เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การใช้ สาหร่ายทะเล เพื่อการบำบัดน้ำทิ้ง จากการเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย
   
ปัญหา :
 
 
สาหร่าย ตรงกับภาษาอังกฤษว่า algae และภาษากรีก ว่า phykos หมายถึง สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เป็นพืชชั้นต่ำที่มีขนาดตั้งแต่เล็กมากมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ต้องมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (ยุวดี, 2549) ส่วนใหญ่จะมีคลอโรฟิลล์ช่วยในการสังเคราะห์แสง เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นมาประมาณ 4,500 ล้านปีแล้ว ดำรงชีวิตด้วยการสร้างอาหารเช่นเดียวกับพืชชั้นสูงทั่วไป สาหร่าย เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายกลุ่ม พบแพร่กระจายทั่วไปตามธรรมชาติ สามารถมีชีวิตได้ทั้งในแหล่งน้ำจืด ซึ่งอาศัยอยู่ได้ทั้งในแหล่งน้ำนิ่ง แหล่งน้ำไหล น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ซึ่งเป็นสาหร่ายที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทะเลและมหาสมุทร นอกจากนี้ ยังพบสาหร่ายได้ทุกหนทุกแห่งที่มีความชื้น เช่น ในดิน หิมะ หรือในน้ำพุร้อน สำหรับ สาหร่ายทะเล (seaweeds, marine algae) เป็นพืชชั้นต่ำชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทะเล (grass of the sea) สามารถขึ้นได้ในแหล่งน้ำกร่อย หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศวิทยา (ecosystem) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในฐานะผู้ผลิตหรือผู้สร้างอาหาร เป็นหน่วยแรกของห่วงโซ่อาหาร จัดเป็นทรัพยากรจากทะเลที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นทรัพยากรประมงอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในประเทศไทยนอกจากมีการนำสาหร่ายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาเป็นอาหารของคน อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ใช้ผลิตแก๊สเชื้อเพลิง และใช้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมและการค้าแล้ว ยังมีการนำสาหร่ายทะเลบางชนิดมาใช้เพื่อการบำบัดน้ำทิ้งจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง ปลา หรือหอย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ การบำบัดน้ำทิ้ง จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาหร่ายทะเล เป็นพืชชั้นต่ำอีกชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพในการนำมาบำบัดน้ำจากการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีขึ้นและส่งผลให้สาหร่ายมีการเจริญเติบโตเนื่องจากสารอาหารในน้ำทิ้งนั่นเอง ในประเทศไทยมีการศึกษาการเลี้ยงสาหร่ายวุ้นสีแดง ในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งพบว่าสามารถลดสารอาหารในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งได้ และจากการศึกษาพบว่า สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpe lentillifera)ที่เลี้ยงด้วยน้ำทิ้ง จากการเลี้ยงกุ้งผสมด้วยน้ำทะเลธรรมชาติ จะมีอัตราการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยรวมดีกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงด้วยน้ำทะเลธรรมชาติเพียงอย่างเดียว อีกทั้งคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงสาหร่าย ภายหลังจากที่นำสาหร่ายลงเลี้ยง ก็พบว่ามีคุณภาพดีขึ้นกว่าก่อนที่จะนำสาหร่ายมาเลี้ยง นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ผลผลิตของสาหร่ายผักกาดทะเล Ulvarigida ที่เลี้ยงในบ่อหอยหวาน ซึ่งมีปริมาณไนเตรตสูงกว่าบ่อเลี้ยงอื่น ให้ผลผลิตของสาหร่ายดังกล่าวสูงกว่าบ่อเลี้ยงอื่นๆ จากการทดลอง ใช้สาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheries) ลดปริมาณแอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้ง โดยเลี้ยงสาหร่ายที่ความหนาแน่น 0 (ชุดควบคุม), 0.25, 0.5, และ 1 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร ผลปรากฏว่า สาหร่ายที่เลี้ยงที่ความหนาแน่น 1 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร สามารถลดปริมาณความเข้มข้นของแอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และฟอสฟอรัสในน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ได้ทดลองเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpe lentillifera) ในถังไฟเบอร์กลาส โดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมน้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลา ผลปรากฏว่า สาหร่ายที่เลี้ยงในถังไฟเบอร์กลาสโดยใช้น้ำทะเลธรรมชาติผสมน้ำทิ้งจากการเลี้ยงปลา มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวันสูงกว่าสาหร่ายที่เลี้ยงโดยใช้น้ำทะเลเพียงอย่างเดียว ยังมีการทดลองเลี้ยง หอยเป๋าฮื้อ ด้วยสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) และสาหร่ายผมนาง (Gracilaria fisheries) ซึ่งหอยที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตดีและมีอัตราการรอดตายต่ำ แต่ต้องเก็บรวบรวมจากสาหร่ายดังกล่าวในธรรมชาติและไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงได้นำสาหร่ายทั้ง 2 ชนิด มาประยุกต์ใช้ ในการบำบัดน้ำทางชีวภาพ ช่วยในการบำบัดน้ำทิ้ง จากการเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพดีขึ้น และเป็นอีกทางหนึ่งเพื่อเพิ่มผลผลิตสาหร่ายให้มากเพียงพอต่อเกษตรกรที่จะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อในอนาคตต่อไป นอกจากนี้ มีการทดลองเลี้ยงสาหร่ายเขากวาง (Gracilariaedulis) และสาหร่ายมงกุฎหนาม (Acanthophora spicifera) ในบ่อบำบัดน้ำทิ้งโรงเพาะอนุบาลสัตว์น้ำของสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดตราด ด้วยวิธีการแขวนในบ่อ โดยใช้สาหร่ายบรรจุในถุงที่ทำด้วยเนื้ออวน พบว่า อัตราการเจริญเติบโตน้ำหนักเป็นกรัมต่อวัน ของสาหร่ายเขากวาง และสาหร่ายมงกุฎหนาม ในช่วง 81 วัน มีค่า 20.98 และ 17.89 ตามลำดับ นอกจากนี้ หลังจากการเลี้ยงสาหร่ายในบ่อบำบัดน้ำทิ้งแล้ว คุณภาพน้ำดีขึ้นจากเดิมมาก โดยสามารถลดปริมาณความเข้มข้นของแอมโมเนีย ไนไตรต์ ไนเตรต และ บีโอดี (BOD.) จากประโยชน์ของสาหร่ายทะเลข้างต้น จะเห็นว่า มีศักยภาพเพื่อการนำมาบำบัดน้ำทิ้งจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งนอกจากเป็นการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการบำบัดน้ำ อันหมายถึงเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงสัตว์น้ำแล้ว ยังเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมให้อยู่อย่างยั่งยืนต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM