เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
งา พืชเมล็ดจิ๋ว แต่อุดมไปด้วย คุณค่าทางโภชนาการ และปลูกได้ไม่ยาก
   
ปัญหา :
 
 
สนใจการปลูกงาจะต้องทำอย่างไรบ้าง เนื่องจากไม่เคยปลูกมาก่อน เริ่มตั้งแต่ การปลูก การดูแลรักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว อีกทั้งพันธุ์ปลูก มีพันธุ์อะไรบ้าง และจะหาซื้อเมล็ดพันธุ์ แหล่งข้อมูล หรือแหล่งศึกษาดูงาน ควรติดต่อสอบถามได้ที่ไหน
วิธีแก้ไข :
 
แม้ว่า งา มีเมล็ดจิ๋วก็ตาม แต่อุดมไปด้วยโคลีน เมไทโอนีน และ อิโนซิตอล ที่ช่วยบำรุงประสาท ทำให้นอนหลับสบาย ที่สำคัญมีปริมาณแคลเซียมสูงกว่าในน้ำนมถึง 6 เท่า นอกจากนี้ ยังมีธาตุสังกะสี ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในส่วนของวิตามิน มี วิตามิน บี1 บี2 บี3 บี6 และ บี9 การนวดด้วยน้ำมันงา ยังช่วยให้กล้ามเนื้อไม่เหี่ยวย่นอีกด้วย ประโยชน์อื่นๆ น้ำมันงา ยังนิยมนำมาผสมในน้ำสลัด ใช้ทำมาการีน ส่วนผสมสบู่ เครื่องสำอาง และทำน้ำมันหล่อลื่น เห็นหรือยังครับว่า เจ้าเมล็ดเล็กชนิดนี้มีคุณค่าอนันต์ งา เป็นพืชน้ำมันที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ไปจนถึงดินร่วนเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรด-ด่าง ที่ 5.6-6.5 ต้องการปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตร ต่อปี โดยเฉพาะช่วงปลูก ต้องมีไม่น้อยกว่า 200 มิลลิเมตร พันธุ์งา ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แนะนำให้ปลูก มี งาขาวพันธุ์มหาสารคาม 60 ลักษณะเด่นคือ มีเมล็ดขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ เป็นที่ต้องการของตลาด ปลูกได้ทั้งต้นฤดูและปลายฤดูฝน อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน งาพันธุ์ร้อยเอ็ด 1 เป็นพันธุ์อายุเบา เก็บเกี่ยวได้ภายใน 70-75 วัน และ งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 มีเมล็ดขนาดใหญ่ ผิวเมล็ดสีแดงสม่ำเสมอ ข้อดี คือ ต้านทานโรคเหี่ยว และไรขาว ได้ดี อายุเก็บเกี่ยว 80-85 วัน เกษตรกรนิยมปลูกงาเป็น 2 ช่วง ช่วงแรก ปลูกต้นฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และไปเก็บเกี่ยวในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน การปลูกงาช่วงนี้ ต้องให้น้ำช่วยในระยะแรก ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกกันในนาก่อนปลูกข้าว ส่วนช่วงที่สอง ปลูกใน ปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม และไปเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน การเตรียมเมล็ดพันธุ์ ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และปราศจากโรคและแมลงติดมา ในแหล่งปลูกที่เคยมีโรคราระบาดมาก่อน ให้คลุกเมล็ดด้วยแคปแทน หรือ เบโนมิล อัตรา 2.5-5.0 กรัม ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม วิธีปลูก ทำได้ 2 วิธี วิธีแรก ปลูกด้วยการหว่าน ใช้อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อไร่ เนื่องจากเมล็ดงามีขนาดเล็ก จำเป็นต้องคลุกกับทรายละเอียด อัตรา 1:1 ช่วยให้เมล็ดกระจายอย่างสม่ำเสมอ หากหว่านเมล็ดงาอย่างเดียวล้วนๆ เมล็ดงาจะปลิวไปตามทิศทางลม การกระจายตัวจึงไม่สม่ำเสมอ วิธีที่สอง ปลูกด้วยการหยอดเมล็ดเป็นหลุม หรือ โรยเป็นแถว ใช้ระยะปลูกระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ระหว่างต้น 10 เซนติเมตร โดยเซาะร่องปลูกลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตร แล้วหยอดเป็นหลุม หรือ โรยเป็นแถว กลบดินบางๆ ปลูกช่วงต้นฤดูฝนต้องให้น้ำช่วย ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่ากัน หลังเมล็ดงอก ถอนให้เหลือหลุมละ 2 ต้น ก็พอ ส่วนโรยเป็นแถว ถอนซอยให้แต่ละต้นห่างกันเล็กน้อย ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ให้ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 20-25 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ให้ใส่ปุ๋ย สูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลงในกรณีหว่านเมล็ด ส่วนวิธีปลูกเป็นหลุม หรือโรยเป็นแถว ใส่ด้วยวิธีโรยต้นข้างหลุมหรือแถว แล้วพูนดินกลบ เมื่องามีอายุ 15-20 วัน ควรกำจัดวัชพืชออกจากแปลง 2 ครั้ง หลังเมล็ดงอกแล้ว 15 และ 30-40 วัน โรคที่พบอยู่เสมอ มี โรคเน่าดำ เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง อาการที่พบ ใบงาเหลือง และร่วง ต่อมาต้นจะเหี่ยว เน่า และแห้ง มีสีน้ำตาล ในที่สุดจะยืนต้นตาย แนะนำให้คลุกเมล็ดก่อนปลูกด้วยแคปแทน หรือ เบโนมิล ตามอัตราแนะนำข้างฉลาก ส่วน แมลงศัตรูสำคัญ ที่พบเสมอ มีหนอนห่อยอด เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืนชนิดหนึ่ง เข้าห่อใบและกัดกินดอก ใบ และฝัก ทำความเสียหายมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพบการระบาดให้ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดาทุกๆ 7 วัน 3-4 ครั้ง การระบาดจะบรรเทาลง ระยะเก็บเกี่ยว ที่ดีที่สุด ให้สังเกตสีของลำต้น ใบ หรือ ฝักงา จะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง เริ่มจากข้อด้านล่าง 2 ใน 3 ส่วน ตามความสูงของลำต้นขึ้นมา หรือนับตามอายุของแต่ละพันธุ์ วิธีเก็บเกี่ยว ให้ใช้มีดคมและสะอาด ตัดลำต้นใต้ฝักล่างสุด แล้วมัดรวมกัน 2-3 ต้น ต่อมัด นำมากองสุมตั้งขึ้นคล้ายกระโจมอินเดียนแดง กองละ 3-4 มัด ตากแดดทิ้งไว้ 5-7 วัน จนแห้งดี ก่อนนำไปเคาะหรือนวดในภาชนะ ให้เมล็ดหลุดออกจากฝัก เมื่อได้จำนวนมากพอจึงฝัดเอาสิ่งเจือปนออกให้หมด แล้วนำเมล็ดที่ได้ไปตากแดดอีก 4-5 แดด ให้เมล็ดมีความชื้นเพียง 4-5 เปอร์เซ็นต์ ก่อนส่งจำหน่ายหรือเก็บไว้บริโภคตามวัตถุประสงค์ของผู้ปลูก ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือแหล่งศึกษาดูงาน ติดต่อที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000 โทร. (045) 244-830 ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
พังทุย
อำเภอ / เขต :
น้ำพอง
จังหวัด :
ขอนแก่น
รหัสไปรษณีย์ :
40140
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM