เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
มารู้จัก ถั่วหรั่ง อีกสักครั้งเถอะ
   
ปัญหา :
 
 
สนใจการปลูก ถั่วหรั่ง ขอเรียนถามว่า จะหาพันธุ์ปลูกได้จากที่ไหน วิธีปลูก ตลอดทั้งการดูแลรักษาไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวนั้น เขาปฏิบัติกันอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
ถั่วหรั่ง หรือ แบมบาร์ร่า กราวนด์นัท ลักษณะการเจริญเติบโตคล้ายกับถั่วลิสง คือ เมื่อผสมเกสรแล้ว ต้นถั่วจะสร้างเข็มนำตัวอ่อนแทงลงดินและเติบโตอยู่ใต้ดิน ดังนั้น ดินปลูกจึงควรเป็นดินร่วน ในแถบจังหวัดภาคใต้มีชื่อเรียกถั่วหรั่งหลายชื่อ ถั่วบู ถั่วโบ กาแจโบ ถั่วปันหยี และถั่วไทร ถั่วหรั่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์ ไปจนถึงทางตอนเหนือของไนจีเรีย และแคเมอรูน ปัจจุบันแพร่กระจายเข้าไปยังหมู่เกาะมาดากัสการ์ อินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และภาคใต้ของประเทศไทย เชื่อว่าประเทศไทยนำมาปลูกทางภาคใต้นานกว่า 200 ปีแล้ว ปัจจุบัน เกษตรกรในภาคใต้นิยมปลูกแซมในสวนยางปลูกใหม่ ที่ต้นยางยังมีขนาดเล็กอยู่ พันธุ์ถั่วหรั่ง กรมวิชาการเกษตร แนะนำให้ปลูกถั่วหรั่งพันธุ์ สงขลา 1 ข้อดี คือ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมืองถึง 32 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง เปลือกฝักถั่วสีขาวนวล ใน 1 ฝัก มี 1 เมล็ด สีแดง ผลเฉลี่ยทั้งฝัก 800 กิโลกรัม ต่อไร่ วิธีปลูก เตรียมดินให้ร่วนซุย กำจัดวัชพืชออกจากแปลงให้สะอาด ใช้ระยะปลูก 60x60 เซนติเมตร ขุดหลุมตื้นๆ รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า 2-3 กระป๋องนม เกลี่ยดินกลบเล็กน้อย แล้วหยอดเมล็ด 2 เมล็ด ต่อหลุม เมื่อเมล็ดงอกแล้ว ถอนให้เหลือต้นที่แข็งแรงเพียงต้นเดียว พร้อมใส่ปุ๋ย สูตร 12-24-12 อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่ โรยข้างแถวและเกลี่ยกลบดิน ช่วงปลูกที่ดีควรเป็นต้นฤดูฝน หมั่นกำจัดวัชพืช เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุครบ 110-120 วัน นับจากดอกบาน ถั่วหรั่งใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง แต่ที่นิยมที่สุดคือ แกงมัสหมั่น โรคสำคัญที่พบการระบาดเสมอคือ โรคใบไหม้ เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราชนิดหนึ่ง การระบาดที่รุนแรงมักเกิดในช่วงที่มีน้ำค้างและหมอกลงจัด ให้ใช้ไตรไซคลาโซล 75 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี อัตรา 15 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือ ไอโซโปรไธโอเลน 40 เปอร์เซ็นต์ อี.ซี. ต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน การระบาดของโลกไหม้จะลดความรุนแรงลง วิธีเก็บเกี่ยวทำเช่นเดียวกับเก็บเกี่ยวถั่วลิสง คือใช้จอบหรือเสียมสับลงดินใกล้ๆ ต้นถั่ว งัดเบาๆ แล้วใช้มือถอนขึ้นมาพร้อมกันทั้งต้น หรือทั้งกอ สลัด หรือลูบเอาดินที่ติดขึ้นมาด้วยออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวบรวมจนได้ปริมาณที่ต้องการ นำมาทำความสะอาดด้วยการล้างน้ำ ผึ่งให้แห้ง และกะเทาะเปลือก บรรจุใส่ถุง เตรียมส่งขายและเก็บไว้บริโภคบางส่วน ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา กรมวิชาการเกษตร จังหวัดสงขลา ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ทุ่งหว้า
อำเภอ / เขต :
ทุ่งหว้า
จังหวัด :
สตูล
รหัสไปรษณีย์ :
91120
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM