เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เทคนิคการจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ ตามแบบของคนเมืองตราด
   
ปัญหา :
 
 
พื้นที่ทุเรียนสวนไพฑูรย์ มีจำนวน 3,000 ต้น ต้นที่เก็บเกี่ยวได้แล้ว ประมาณ 1,600 ต้น ผลผลิตที่เก็บเกี่ยวปีที่ผ่านมาประมาณ 200 ตัน ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนเมษายน-มิถุนายน ราคาขายเฉลี่ย 27-30 บาท ต่อกิโลกรัม ตลาดที่จำหน่าย ได้แก่ พ่อค้าทั่วไปที่มารับซื้อประจำทุกปี ส่งออกไปยังเซี่ยงไฮ้ โดยผ่านทาง ซีพี สำหรับผลผลิตตกเกรดส่งไปแปรรูป (ชิพ/ทอดกรอบ) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของโรงงานตนเอง เทคนิคการใช้ สารบังคับการออกดอก คุณไพฑูรย์ วานิชศรี เล่าให้ฟังถึงการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล เพื่อบังคับการออกดอกทุเรียนของที่สวนว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบังคับการออกดอกทุเรียน คือ 1. ทุเรียนใบแก่ 2. มีลมหนาว อุณหภูมิประมาณ 18-22 องศาเซลเซียส 3. มีลมโยก 7 วัน การใช้สารที่สวนนี้ ใช้แพคโคลบิวทราโซล 10% อัตรา 1.5-1.7 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร+ยูเรีย (ฮิวมิค เพื่อกระตุ้นการเปิดปากใบ เร่งการดูดซึมสารให้ดีขึ้น) อัตรา 0.5 ต่อกิโลกรัม ฉีดพ่นทางใบ จำนวน 1 ครั้ง โดยใช้ใบในระยะเพสลาด ก่อนช่วงฝนแล้ง 20 วัน (ที่สวนนี้ฉีดพ่นประมาณปลายเดือนกันยายน และไม่เกิน 10 ตุลาคม) และควรฉีดก่อนฝนตก 1 ชั่วโมง และหลังราดสารต้องกระทบแล้ง 7 วัน เทคนิคการควบคุม การแตกใบอ่อนของทุเรียน การป้องกันไม่ให้ทุเรียนแตกใบอ่อนในระหว่างการพัฒนาของผลอ่อน (อายุผลไม่เกิน 2 เดือน ถ้าอายุผลหลังดอกบานเกิน 2.5 เดือน จัดได้ว่าปลอดภัยแล้ว) เป็นสิ่งจำเป็น เพราะหากมีการแตกใบอ่อนในช่วงนี้ ผลอ่อนจะไม่สามารถแข่งขันเพื่อแย่งอาหารสะสมกับใบอ่อนได้ ผลอ่อนที่กำลังพัฒนาก็จะหยุดชะงัก และเกิดผลกระทบในด้านคุณภาพของผลติดตามมา คุณไพฑูรย์ กล่าวว่า ธรรมชาติของทุเรียนรักใบมากกว่าผล ดังนั้น ถ้าหากว่าทุเรียนมีการแตกใบอ่อนในระยะผลอายุไม่เกิน 2 เดือน ทุเรียนจะสลัดผลทิ้ง ผลร่วงและผลบิดเบี้ยว จากการทดลองและศึกษาของคุณไพฑูรย์ได้มีข้อแนะนำในการจัดการเพื่อปลิดใบอ่อนทุเรียน โดยวิธีการดังนี้ 1. ใช้สาร อีทีฟอน (ethephon) จัดอยู่ในกลุ่ม Ethylene Generator ความเข้มข้น 48% อัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร (คุณไพฑูรย์ แนะนำให้ใช้สารที่เกรดเยอรมัน เช่น อีเทรล, โปรเทล) ฉีดพ่นเฉพาะใบภายนอกทรงพุ่มให้ทั่ว สามารถฉีดได้ทั้งวัน โดยให้ฉีดพ่นทุเรียนระยะตั้งแต่เริ่มพบเห็นมีการแตกใบอ่อน จนถึงใบอ่อนระยะดาบก่อนถึงระยะหางปลา (ฉีดเร็วที่สุดยิ่งดี เพราะจะทำให้ไม่สูญเสียอาหาร) 2. หลังจากการฉีดพ่น ประมาณ 3-4 วัน ใบอ่อนจะเริ่มร่วง 3. จำนวนครั้งการฉีด ขึ้นอยู่กับสภาพการแตกใบอ่อนของทุเรียน บางปีอาจมีการฉีดถึง 3 ครั้ง 4. ข้อจำกัดในการฉีดพ่น 4.1 ต้นสมบูรณ์ 4.2 อย่าฉีดใบทุเรียนในขณะที่ต้นเหี่ยว (ปกติชาวสวนเมื่อทุเรียนแตกใบอ่อนจะชะลอการให้น้ำ ทำให้ต้น/ใบเหี่ยว) ถ้าอากาศแล้ง ต้องให้น้ำทุเรียนก่อนฉีดพ่น 4.3 อัตราการใช้สารต้องถูกต้องและตรงตามคำแนะนำ (คุณไพฑูรย์ ได้ทดลองใช้มานานแล้ว) เทคนิคการแก้ปัญหา โรคโคนเน่าในทุเรียน โรคโคนเน่าทุเรียน (phytopthora) เป็นปัญหาที่รุนแรงสำหรับทุเรียน ในแต่ละปีมีทุเรียนตายจากโรคนี้ค่อนข้างมาก เกิดจากเชื้อรา ต้นที่เริ่มเป็นโรคจะพบว่า ใบไม่เป็นมันสดใส ค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีดและใบร่วง เมื่อพบอาการแสดงออกที่ใบ ให้สำรวจบริเวณ ลำต้น กิ่ง หรือราก บริเวณที่เป็นโรคจะมีสีของเปลือกเข้มคล้ายถูกน้ำเป็นวงหรือเป็นทางน้ำไหลลงด้านล่าง หรือมีรอยแตกของแผล ต้นที่เป็นโรครุนแรงมากจะมีน้ำยางไหลออกมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีอากาศชุ่มชื้น เชื้อราไฟทอปทอร่าสามารถแพร่กระจายโดยทางลม น้ำ ดิน ใบ กิ่งพันธุ์ และผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีลมพายุและความชื้นสูง จะเหมาะสมกับการแพร่กระจายและเข้าทำลายต้นทุเรียนได้ดี คุณไพฑูรย์ ได้แนะนำเทคนิคการจัดการกับโรคนี้ว่า จากสภาพที่ต้องการคือ ชื้น (แต่ไม่แฉะ) ทำให้เกษตรกรบางสวนให้น้ำทุเรียนมากเกินความจำเป็น จึงเป็นสาเหตุที่เกิดการแพร่ระบาดโรคได้ ประกอบกับทุเรียนได้รับธาตุอาหารจากไนโตรเจนมากเกินไป ทำให้ต้นทุเรียนอ่อนแอลง โดยมีข้อแนะนำให้ห้ามใช้ปุ๋ยคอกโดยเด็ดขาด ยกเว้นสัตว์กินหญ้า เช่น วัว ควาย (เคยพบว่า ถ้าใส่มูลสุกร มูลไก่ ต่อเนื่อง 5 ปี ต้นทุเรียนเป็นโรคนี้และตายได้) แนวทางการป้องกันแก้ไขโรคนี้ (โรคนี้ยังไม่มีสารเคมีกำจัดได้ 100%) คือ 1. การออกแบบแปลนสวนให้เป็นรูปฝาชีคว่ำ หรือเป็นลอน โดยให้เขต Root Zone อยู่เหนือกว่าพื้นดินปกติ 2. การใช้ต้นตอ (ใช้ต้นตอที่แข็งแรง และต้านทานโรค) ในสภาพซื้อขายปกติทั่วไป ต้นตอพันธุ์ทุเรียนที่ปลูกกัน ไม่ได้ให้ความสำคัญของต้นตอพันธุ์ มีใช้ต้นตอโดยไม่มีการเลือกสายพันธุ์ ทำให้มีการระบาดของโรคง่ายขึ้น ซึ่งมีข้อแนะนำจากทางวิชาการว่า ต้นตอที่แข็งแรงและต้านทานโรคคือ ต้นตอพันธุ์ทุเรียนนก (หายาก) และอันดับสองรองมาคือ ต้นตอทุเรียนพันธุ์พวงมณี สนใจติดต่อขอข้อมูลเพิ่มได้ที่ คุณไพฑูรย์ วานิชศรี โทร. (086) 0060-132 หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดตราด โทร. (039) 511-008 และที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จังหวัดระยอง โทร. (038) 611-578
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ตราด
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM