เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
บันทึกไว้เป็นเกียรติ/มะม่วงแปลก และหายาก ที่น่าปลูกในอนาคต
   
ปัญหา :
 
 
ไต้หวันปลูกมะม่วงพันธุ์เออร์วินเพื่อการส่งออก คนไต้หวันเรียกมะม่วงพันธุ์เออร์วินว่า “อ้ายเหวิน” และเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ไต้หวันมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในปัจจุบันนี้ ในปัจจุบันนี้พื้นที่ปลูกมะม่วงเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะปลูกพันธุ์น้ำดอกไม้เกือบ 100% เนื่องจากเป็นมะม่วงที่มีการส่งออกมากที่สุด เริ่มจากส่งออกไปญี่ปุ่นประเทศเดียว ต่อมามีการขยายการส่งออกไปยังอีกหลายประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และบางประเทศในยุโรป สำหรับตลาดในประเทศไทยพฤติกรรมการบริโภคมะม่วงในตลาดเมืองใหญ่ๆ ที่มีกำลังซื้อสูงมะม่วงต่างประเทศที่มีขนาดผลใหญ่ รสชาติอร่อย ไม่มีกลิ่นเหม็นขี้ไต้ ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับและขายได้ราคาดี ดังนั้นมะม่วงสายพันธุ์ต่างประเทศแปลกและหายากจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปลูกมะม่วงในอนาคต มะม่วงลูกผสม “ไต้หวัน T1” ในแปลงปลูกมะม่วงของศูนย์ปรับปรุงพันธุ์ไม้ผลเมืองไทนัน เกาะไต้หวัน มีการพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงให้สีผิวมีสีแดงมากขึ้น มีพันธุ์มะม่วงลูกผสมพันธุ์ใหม่หลายสายพันธุ์ มะม่วงลูกผสมพันธุ์ใหม่บางสายพันธุ์ของศูนย์ฯ แห่งนี้ ได้ปรับปรุงพันธุ์ให้ผลมีสีแดงออกม่วงตั้งแต่ระยะผลอ่อน ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรได้ยอดมะม่วงพันธุ์ลูกผสมพันธุ์ใหม่จากแปลงทดลองของศูนย์ฯ แห่งนี้ มาหลายสายพันธุ์ และเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยได้นำยอดพันธุ์มะม่วงเหล่านั้นมาเสียบฝากไว้กับต้นมะม่วง R2E2 เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี มะม่วงลูกผสมของไต้หวันหลายสายพันธุ์ได้เจริญเติบโตและพร้อมที่จะให้ผลผลิต โดยหนึ่งในนั้นทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ตั้งชื่อมะม่วงลูกผสมว่า T1 (T ย่อมาจาก Taiwan) ฤดูกาลที่ผ่านมามะม่วง T1 ได้มีการออกดอกและติดผล สิ่งที่สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าในระยะที่ผลมะม่วง T1 มีการติดผลเท่ากับนิ้วก้อย ผิวที่ผลจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีม่วงแดง เมื่อผลมีขนาดใหญ่ขึ้นสีของผิวจะออกสีม่วงเข้มขึ้น และเมื่อผลแก่จะมีสีม่วง ทั้งผล มีน้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5 – 2 กิโลกรัม จัดเป็นมะม่วงกินสุกที่รสชาติอร่อย เนื้อมีสีเหลืองละเอียดเนียน ไม่มีเสี้ยน มะม่วงพันธุ์ T1 (TAIWAN เบอร์ 1) เมื่อผลแก่และนำมาวางขายด้วยผิวผลที่มีสีม่วงเข้มจะดึงดูดผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี และคาดว่าจะเป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่มีชาวสวนมะม่วงไทยขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้นในอนาคต ปัจจุบันทางแผนกฟาร์มของชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ขยายพื้นที่ปลูกมะม่วง T1 มากขึ้น ด้วยมั่นใจว่าปลูกและสามารถบังคับให้ออกนอกฤดูได้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการบริโภคมะม่วงในประเทศไทย “ไข่มุกแดง” มะม่วงยักษ์พันธุ์ใหม่ที่มีน้ำหนักผลถึง 3 กิโลกรัม ขณะนี้ไต้หวันได้เริ่มมีการเผยแพร่มะม่วงพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า “พันธุ์หงจู” หรือถ้าแปลและเรียกชื่อเป็นภาษาไทยมีชื่อว่า “พันธุ์ไข่มุกแดง” เป็นมะม่วงประเภทกินสุกเหมือนกับพันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6 และเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดผลใหญ่มาก มีน้ำหนักผลเฉลี่ยตั้งแต่ 1,500-3,000 กิโลกรัม ลักษณะผลทรงกลมใหญ่เมื่อสุกเนื้อละเอียดเนียน รสชาติหวาน โดยผิวผลมีสีแดงเข้ม สีสวยมาก และกำลังได้รับนิยมปลูกแพร่หลายมากขึ้น มีการปรับปรุงมะม่วงสายพันธุ์นี้และส่งเสริมเผยแพร่ให้เกษตรกรไต้หวันปลูกมานานประมาณ 5 ปี เกษตรกรไต้หวันเริ่มขยายพื้นที่ปลูกกันมากขึ้น เพราะตลาดมีความต้องการมะม่วงสายพันธุ์นี้มากขึ้น ซึ่ง ทางชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร ได้ซื้อผลมะม่วงพันธุ์ไข่มุกแดงดิบกลับมาประเทศไทย และนำมาบ่มให้สุกและรับประทาน ผลปรากฏว่า มีรสชาติหวานและมีเนื้อละเอียดเนียน ที่สำคัญจัดเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่เมล็ดลีบ เนื้อเยอะมาก ปัจจุบันเกษตรกรไต้หวันนำยอดมะม่วงพันธุ์ไข่มุกแดงไปเสียบฝากท้องต้นมะม่วงอ้ายเหวินกันมากขึ้น มะม่วงไต้หวันพันธุ์ “พันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6” มะม่วงพันธุ์ “พันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6” มีถิ่นกำเนิดที่ไต้หวันและเป็นมะม่วงลูกผสมระหว่างพันธุ์ “จินหวง”กับมะม่วงพันธุ์ “อ้ายเหวิน” (มะม่วงอ้ายเหวิน เป็นมะม่วงสายพันธุ์เดียวกับ พันธุ์เออร์วิน) มะม่วงลูกผสม “พันธุ์อี้เหวิน เบอร์ 6” สายพันธุ์นี้ได้มีการนำยอดพันธุ์มาเสียบยอดในประเทศไทยประมาณ 4-5 ปีมาแล้ว ได้นำมาเผยแพร่ให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกเนื่องจากต้นพันธุ์ที่ปลูกในสวนได้เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลปรากฏว่าเป็นมะม่วงที่มีลักษณะเด่นและรสชาติดี คือ มีผลขนาดใหญ่ น้ำหนักผลเฉลี่ย 1-1.5 กิโลกรัม บริโภคได้ทั้งดิบและสุก ในระยะผลดิบหรือห่ามจะมีรสชาติหวานมัน (ไม่มีเปรี้ยวปน) ระยะผลสุกเนื้อจะมีรสชาติหวานหอม, ไม่เละ, ไม่มีเสี้ยนและไม่มีกลิ่นขี้ไต้ ที่สำคัญสีของผลมีสีม่วงดึงดูดใจแก่ผู้พบเห็นจัดเป็นมะม่วงแปลกและหายากปลูกและให้ผลผลิตได้ในประเทศไทย มะม่วงพันธุ์ อี้เหวินเบอร์ 6 เป็นมะม่วงอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ปลูกง่ายและเริ่มให้ผลผลิตเมื่อต้นมีอายุเฉลี่ยได้ 3-4 ปี จากการสังเกตพบว่าออกดอกและติดผลดีทุกปี พันธุ์ “จินหวง” และ พันธุ์ “อ้ายเหวิน” ประวัติความเป็นมาของการปลูกมะม่วงของไต้หวันเริ่มจากมีการนำพันธุ์มะม่วงจากประเทศเนเธอร์แลนด์มาปลูกเป็นครั้งแรก(แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่านำเข้ามาในปีใด) ต่อมาในปี 2508 ไต้หวันได้มีการนำพันธุ์มะม่วงจากสหรัฐอเมริกาจำนวน 100 ต้นมาปลูกทางภาคใต้ของไต้หวัน ผลปรากฏว่าต้นมะม่วงตายไป 96 ต้น เหลือรอดตายเพียง 4 ต้นเท่านั้น(ซึ่งมีพันธุ์เออร์วินรอดตายด้วย) เนื่องจากต้นมะม่วงปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่หนาวเย็นของไต้หวันไม่ได้ ตั้งแต่นั้นมาไต้หวันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์มะม่วงจนปัจจุบันและปลูกในเชิงพาณิชย์อยู่ 2 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ “จินหวง” และ พันธุ์ “อ้ายเหวิน” ซึ่งเป็นพันธุ์เดียวกับ พันธุ์เออร์วิน ไต้หวันปลูกมะม่วงพันธุ์เออร์วินเพื่อการส่งออก คนไต้หวันเรียกมะม่วงพันธุ์เออร์วินว่า “อ้ายเหวิน” และเป็นสายพันธุ์มะม่วงที่ไต้หวันมีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่ถูกใจคนญี่ปุ่นและส่งออกไปขายญี่ปุ่นมากที่สุดในช่วงเดือนมิถุนายน- สิงหาคม ของทุกปีผลผลิตจะออกมากในช่วงเดือนกรกฎาคม มะม่วงสายพันธุ์นี้จัดเป็นมะม่วงที่มีผลขนาดปานกลางความยาวของผลประมาณ 12 เซนติเมตร น้ำหนัก 300 กรัมต่อผลโดยประมาณ รูปร่างค่อนข้างยาวรีหรือรูปไข่ ติดผลดกมาก ระยะผลดิบจะมีจุดปะสีแดงบริเวณไหล่และแก้มผลผิวผลสุกมีสีแดงปะสีเลือดนก จัดเป็นมะม่วงกินสุกเมื่อสุกเนื้อมีสีเหลืองทอง ไม่มีเสี้ยน กลิ่นไม่แรง รสชาติหวาน ความจริงแล้วมะม่วงพันธุ์เออร์วินนิยมบริโภคกันทั่วโลก ในส่วนของมะม่วงพันธุ์ “จินหวง”นั้น ก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่ามะม่วงพันธุ์จินหวงเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวันและได้มีการนำพันธุ์มาปลูกในประเทศไทย โดย รองศาสตราจารย์ ฉลองชัย แบบประเสริฐ บอกว่า มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ได้มะม่วงพันธุ์จินหวง ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากไต้หวัน ลักษณะทรงผลกลมยาว ก้นผลงอนและค่อนข้างแหลม ผลมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักผลประมาณ 600-1,300 กรัมต่อผล ประกอบด้วยเนื้อประมาณ 83 % รับประทานได้ทั้งดิบและสุก เมื่อผลแก่จัดจะมีรสชาติมัน และเมื่อผลสุกสีของผลจะมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานและได้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า “พันธุ์นวลคำ” ต่อมาได้มีการนำมะม่วงสายพันธุ์นี้มาปลูกในสภาพพื้นที่ราบของประเทศไทยทำให้ผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวได้ก่อนบนพื้นที่สูงและได้มีการตั้งชื่อสายพันธุ์ใหม่อีกหลายชื่อ....
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM