เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
การสร้างเรือนเพาะชำต้นไม้
   
ปัญหา :
 
 
    ผมติดตามอ่านคอลัมน์หมอเกษตรเป็นประจำ ซึ่งการตอบปัญหาเป็นประโยชน์กับผู้ไม่รู้เป็นอย่างยิ่ง ส่วนจดหมายฉบับนี้ผมอยากทราบถึงการทำเรือนเพาะชำต้นไม้ ทั้งไม้ผลและไม้ดอกไม้ประดับว่ามีหลักการที่ถูกต้องอย่างไร ปัจจุบัน ผมเป็นครูโรงเรียนระดับประถมแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จะนำความรู้ที่ได้ไปทำโรงเรือนเพาะชำต้นไม้ที่โรงเรียนที่ผมสอนอยู่ในขณะนี้ต่อไป
วิธีแก้ไข :
 
    ประโยชน์ของเรือนเพาะชำ 1. เพื่อใช้เป็นที่อนุบาลต้นไม้ที่ยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างเต็มที่ เช่น การตัดกิ่งตอน กิ่งทาบ หรือเสียบยอดจากต้นแม่ใหม่ ๆ ก่อนนำไปปลูกลงในแปลง จำเป็นต้องนำเข้าพักฟื้นในเรือนเพาะชำที่มีหลังคาพรางแสงแดดและมีผนังซาแรนสีดำเป็นกำบังลมในด้านที่ลมพัดเข้าสู่เรือนเพาะชำเพื่อลดการคายน้ำจากใบพืช อีกทั้งภายในเรือนเพาะชำต้องมีการให้น้ำอยู่เสมอ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้กับต้นไม้ เรือนเพาะชำประเภทนี้จะต้องปรับพื้นให้เรียบ ขุดเซาะร่องระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมขัง นิยมปูพื้นด้วยทรายหยาบ 2. ส่วนประเภทที่ใช้เพาะเลี้ยงต้นไม้ที่ต้องการความชื้นสูงและต้องการแสงน้อย เช่น โรงเรือนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ ซึ่งจำเป็นต้องทำแคร่ยกระดับสูงจากพื้นดิน ประมาณ 1 เมตร เพื่อวางกระถาง ส่วนการเพาะเลี้ยงหน้าวัว อาจวางกระถางหรือเพาะเลี้ยงในกระบะกับพื้นหรือจะยกระดับจากพื้นดินก็ได้เช่นเดียวกัน วิธีทำเรือนเพาะชำ เริ่มจากปรับระดับดินให้เรียบ ปูพื้นด้วยทรายหยาบ อัดพื้นพอแน่น ตั้งเสาสูง 1.50-2.00 เมตร ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ส่วนต้นเสาสามารถเลือกใช้ลำไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือท่อเหล็กก็ได้ แต่การใช้ลำไม้ไผ่จะเป็นการลงทุนที่ต่ำ มีความคงทนได้ในระยะ 2-3 ปี อีกทั้งเป็นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง ส่วนขนาดของเรือนเพาะชำนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ ส่วนใหญ่แล้วนิยมใช้พื้นที่ขนาด 2x4 หรือ 4x8 เมตร จากนั้นบากหัวเสาคู่ขนานกันใช้วางไม้รวกที่แข็งแรงเป็นคาน ผูกด้วยลวดยึดกับหัวเสาให้แน่น วางพาดด้วยทางมะพร้าวให้พอดีผูกด้วยไม้ตอก หรือลวดโลหะป้องกันลมพัด หรือมุงด้วยซาแรนสีดำอย่างใดอย่างหนึ่ง ด้านที่ลมพัดผ่านแรงควรทำผนังกันลมจากพื้นดินสูงขึ้นมา 1 เมตร ด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก ตอกตะปูยึดกับคาน 2 ระดับ ให้เป็นแผง หรือพรางด้วยซาแรนสีดำก็ได้เช่นเดียวกัน ประการสำคัญควรเลือกสถานที่ก่อสร้าง ต้องเข้าไปปฏิบัติงานได้สะดวก ไม่ควรอยู่ไกลบ้านหรือโรงเรียนเกินไป และต้องมีน้ำสำหรับรดต้นไม้อย่างพอเพียง
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
2
ตำบล / แขวง :
ท่าล้อ
อำเภอ / เขต :
ท่าม่วง
จังหวัด :
กาญจนบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
71000
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน :วันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2545 ปีที่ 14 ฉบับที่ 294
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM