เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลูก 'มะละกอ' ใช้วิธีตอนกิ่ง ไม่กลายพันธุ์ - เก็บเกี่ยวได้เร็ว
   
ปัญหา :
 
 
แม้ "อนุพงษ์ เล็กพันธ์" จะจบการศึกษาด้านวิศวกรช่างยนต์ แต่เขากลับชอบอาชีพด้านการเกษตร ล่าสุดเขาใช้พื้นที่เพียง 7 ไร่ที่ไร่ "ลุงสกล" บ้านจ่าง ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี ทำเกษตรผสมผสาน เน้นปลูกมะละกอที่มาจากการตอนกิ่ง ทั้งมะละกอพันธุ์แขกดำ กลางดง ล่าสุดกำลังเพาะมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ และปลูกมะนาว พบว่ามะละกอที่มาจากการตอนกิ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือไม่กลายพันธุ์ ลำต้นไม่สูง และออกผลผลิตเร็วกว่าพันธุ์ทั่วไปถึง 2 เดือน อนุพงษ์ บอกว่า ที่เขาสนใจอาชีพด้านการเกษตร เพราะว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม แต่คนรุ่นใหม่มักจะมองข้ามว่าอาชีพการเกษตรมีรายได้ต่ำและเหน็ดเหนื่อย ทั้งที่ความเป็นจริงอาชีพด้านการเกษตรมีรายได้ดีกว่าเป็นลูกจ้าง แต่ต้องเดินให้ถูกทาง ต้องใส่ใจ และต้องคลุกคลีอยู่กับพืชผลที่ปลูกไว้ ถ้าทำได้ยืนยันว่า อาชีพการเกษตรไม่ลำบากขอเพียงอย่างเดียวว่าให้มีพื้นที่เหมาะสมโดยเฉพาะในเรื่องของแหล่งน้ำ "ผมตระเวนหาพื้นที่เหมาะกับการเกษตรมาหลายแห่งพอดีมีที่แปลงหนึ่งติดแม่น้ำสุพรรณบุรี ที่บ้านจ่าง ต.ศรีประจัต์ เป็นของคุณลุงสกล สมบูรณ์วิทย์ เจ้าของร้านขายยาใน อ.ศรีประจันต์ จึงไปทักถามดู เพราะทำเลสวยมาก คุณลุงสกลบอกว่าไม่ขาย แต่ยินดีให้เข้าไปทำกินได้ เพราะดีกว่าทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ เพราะคุณลงสกลเองไม่มีเวลา ผมทดลองเข้าบำรุงดินในพื้นที่ 7 ไร่จากทั้งหมดราว 30 ไร่ ตั้งใจจะทำเป็นสวนผสม เน้นที่มะนาวและมะละกอ ที่ผมมีความรู้ด้านการตอนมะละกอ ซึ่งจะทำให้มะละกอที่เราปลูกไม่กลายพันธุ์ ต้นไม่สูงเก็บเกี่ยวง่าย และอายุการปลูกเพียง 4 เดือนก็ให้ผลผลิตแล้ว จากที่เราปลูกจากการเพาะเมล็ดต้องใช้เวลาถึง 6 เดือนกว่าจะเก็บเกี่ยวได้ และอาจกลายพันธุ์ด้วย" อนุพงษ์ กล่าว ท่ามกลางมะนาว มะละกอ และพืชสวนครัวที่เขาปลูกไว้สำหรับเก็บเกี่ยว เพื่อสร้างรายได้ในระหว่างที่รอมะนาวกับมะละกอกำลังหงอกงาม เขากลับประสบภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปลายปี 2554 ทำให้พืชผลเสียหายทั้งหมด แต่เขาไม่ได้ท้อใจ หลังน้ำลดจึงฮึดสู้ยกใหม่ ปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำสำหรับมะละกอกินผลสุก พันธุ์กลางดงสำหรับทำส้มดำ ล่าสุดเริ่มเพาะพันธุ์เรดเลดี้ นอกจากนั้นลงมะนาวแป้นอีก 200 ต้น ระหว่างนั้นได้ปลูกพืชสวนครัวไว้เก็บเกี่ยวขายในช่วงที่ไม้ผลยังไม่ออกผลผลิต อาทิ ชมจันทร์ ซึ่งเป็นพืชล้มลุกสามารถเกี่ยวขายได้วันละ 500-600 บาท มีแม่ค้ารับซื้อถึงที่ทุกวัน มีพริกขี้หนู กล้วย และอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สร้างรายได้ให้เขาอย่างน้อยวันละ 700-1,000 บาท สำหรับวิธีการตอนมะละกอ อนุพงษ์ บอกว่า จะเพาะมะละกอด้วยเมล็ดก่อน พอพบว่าต้นไหนมีผลดก ตามลักษณะของสายพันธุ์เดิม ก็จะตัดลำต้นให้สูงจากพื้นราว 80 ซม. ปล่อยอีก 2 เดือนมะละกอจะแตกกิ่งอีก 4 กิ่ง ก็จะตอนทันที คือเริ่มจากนำดิน 40% ผสมกุยมะพร้าว 60% หมักให้ชุ่มชื้น จากนั้นนำบรรจุถุงพลาสติกขนาดที่เหมาะสม มัดปากถุงไว้ หาไม้ไผ่มาฝานทำเป็นลิ่มขนาดเล็กกว่ากิ่งมะละกอที่จะตอนเล็กน้อย ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ใช้เลื่อยตัดกิ่งมะละกอแบบเฉียงขึ้นให้ลึกราว 2 ใน 3 ของกิ่งมะละกอ แล้วเอาลิ่มไปเสียบ นำกิ่งที่บรรจุถุงมาปาดตรงกลางเป็นแนวนอน ดันกิ่งมะละกอตรงที่เสียบลิ่มจมในดิน ใช้เชือกมัด ให้ดินติดกิ่งมะละกอเหมือนกับการตอนกิ่งไม้ทั่ว ปล่อยไป 30-35 วัน ตัดไปปลูกได้ และรออีก 120 วัน ต้นมะละกอสูงราว 2 ฟุตก็ออกผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้แล้ว สนใจวิธีการตอนมะละกอ อย่าลืมวันที่ 30 มีนาคม โต๊ะข่าวเกษตร "คม ชัด ลึก" จัดโครงการท่องโลกเกษตร ว่าด้วย "ตามหามะนาวพันธุ์ดี อนุพงษ์ ยินดีที่จะสอนวิธีตอนมะละกอให้ นอกจากนี้จะพาไปเรียนวิธีการเสียบกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นบนตอมะขวิด ที่สวนเพชรเกษตร จ.ปทุมธานี และดูกรรมวิธีตตอนกิ่งมะนาวที่สวนวโรชา จ.อ่างทองอีกด้วย สนใจสอบถามได้ที่ 0-2338-3356-7 รับจำนวนจำกัด
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สุพรรณบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันอังคาร ที่ 5 มีนาคม 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM