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) โดยไม่จำกัดปริมาณนำเข้า อัตราภาษีร้อยละ 5 คาดว่าจะมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ อาจส่งผลให้ราคาซื้อขายปรับตัวลดลง ทั้งนี้ปัจจุบันไทยมีการปลูกพริกไทยจำนวนมากในจังหวัดจันทบุรี ซึ่งมีพื้นที่ปลูกและผลผลิตคิดเป็นประมาณร้อยละ 98 ของพื้นที่ปลูกและผลผลิตพริกไทยทั้งประเทศ อย่างไรก็ตามปัจจุบัน การผลิตมีแนวโน้มลดลง สาเหตุสำคัญมาจากสภาพดินเสื่อมโทรมและเกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกพืชหลายชนิดที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า จึงได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่น เช่น ยางพารา และแก้วมังกร ดังนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีสินค้าพริกไทยภาษีร้อยละ 0 ตามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน ย่อมส่งผลให้ มีการนำเข้าพริกไทยจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชาและลาว อย่างไรก็ตามการนำเข้าดังกล่าว ยังไม่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกพริกไทย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะกลิ่นและรสชาติทำให้พริกไทยจันทบุรียังเป็นที่ต้องการของตลาด นางนารีณัฐ รุณภัย รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ เกษตรกรไทยก็ไม่ควรประมาทในด้านการผลิต เพื่อสามารถรักษาตลาดการผลิตพริกไทยเอาไว้ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาอุปสงค์ อุปทานพริกไทย ทั้งก่อนและหลังการเปิดตลาดภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ของสศก.พบว่า จากผลการศึกษาในระยะสั้น เกษตรกรยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ AFTA เนื่องจากผลผลิตพริกไทยไม่เพียงพอกับความต้องการใช้อยู่ประมาณ 2,700 - 3,700 ตัน แต่ในระยะยาว คาดว่า จะได้รับผลกระทบจากปริมาณนำเข้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากผลการศึกษาปรากฏว่า อัตราภาษีมีผลกระทบต่อการนำเข้ามาก อีกทั้งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความต้องการพริกไทยอย่างมาก ได้แก่ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และรายได้ของผู้บริโภค ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อผลผลิตพริกไทย ได้แก่ ราคาพริกไทยที่เกษตรกรขายได้ซึ่งปลูกในพื้นที่เดียวกันกับผลไม้ และราคาเงาะโรงเรียนที่เกษตรกรขายได้ สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกพริกไทย ได้แก่ ราคาส่งออก และราคาขายส่งในประเทศ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการนำเข้าได้แก่ ราคานำเข้าพริกไทยเมล็ด ราคาขายส่งในประเทศและอัตราภาษีนำเข้า นอกจากนี้จากการคาดคะเนในช่วงปี 2556 - 2558 พบว่า ราคาที่เกษตรกรขายได้มีอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุด เฉลี่ยต่อปีร้อยละ 6 รองลงมาได้แก่ปริมาณการนำเข้า และปริมาณความต้องการใช้ในประเทศ เฉลี่ยต่อปีร้อยละ 2 และ 1 ตามลำดับ ส่วนปริมาณการผลิต มีอัตราลดลงค่อนข้างมากเฉลี่ยต่อปีประมาณร้อยละ 20 และปริมาณการส่งออกลดลงเฉลี่ยต่อปีเกือบร้อยละ 2 ทั้งนี้ จากการที่พริกไทยซึ่งในอดีตถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรีที่เป็นแหล่งผลิตใหญ่ มีพื้นที่ปลูกและผลผลิตกว่าร้อยละ 90 ของพื้นที่ปลูกและผลผลิตทั้งประเทศ และเป็นหนึ่งในสินค้าจำนวน 23 รายการที่ต้องมีการกำหนดปริมาณและอัตราภาษีนำเข้า(Tariff Rate Quota: TRQ) ของการเปิดตลาดภายใต้ WTO แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์พริกไทยได้เปลี่ยนแปลงไป โดยผลผลิตได้ลดลงอย่างต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากประสบกับปัญหาราคาตกต่ำ ประกอบกับเกษตรกรมีทางเลือกในการปลูกสินค้าเกษตรอื่นๆที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ทำให้บางส่วนปรับลดพื้นที่การผลิตลง ซึ่งอาจจะขาดแคลนผลผลิตในอนาคต ดังนั้น ในระยะสั้น ภาครัฐควรดำเนินนโยบายวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ โดยสนับสนุนให้มีการเพิ่มปริมาณผลผลิต ด้วยการเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต ส่วนในระยะยาว ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปลูกพริกไทยอินทรีย์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีมาเป็นเวลานาน สนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับชนิดของพืชที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นต้นค้างทดแทนค้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีต้นทุนสูง รวมทั้งให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐฯ ผู้ประกอบการและผู้ผลิตทั้งในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การแปรรูป ตลอดจนข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยเพิ่มขึ้น ...เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือเปิดการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) เกษตรกรไทยไม่ควรประมาท แม้จะมีการคาดการณ์ว่าอนาคตพริกไทยหลังเปิด AFTA จะยังคงสดใสต่อไป แต่ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ซึ่งแนวทางดำเนินการ ได้แก่ การรักษาระดับผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ โดยควบคุมพื้นที่ปลูกไม่เกิน 18,000 ไร่ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมหลังจากปลูกพริกไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นพริกไทยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี กำหนดมาตรฐานพริกไทยและผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและแปรรูป เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์.
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 15 ตุลาคม 2555
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM