เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ทีมนักวิจัย กรมประมง เพาะพันธุ์ “ปลาใบมีดโกน” สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศ
   
ปัญหา :
 
 
เมื่อนึกถึงปลาสวยงามในทะเล คนส่วนใหญ่จะนึกถึงปลาที่มีสีสันสดใส สวยงาม น่ารัก หรือปลาที่มีลักษณะแปลกๆ ยิ่งสีสันสวยงามมากแค่ไหน รูปร่างท่าทางในการดำรงชีวิตแปลกตาไปเท่าไหร่ ก็ดูจะกลายเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่ต้องการของผู้ที่คลั่งไคล้ตู้ทะเลจำลองเป็นอย่างมาก จนทำให้ปลาบางชนิดตามธรรมชาติลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากถูกจับขึ้นมาจากธรรมชาติ และ “ปลาใบมีดโกน” ก็ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นเช่นกัน ปลาใบมีดโกน หรือ ปลาข้างใส มีชื่อภาษาอังกฤษว่า razorfish หรือ shrimpfish มีลักษณะเด่นที่รูปร่างและวิธีการว่ายน้ำ รูปร่างบางเฉียบ ปากเรียวแหลม และเกล็ดพัฒนาเหมือนเกราะบางใสหุ้มตัว ว่ายน้ำหัวทิ่มลง ลำตัวตั้งฉากกับพื้นตลอดเวลา หาง จะมีลักษณะแหลมเหมือนมีกระดูกเล็กๆ ชี้ขึ้นข้างบน คล้ายๆ ส่วนหางของใบมีดโกนที่ช่างตัดผมสมัยโบราณใช้นิ้วเกี่ยวไว้เวลาใช้งาน ความยาวประมาณ 12 เซนติเมตร ปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกใส ส่วนครีบหลัง จะมี 2 อัน และอยู่ในแนวราบ หางกลมมน ปากเรียวแหลม บางชนิดลำตัวใส บางชนิดมีแถบคาดตามยาวสีดำ และด้วยร่างกายที่บอบบางของปลาชนิดนี้เอง ทำให้ไม่สามารถต่อสู้ป้องกันตัวได้ ปลาชนิดนี้จึงต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง และอาศัยหนามของเม่นทะเลเป็นเกาะป้องกันตัว ด้วยเหตุนี้เองตามแนวปะการังที่มีเม่นทะเลจึงมักพบปลาใบมีดโกนว่ายน้ำหันเอาหัวปักลงอยู่ระหว่างหนามของเม่นทะเล เพราะไม่มีปลาผู้ล่าที่ชอบเข้าไปใกล้หนามของเม่นทะเลนั่นเอง ดร. วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า การที่ปลาใบมีดโกนมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แปลกตาน่าสนใจ จึงถูกจับจากธรรมชาติมาจัดแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสาธารณะ และเลี้ยงในตู้ของนักนิยมสัตว์น้ำสวยงาม ส่งผลให้จำนวนประชากรปลาใบมีดโกนในธรรมชาติมีแนวโน้มลดลง อีกทั้งมีความเป็นไปได้ว่า ปลาที่จับมาจากธรรมชาติมักจะบอบช้ำระหว่างการจับ ทำให้เมื่อถึงมือผู้ซื้อมีรูปร่างไม่สมบูรณ์และการเลี้ยงดูที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ต้องการอาหารมีชีวิต จึงทำให้ปลาชนิดนี้ตายง่าย จนผู้เลี้ยงหลายรายต้องถอดใจและเลิกเลี้ยงปลาชนิดนี้ จากปัญหาดังกล่าวนี้ ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร กรมประมง ได้ศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้ จนถึงระยะเหมือนตัวเต็มวัยได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย นางสาววารินทร์ ธนาสมหวัง ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางศูนย์ได้ศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาใบมีดโกนให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียนด้วยวิธีการผลิตลูกปลาในโรงเพาะฟัก และการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ของศูนย์สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้นิยมสัตว์น้ำสวยงามนำไปใช้เป็นแบบอย่าง เพื่อลดการสูญเสียปลาที่เลี้ยงไว้ เรียกได้ว่าปลาที่ได้มาจากการเพาะที่ศูนย์เลี้ยงง่าย แข็งแรง ที่สำคัญไม่ทำลายระบบนิเวศของท้องทะเลอีกด้วย ขั้นตอนการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ทีมนักวิจัยของศูนย์จะเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน ประกอบด้วยถังไฟเบอร์ทรงกลม ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ถังกรองชีวภาพ และโปรตีนสกิมเมอร์ อาหารจะให้วันละครั้งด้วยเคยฝูง (Lucifer) เสริมด้วยอาร์ทีเมียตัวเต็มวัยมีชีวิต ความเค็มน้ำ 30 ส่วน ใน 1,000 ปลาวัยเจริญพันธุ์นั้นจะมีขนาดเฉลี่ย 11.68+0.556 เซนติเมตร มักวางไข่เป็นฝูงช่วงเวลา 18.00-22.00 น. การรวบรวมไข่ปลาใบมีดโกนนั้น จะใช้กระชังผ้าโอล่อนแก้วกรองน้ำที่ทางน้ำล้น แยกไข่ปลาออกแล้วนำมาฟักในตู้กระจก ไข่มีลักษณะกลมใส ครึ่งจมครึ่งลอย ใช้ระยะเวลาในการฟักออกเป็นตัว 1 วัน ซึ่งปริมาณไข่ที่วางในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน โดยค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 460±87.43 ฟอง อัตราการฟักของไข่ที่ได้รับการผสมอยู่ระหว่าง 83.134±1.873 เปอร์เซ็นต์ลูกปลาแรกฟักมีขนาด 2.507±0.031 มิลลิเมตร สำหรับการอนุบาลลูกปลานั้น จะอนุบาลลูกปลาในถังไฟเบอร์ทรงกลม ขนาด 2 ลูกบาศก์เมตร ให้อาหารวันละครั้ง ด้วยแพลงก์ตอนพืช โรติเฟอร์ โคพีพอด และอาร์ทีเมียแรกฟัก ที่ความเค็มน้ำ 28+2 ส่วน ใน 1,000 และมีการควบคุมคุณภาพน้ำให้มีค่าอัลคาไลน์ อยู่ระหว่าง 130-150 มิลลิกรัม ต่อลิตร ลูกปลาจะเริ่มกินโคพีพอดได้เมื่ออายุ 1 วัน กินอาร์ทีเมียแรกฟักร่วมกับโคพีพอดได้เมื่ออายุ 10 วัน และเมื่อลูกปลาอายุ 15 วัน จะเริ่มมีพฤติกรรมการรวมฝูงและพัฒนารูปร่างเป็นปลาตัวเต็มวัย ในระยะเวลา 25 วัน อธิบดีกรมประมง กล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากกรมประมงจะเพาะพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้แล้ว ขณะนี้ได้เตรียมเผยแพร่ความรู้ในการเพาะพันธุ์ปลาใบมีดโกนให้กับเกษตรกรผู้สนใจ เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร สำหรับผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง โทร. (034) 857-136 หรือ (034) 426-220 “ปลาใบมีดโกน” นับว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการที่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้ แน่นอนว่านอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแนวปะการัง ยังถือเป็นการเพิ่มความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำให้กับตลาดปลาสวยงามทะเลได้อีกทางหนึ่งด้วย
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สมุทรสาคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM