เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
เกาลัด พันธุ์ดีของไทย ยังไม่มีให้เกษตรกรปลูก
   
ปัญหา :
 
 
ต้องการทราบว่าประเทศไทย สามารถปลูกเกาลัดได้หรือไม่ เพราะเห็นว่ามีการนำเข้ามาจากจีนและญี่ปุ่น แต่ถ้าปลูกได้ ควรปลูกที่ไหน อีกทั้งแหล่งข้อมูลและแหล่งพันธุ์จะติดต่อที่ไหน นอกจากนี้ อยากให้คุณหมอเกษตรนำภาพผลดิบของเกาลัดมาลงในคอลัมน์หมอเกษตร ทองกวาว ให้ชมบ้าง ที่ผ่านมาเห็นแต่ผลแก่ที่นำมาคั่วขายในตลาดทั่วไป
วิธีแก้ไข :
 
เกาลัด หรือ เชสต์นัท จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับ ก่อหลวง ที่ขึ้นอยู่ตามป่าเขาทางภาคเหนือของประเทศ แต่มีเมล็ดเล็กกว่าเกาลัดจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ปัจจุบัน มีการแบ่งเกาลัดที่เป็นพืชเศรษฐกิจ ออกเป็น 4 ชนิด คือ เกาลัดจีน เกาลัดญี่ปุ่น เกาลัดยุโรป และเกาลัดอเมริกา ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เกาลัดที่จำหน่ายอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้นำเข้าจากจีนเป็นส่วนใหญ่ แหล่งปลูกในประเทศไทย ต้องปลูกที่บริเวณภาคเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 800 เมตร ขึ้นไป กรมวิชาการเกษตร เริ่มงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์เกาลัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 มีการรวบรวมพันธุ์ดีจากจีนไว้ที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ด้วยนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลดความสำคัญของงานวิจัยเกาลัดลง ผลงานวิจัยจึงหยุดชะงัก คงพิจารณาแล้วเห็นว่านำเข้าจากจีนดีกว่า จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย กลับมาพูดถึงทางพฤกษศาสตร์ของเกาลัด จัดไว้เป็นไม้ยืนต้น ใบเรียวยาว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อย ช่อดอกมีรูปร่างคล้ายหางกระรอกมีสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว มีหนามแหลมเล็กและถี่ ห่อหุ้มเมล็ดเอาไว้ ใน 1 ผล มี 2-3 เมล็ด ผลสุกแก่เปลือกนอกจะปริแตกออก เมล็ดในหลุดออก เปลือกในสีน้ำตาลแข็งและหยุ่น หุ้มเนื้อในไว้อีกชั้นหนึ่ง มักมีคำถามว่า มีเกาลัดชนิดที่เปลือกนอกของผลสีแดง เมล็ดในเหมือนเกาลัด ใช้รับประทานได้หรือไม่ ขอตอบว่า ไม้ดังกล่าวจัดเป็นเกาลัดชนิดหนึ่ง แต่ต่างสกุลกันกับเกาลัดที่มีจำหน่ายทั่วไป ใช้รับประทานได้แต่รสชาติไม่ดี อีกทั้งผลผลิตต่ำ จึงเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงาเท่านั้น ต้องการข้อมูลรายละเอียด ติดต่อสอบถามที่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร เกษตรกลางบางเขน กรุงเทพฯ 10900 ในวันและเวลาราชการ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ทุ่งเบญจา
อำเภอ / เขต :
ท่าใหม่
จังหวัด :
จันทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
22170
ภาค :
ภาคตะวันออก
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM