เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
“กาบหอยแครง” บานก็เงิน หุบก็เงิน
   
ปัญหา :
 
 
กาบหอยแครง เป็นที่รู้จักในนามพืชกินแมลงที่มีลีลาการดักจับแมลงเร้าใจไม่แพ้หม้อข้าวหม้อแกงลิง ปัจจุบันกาบหอยแครงได้นำมาพัฒนาสายพันธุ์จนเกิดความแตกต่างที่ชัดเจน ทั้งรูปร่าง สีสันจนสามารถนำมาเพาะขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณทำเป็นธุรกิจปลูกจำหน่ายส่งขายให้กับร้านต้นไม้และกลุ่มเยาวชนที่ชอบกาบหอยที่หุบกินแมลงต่อหน้าต่อตา
วิธีแก้ไข :
 
คุณปฐมะ ตั้งประดิษฐ์ ผู้ที่รักการปลูกต้นไม้ตั้งแต่สมัยเรียนมัธยมเป็นคนหนึ่งที่หันมาสนใจศึกษาการปลูกเลี้ยงกาบหอยแครง จึงหันมาปลูกและเก็บสะสมไปพร้อมกับการเรียนรู้วิธีการปลูกไปจนถึงการดูแล ในที่สุดก็สามารถเพาะขยายจำหน่ายสร้างรายได้ระหว่างที่เรียนได้ถึงเดือนละ 50,000 บาทในช่วงเริ่มต้น คุณปฐมะ เล่าให้ฟังว่า ในสมัยเรียนเป็นคนที่ชอบปลูกต้นไม้ เคยปลูกกระบองเพชร จำหน่ายและส่งเข้าประกวดมาหลายเวที มีรางวัลการันตรีมากมาย พอเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ก็ได้รู้จักกับพืชกินแมลงอย่างกาบหอยแครงและหม้อข้าวหม้อแกงลิง เลยเกิดความสนใจในความแปลกที่ไม้ชนิดอื่นๆไม่สามารถทำได้ อีกทั้งในช่วงนั้นยังไม่มีแพร่หลายมากนัก เริ่มจากสนใจ ทดลองเพาะเลี้ยง ออกร้านจำหน่าย สร้างรายได้ระหว่างเรียน ด้วยจุดเด่นของพืชกินแมลง ทั้งหม้อข้าวหม้อแกงลิง และกาบหอยแครง คุณปฐมะจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจกับพืชกินแมลง โดยลงทุนกับเพื่อนและน้องที่รู้จัก ทดลองปลูกจำหน่ายในงานเกษตรแฟร์และงานไม้ดอกไม้ประดับที่จัดขึ้นทุกปี ซึ่งช่วงแรกจะมีหม้อข้าวหม้อแกงลิงจำหน่ายก่อนและตามด้วยพืชกินแมลงตัวอื่นๆ ซึ่งรวมถึงกาบหอยแครงพันธุ์ทิปิคอลและพันธุ์ก้านยาว “ช่วงแรกๆผมเน้นปลูกหม้อข้าวหมอแกงลิงเป็นหลัก ส่วนตัวกาบหอยแครงเริ่มมาปลูกระยะหลัง ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อในถาดหลุม ซึ่งวิธีการนี้เป็นการขยายพันธุ์ที่มีอัตราการรอดชัวร์กว่าวิธีอื่นๆอีกทั้งยังได้ปริมาณต้นที่มากกว่า หลังจากต้นพันธุ์มีอายุครบ 2-3 เดือนผมจะทำการแยกกาบหอยแครงมาปลูกลงกระถางซึ่งจะใช้เครื่องปลูกหรือวัสดุที่ระบายน้ำได้ดี อย่างขุยมะพร้าวและกาบมะพร้าวสับหยาบผสมกับทรายแม่น้ำเป็นเครื่องปลูกแทนดิน เพราะกาบหอยแครงเป็นพืชที่ต้องการเครื่องปลูกที่ไม่มีแร่ธาตุและระบบระบายน้ำต้องดี” คุณปฐมะกล่าว เมื่อแยกต้นกาบหอยแครลงกระถางแล้ว คุณปฐมะจะนำออกไปตั้งไว้กลางแดด เนื่องจาก ในช่วงนั้นกาบหอยแครงกำลังเจริญเติบโตจำเป็นต้องให้กาบหอยแครงได้รับแสงแดดเต็มที่ทั้งวัน โดยแสงแดดที่ได้จะต้องเป็นแสงตรงไม่กรอง แต่เนื่องจากบ้าเราแสงแดดจ้าโดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนอาจจะส่งผลทำให้กาบหอยแครงทนความร้อนไม่ไหว ดังนั้นอาจจะต้องใช้ตาข่ายบางๆ ที่กรองแสงได้ 20 เปอร์เซ็นต์ ช่วยกรองแสงเพื่อลดความร้อนช่วย ส่วนการบำรุงต้นคุณปฐมะจะใส่ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 15-15-15 เพียงครั้งเดียว เพราะหากใส่มากไป ปุ๋ยจะไปเลี้ยงต้นและใบหมด จะทำให้ต้นไม่ออกกาบออกมาให้เห็น คุณปฐมะ กล่าวต่อว่า อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้เพาะเลี้ยงต้องรู้ คือ การให้น้ำ เนื่องจากวัสดุปลูกระบายได้น้ำดี จำเป็นต้องระวังอย่างให้วัสดุที่ใช้ปลูกแห้งโดยเด็ดขาด แต่ก็ไม่ควรให้แฉะ เพราะหากมีน้ำมากเกินไปอาจจระทำให้รากจะเน่าง่ายมาก ดังนั้นหากใครไม่มีเวลา คุณปฐมะแนะนำว่า การให้น้ำควรจะใช้จานรองแล้วใส่น้ำให้มีระดับสูงจากก้นกระถาง 1-1.5 นิ้ว ขึ้นกับความสูงของกระถาง แต่อย่าให้สูงเกินหนึ่งในสี่ของกระถางเพียงเท่านี้ต้นก็จะดูน้ำขึ้นไปเลี้ยงลำต้น และเมื่อน้ำระเหยจนเกือบหมดก็ค่อยเติมน้ำใหม่ลงไป ซึ่งการให้น้ำวิธีนี้จะช่วยไม่ให้ต้นเน่าและเกิดโรค สำหรับราคาจำหน่ายมีตั้งแต่ราคา 20 บาท ไปจนถึงหลัก 500 บาท ขึ้นอยู่กับ ขนาดทรงต้น สายพันธุ์และปริมาณที่มีในท้องตลาด ซึ่งสามารถหาชื้อได้ทางอินเตอร์เน็ต(www.exoflora@msn.com.net) งานแสดงและการออกร้านตามงานต่างๆ(งานเกษตรแฟร์ งานไม้ดอกไม้ประดับฯลฯ ) ซึ่งแต่ละเดือนจะออกจำหน่ายประมาณ 1-2 ครั้ง แต่บางเดือนก็ออกมากถึง 8 ครั้ง โดยมียอดขายเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 300,000บาท หลายคนเห็นตัวเลขรายได้แล้ว คงอยากทำเป็นธุรกิจ เด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้ แต่ก่อนจะลงมือทำ คุณปฐมะแนะนำว่า ควรจะศึกษาเรื่องของสายพันธุ์ และวิธีการเลี้ยง ซึ่งปัจจุบันมีให้ศึกษาในอินเตอร์เน็ตและหนังสือต่างๆมากมาย นอกจากผลิตจำหน่ายแล้ว คุณปฐม ยังเปิดสวนให้คนเข้ามาลองฝึกขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ แยกหน่อ หรือเพาะเมล็ดที่สวนฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งใครที่สนใจก็รีบๆกันนะครับ เพราะได้ข่าวมาว่าอีกไม่นานนี้พี่เค้าจะไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่น กว่าจะกลับมาสอนก็อีกหลายปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปฐมะ ตั้งประดิษฐ์ โทรศัพท์ 08 6928 8866
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM