เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปูทะเล เป็น ปูนิ่ม “พหลฟาร์ม” สมุทรสงคราม ทำได้
   
ปัญหา :
 
 
ปัจจุบันได้มีการพัฒนาคิดค้นวิธีการเลี้ยงปูนิ่มจากที่เลี้ยงบริเวณริ่มทะเลหรือในท้องทะเลมาเป็นบ่อเพาะเลี้ยงแบบพัฒนาในหลายพื้นที่ ซึ่งมีการเลี้ยงทั้งแบบตัดก้ามและแบบธรรมชาติ ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาศร่วมเดินทางกับ ธนาคารเพื่อนการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) พบปะเยี่ยมพี่น้องเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีอาชีพที่ไม่คาดคิดว่าจะมีอยู่ในพื้นที่ซึ่งอยู่ห่างจากรุงเทพมหานครเพียง 100 กว่ากิโล คือ อาชีพเพาะเลี้ยงปูนิ่ม เมื่อรถของทีมงาม กว่า 20 ชีวิต มาถึง พี่พิธาน ลิปิสุนทร เจ้าของฟาร์ม ก็เข้ามาตอนรับและอธิบายเล่าถึงที่มาที่ไปของอาชีพเพาะเลี้ยงปูนิ่มให้กับทีมงานได้ฟังอย่างลวงลึก ในทุกขั้นตอนการเลี้ยง พี่พิธาน เล่าให้ฟังว่า ที่ดินพื้นนี้ เป็นของป้าและย่า ซึ่งเดิมจะปล่อยให้เช่าทำฟาร์มเลี้ยงกุ้ง แต่หลังจากสัญญาเช่าหมดลง ตนก็มาขอเช่าต่อ เพื่อจะใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งหวังจะสร้างเป็นอาชีพให้กับตนเอง “ตอนนั้นเองผมยังไม่ได้คิดว่าจะเลี้ยงอะไร ไปปรึกษากับเพื่อนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสัตว์น้ำ เขาก็บอกว่า อย่างเราเนี้ย ประสบการณ์เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็ยังมีน้อย อย่างการเลี้ยงกุ้งมันก็ยาก อีกอย่างพื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นนากุ้งเก่า เชื้อโรคที่เคยมีก็ยังฝังตัวอยู่ ปลาก็ไม่แนะนำ จะในที่สุดมาจบที่การเลี้ยงปู เพราะที่มีความทนทาน ต่อโรค ความเค็ม สภาพอากาศ อุณหภูมิ ที่มากกว่าสัตว์น้ำ แต่จะเลี้ยงปูธรรมดาก็จะเหมือนคนอื่นๆ จึงคิดต่อยอดนำปูทะเลมาทำเป็นปูนิ่ม ” พี่พิธาน เริ่มต้นทำธุรกิจการเพาะเลี้ยงปูนิ่ม เมื่อปลายปี 52 บริเวณ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเริ่มปรับพื้นที่ เตรียมทำคันดิน สร้างสะพาน ทำบ่อเพาะเลี้ยง และบ่อพักน้ำ โดยใช้เวลประมาณ 1 เดือน “เนื่องจากบริเวณนี้ จะมีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่เพาะเลี้ยง ผมจึงต้องแบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วน ทำเป็นบ่อพักน้ำเพื่อใช้รองรับน้ำไว้ก่อนจะถ่ายเข้าบ่อเพาะเลี้ยงในบางช่วงเวลาที่มีปริมาณน้ำน้อยในบางฤดูการผลิต” การเตรียมบ่อเพาะเลี้ยง การเตรียมบ่อเพาะเลี้ยงพี่พิธาน บอกว่า จะทำคลายกับการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้ง ซึ่งภายในบ่อจะประกอบไปด้วยประตูระบายน้ำ เข้า-ออก จะ 1 หรือ 2 ประตู ขนาดบ่อกินเนื้อที่กว่า 6 ไร่ ความลึกของบ่อประมาณ 1.5 เมตร ภายในบ่อจะมีเครื่อสูบน้ำเข้า – ออก 1 ตัว (ตัวใหญ่) บริเวณกลางบ่อเพาะเลี้ยงจะมีสะพานไม้ความยาวเกือบสุดขอบบ่ออีกข้าง เพื่อใช้เป็นทางเดินตรวจเก็บปูนิ่มที่ลอกคาบรวมถึงใช้เดินให้อาหารปูที่เลี้ยงในแต่ละวัน โดยสะพานที่จะใช้วัสดุธรรมชาติเป็นหลัก สำหรับตัวแพรองรับตะกร้า พี่พิธานจะใช้ท่อ พีวีซีสีฟ้า เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1-2 นิ้ว ปิดปลายทั้ง 2 ข้าง แล้วต่อเป็นแพยาวประมาณ 80 เมตร กว้าง 1 เมตร ใน 1 แพ จะมี 4 แถว แต่ละแถวจะว่างตะกล้าเลี้ยงปูได้มากถึง 300 กล่อง ซึ่งเฉลี่ย 1 แพ จะมีว่างกล่องเลี้ยงปูได้ถึง 1200 กล่อง/แพ ส่วนขนาดของตะกร้าที่ใช้เลี้ยงจะมีความกว้างราวๆ 22.6 เซนติเมตร ยาว 30.0 เซนติเมตร สูง 16.1 เซ็นติเมตร ใน1 ตะกล้า จะใส่ปูลงไปเพียง 1 ตัวเท่านั้น ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง และเลือกพันธุ์ปู การปล่อยปูที่นี่จะไม่เลือกเวลาปล่อย พี่พิธาน บอกว่า จะปล่อยลงได้ตลอดทั้งวัน เพราะเนื่องจากคนงานที่มียังไม่ประสบการณ์ในการเลี้ยง อีกทั้งขั้นตอนการเลี้ยงปูนิ่มจะมีกระบวนการและวิธีที่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาและความชำนาญ ไม่เหมือนกับการเลี้ยงปูธรรมดาทั่วไปที่ตัดเชือกแล้วปล่อยลงน้ำได้เลย ดังนั้นคนเลี้ยงจะต้องระมัดระวัง” “ก่อนปล่อยปูลงเลี้ยงในตะกร้าจะมีการปรับสภาพของปูให้เข้ากับแหล่งน้ำที่จะเลี้ยง โดยการใช้น้ำในบริเวณที่เลี้ยงรดตัวปูให้ชุ่ม จากนั้นจึงตัดเชือกมัดปูออกแล้วปล่อยลงกล่องเพาะเลี้ยง มันด้วยลวด แล้วนำลงไปว่างลงบนแพที่ทำไว้ สำหรับพันธุ์ปูที่ใช้เป็นปูทะเลที่เห็นตามท้องตลาด โดยจะสั่งพันธุ์มาจากแพปูทางภาคใต้ ซึ่งจะมีขนาดตัวประมาณ 1 ขีด ซึ่งในแต่ละรอบ ผมจะสั่งขึ้นมาครั้งละประมาณ 40-50 กิโล” แต่ละเดือน พี่พิธานจะสั่งปูทะเลขึ้นมาเพื่อเพาะเลี้ยงทำเป็นปูนิ่ม เดือนละ 2 รอบ เฉลี่ยรอบละประมาณ 45 กิโลกรัม ซึ่งแต่ละเดือนจะใช้ปูทะเลถึง 700-800 ตัว การดูแลและการให้อาหาร ทุกๆวัน กิจกรรมที่พี่พิธานและลูกน้องต้องทำหลักๆของการเลี้ยงปูนิ่ม คือ เดินตรวจเช็คว่าปูที่เลี้ยงลอกคาบหรือยัง โดยช่วงเวลากลางวันจะเดินดู 3 รอบ กลางคืน 3 รอบ และส่วนรอบ 15.30 ซึ่งเป็นช่วงเวลาให้อาหารจะดูอีกรอบหนึ่ง (การให้อาหารจะให้วันเว้นวัน) ส่วนการเปลี่ยนถ่ายน้ำแต่ละครั้งจะต้องตรวจเช็คสภาพน้ำภายในบ่อเพาะเลี้ยงและบ่อพักน้ำ ซึ่งความเค็มของน้ำจะให้อยู่ประมาณ 25 พีทีที โดยการเปลี่ยนถ่ายหรือเติมน้ำเข้าบ่อเพาะเลี้ยงแต่ละครั้ง จะสังเกตุน้ำด้านนอกเป็นหลัก ซึ่งหากช่วงไหนน้ำมาก ก็จะใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่หากช่วงไหนที่น้ำด้านนอกน้อย หรือช่วงที่น้ำตาย จะใช้วิธีเติม ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอาหารที่ใช้เพาะเลี้ยง พี่พิธานจะให้เนื้อปลาที่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (ปลาค้างเหลือง หรือ ปลากิมซั่ว )ขนาดเท่าเหรียญ 5 บาท ใส่ลงไปกล่องละ 1 ชิ้น ระยะเวลา ในการเลี้ยงปูจะใช้เวลาประมาณ 45 วัน โดยเฉลี่ย แต่บางครั้งปูที่นำมาปล่อย มีความพร้อม เมื่อปล่อยลงไปประมาณ 2-3 วันก็สามารถลอกคาบได้เช่นกัน อีกทั้ง ปูที่ส่วนประกอบในบางส่วนหลุดหายไป ก็จะทำการสลัดคาบออกได้เร็วกว่าปูปกติทั่วไป การสังเกตปูลอกคราบ พี่พิธาน บอกดูได้จากปูในตระกล้าหากพบปู 2 ตัว ในตะกร้าเดียวกัน แสดงว่าตัวหนึ่งจะเป็นคราบและอีกตัวหนึ่งจะเป็นปูนิ่มที่ลอกคาบ ซึ่งในแต่ละวันบางรอบสามารถเก็บปูนิ่มได้มากถึง 10-20 ตัว และยิ่งช่วงที่ใกล้ครบ 45 วันของการเลี้ยง จะได้ปูนิ่มสูงถึง 80 ตัว สำหรับการดูแลบ่อจะใช้ปูนขาวและจุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลายเศษอาหารที่ตกลงพื้น ซึ่งเป็นการเอาธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ นอกจากนี้ยังปล่อยปูไข่ลงไปภายในบ่อเพาะเลี้ยง เพื้อให้เก็บเศษซากอาหารที่หลุดออกจากกล่อง จนสามารถจับปูไข่จำหน่ายได้อีกทางหนึ่ง ส่วนอุปกรณ์ อย่างตะกร้าที่ใช้เลี้ยง เมื่อปูลอกคราบแล้ว ก็จะนำขึ้นมาทำความสะอาดใช้แปรงขัดและนำไปตากแดด ก่อนที่จะนำกลับไปใช้ใหม่อีกครั้ง ส่วนท่อพีวีซีที่ใช้ทำเป็นแพ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ได้ระยะเวลาที่นานไม่ค่อยพบปัญหาชำรุด ทุกวันนี้ พหลฟาร์ม สามารถผลิตปูนิ่มออกจำหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าทั้งที่เป็นค้าประจำ นักท่องเที่ยว พ่อค้าแม่ค้าขาจร อีกทั้งส่งให้กับร้านอาหาร ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามได้ทุกวัน โดยมีราคาตั้งแต่ 250 บาทไปจนถึง 300 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของปู โดยรูปแบบการจำหน่ายนั้น พี่พิธานจะบรรจุใส่กล่องพลาสติก กล่องละ 1 ตัว และนำแช่แข็งไว้ในห้องเย็นอุณหภูมิ – 18 องศาก่อนส่งต่อไปยังมือพ่อค้าแม่ค้า ท่านใดที่สนใจ อยากสอบถามข้อมูล หรือติดต่อชื้อปูนิ่มมาประกอบอาหาร พหลฟาร์มเปิดบริการทุกวัน ติดต่อได้ที่ คุณพิธาน ลิปิสุนทร โทรศัพท์ 08 6755 2252
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
สมุทรสงคราม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM