เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เลี้ยงไส้เดือนระบบคอนโดฯ ทำศูนย์เรียนรู้ต่อยอดผลิตปุ๋ย
   
ปัญหา :
 
 
ช่วงกระแสการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อผลิตปุ๋ยและอาหารสัตว์กำลังมาแรงเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ทำให้มีผู้ที่สนใจเลี้ยงไส้เดือนจำนวนมาก แต่เวลาผ่านไปเพียงไม่นานนัก มีผู้เลี้ยงไส้เดือนจำนวนไม่น้อยที่ต้องเลิกกันไป เนื่องจากประสบปัญหาด้านการตลาด แต่สำหรับ "ธีธัช บำรุงทรัพย์" เจ้าของ "ธีธัชฟาร์ม" ในหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ ซ.ประชาอุทิศ 91 ถ.ประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ ที่ใช้วิธีเลี้ยงไส้เดือนระบบคอนโด เอื้อสำหรับคนมีพื้นที่น้อย สามารถอยู่ได้ถึงวันนี้ และปัจจุบัน "ธีธัชฟาร์ม" กลายเป็นศูนย์เรียนในการเลี้ยงไส้เดือนครบวงจร นับตั้งแต่เริ่มการเลี้ยงจนถึงการแปรรูปทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ บรรจุถุงและน้ำหมักชีวภาพบรรจุขวด จนสามารถสร้างรายได้ให้ครอบครัวได้เป็นอย่างดี ธีธัช บอกว่า เดิมทีมีอาชีพเป็นวิศวกรโรงงานของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่ใจชอบอาชีพด้านการเกษตร จึงหาช่องทางเพื่อศึกษาว่าควรจะทำอะไรให้เป็นงานอดิเรก โดยไม่ต้องใช้พื้นที่มากนัก ในที่สุดตัดสินใจจะเลี้ยงไส้เดือน จึงไปฝึกอบรมการเลี้ยงไส้เดือนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งใจว่าจะทำเป็นอาชีพเสริม เพราะมองว่าการเลี้ยงไส้เดือนสามารถที่จะขายสายพันธุ์เพื่อจำหน่ายแล้ว ยังสามารถผลิตมูลไส้เดือนทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และผลิตน้ำหมักชีวภาพได้อีกด้วย จึงนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ไส้เดือนพันธุ์ไทเกอร์ หรือลายเสือสำหรับทำเป็นอาหารสัตว์ และไส้เดือนพันธุ์แอฟริกันไนท์ครอเลอร์ ซึ่งเป็นไส้เดือนเพื่อนำมูลทำเป็นปุ๋ย และน้ำหมักชีวภาพอย่างละ 8 ตัว มาถึงวันนี้ขยายพันธุ์นับจำนวนไม่ถ้วน หลังจากที่เลี้ยงได้ระยะหนึ่งเป็นช่วงจังหวะที่บริษัทที่ทำงานเปิดโอกาสให้ พนักงานเออร์ลี่ รีไทร์ จึงตัดสินใจร่วมโครงการเพราะรู้สึกอิ่มกับงานที่ทำอยู่ และหันมาเลี้ยงไส้เดือนอย่างจริงจัง โดยอาศัยบริเวณรอบบ้านเป็นที่เลี้ยง นอกจากนั้นได้ดัดแปลงวิธีเลี้ยงจากท่อซีเมนต์มาทำเป็นกระบะพลาสติกทำลิ้นชัก เรียงซ้อนกันคล้ายตู้เอกสาร โดยแต่ละชุดมี 4 ชั้น สามารถเลี้ยงไส้เดือนได้ 3,000 ตัว นอกจากนี้ยังเลี้ยงในกะละมังพลาสติก ส่วนในท่อซีเมนต์ก็ยังเลี้ยงเหมือนเดิม "ตอนนี้ผมเลี้ยงไส้เดือนครบวงจร เลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ โดยเฉลี่ยราคาตกที่กก.ละ 800-1,200 บาท เพราะไส้เดือนที่เลี้ยงไว้จะขยายพันธุ์เร็วมาก คือเลี้ยง 45 ขยายได้ถึง 10 เท่า แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน โดยไส้เดือนเลี้ยงไว้ 1 ท่อซีเมนต์เลี้ยงได้ 3 เดือนจะได้ปุ๋ยมูลไส้เดือน 10 กก.นำไปบรรจุถึงละ 1 กก.ขาย กก.ละ 50 บาท และผลิตน้ำหมักชีวภาพไส้เดือนขายลิตรละ 50 บาท นอกจากนี้ผมเปิดฟาร์มทำเป็นศูนย์เรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจจะเลี้ยงไส้เดือน สอนฟรีครับ ตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการแปรรูป เมื่อเรียนจบสนใจจะเลี้ยงไส้เดือนจะคิดค่าอุปกรณ์เลี้ยงระบบคอนโด 1 ชุด พร้อมบ้านหรืออาหารและพ่อพันธุ์แม่พันธุ์อีก 3,000 ตัวคิดเพียง 2,500 บาทเท่านั้น" ธีธัช กล่าว สำหรับวิธีการเลี้ยงไส้เดือนนั้น ธีธัช บอกว่า เริ่มจากสร้างบ่อหมัก จากนั้นสร้างบ้านไส้เดือนคือนำมูลวัวในอัตรา 1 ส่วน และเศษขยะที่เป็นเปลือกผลไม้ พืชผักอะไรก็ได้ยกเว้นเปลือกสับปะรดเนื่องจากมีรสเปรี้ยว ผสมกับเศษขยะแห้งจำพวกใบไม้ ขุยมะพร้าว ให้ได้ 1 ส่วน มาคลุกแล้วหมัก 1 เดือน ระหว่างนั้นให้รดน้ำพอชุ่มชื่น เมื่อได้แล้วใส่ในภาชนะที่จะเลี้ยงไม่ว่าจะเป็นในท่อซีเมนต์ กะละมังพลาสติกหรือกระบะพลาสติกสำหรับระบบคอนโดแล้วปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ไส้เดือนลงไป เมื่อครบ 3 เดือนจะเห็นปริมาณไส้เดือนหนาแน่นให้แยกไปเลี้ยงในที่อื่น ส่วนการทำปุ๋ยมูลไส้เดือนนั้น หลังจากที่เลี้ยงครบ 3 เดือน จะใช้วิธีแกล้งไส้เดือน คืองดให้น้ำ ทำให้ไส้เดือนขับเมือกออกมา ผสมกับมูลไส้เดือนที่กองบนผิวพื้นที่ เป็นมีลักษณะกองเตี้ยๆ มีเม็ดเป็นท่อนสั้นๆ นำมาตากแห้งทำเป็นปุ๋ยได้ขายในราคา กก.ละ 50 บาท หากต้องการทำเป็นน้ำหมักชีวภาพให้เอามูลแช่น้ำ 1 คืนให้ขับเมือกและมูลมาผสมน้ำแล้วกรองบรรจุขวดสามารถขายได้ลิตรละ 50 บาท สนใจเรียนรู้การเลี้ยงไส้เดือนเพื่อใช้ในธุรกิจ ปรึกษาได้ที่ธีธัชฟาร์ม เบอร์โทร.08-9827-2715
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันพฤหัส ที่ 7 มีนาคม 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM