เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ใบชา นั้น เขาทำกันอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
อยากทราบว่า วิธีทำชาจีน ว่าเขาทำกันอย่างไร เพราะเห็นว่าบางยี่ห้อมีราคาค่อนข้างแพง ผมคิดว่าน่าจะมีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากมาก ปัจจุบัน ชา ก็ยังเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันไปทั่วโลก และขอถามเพิ่มเติมว่า ชา มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ไหน และเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไหร่
วิธีแก้ไข :
 
แหล่งกำเนิดชา มีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีแรก อยู่ที่ดินแดนต่อเชื่อมกันระหว่าง อินเดีย พม่า และจีน ส่วนทฤษฎีที่สอง อยู่ที่มณฑลยูนนาน เนื่องจากพบว่า มีการกระจายตัวอย่างหนาแน่น และมีความหลากหลายทางพันธุกรรม แม้ปัจจุบันยังมีต้นชาขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.21 เมตร เส้นรอบวงวัดได้ 2.90 เมตร และมีความสูงถึง 32.10 เมตร ที่เมืองเชียงรุ่ง เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ทางจีนตอนใต้ ส่วน ชา ในประเทศไทยนั้น มีชาวยุโรปบันทึกไว้ว่า คนไทยรู้จักดื่มน้ำชา โดยเฉพาะในหมู่เสนาบดี มาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ. 2230 ซึ่งชาดังกล่าว ผลิตจากใบเมี่ยง ที่ชนกลุ่มน้อยนำเข้ามาจากจีน มีปลูกกันอยู่บนที่สูง ของไทยมาจนถึงทุกวันนี้ การผลิตชาในปัจจุบัน เก็บยอดชาจากแปลงที่สมบูรณ์ ด้วยวิธีเด็ด 3 ใบยอดเท่านั้น รวบรวมใส่ภาชนะที่พกพาสะดวก ทั่วไปใช้ตะกร้าสานไม้ไผ่สะพายหลัง ต้องระวังอย่าให้อัดแน่น นำมาผึ่ง ให้น้ำระเหยออกจากใบ ให้มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเพิ่มปฏิกิริยาการทำงานของกรดอะมิโน สารประกอบฟีนอลและน้ำตาล ทำให้รสชาติ กลิ่น และสีของใบชาดีขึ้น การตรวจสอบ โดยนำยอดชามาหักด้วยมือ หากไม่ยอมหัก นับว่าใช้ได้ การคั่ว เพื่อหยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์ของสารประกอบต่างๆ ในใบชา อีกทั้งทำให้ใบชาอ่อนนุ่มขึ้น ในระดับครัวเรือนนิยมคั่วในกระทะสะอาดที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป การนวด ด้วยวิธีขยี้ใบ ให้เนื้อเยื่อภายในใบแตก ให้สารประกอบที่กล่าวมาข้างต้น ออกมาคลุกเคล้าและเคลือบที่ผิวใบอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ เครื่องนวดใบชาออกแบบคล้ายกับหินโม่แป้ง ให้ส่วนบนมีน้ำหนักทับลงบนใบชาที่วางเรียงรายอยู่บนฐานที่สลักเป็นร่องตื้นๆ คดเคี้ยวไปมา เพื่อให้เนื้อเยื่อในใบชาแตก และม้วนเป็นเกลียวได้ตามต้องการ ทั้งนี้ ชาวดอยส่วนใหญ่นิยมทำด้วยไม้ไผ่สาน การหมัก นำใบชาที่นวดเสร็จแล้ว เกลี่ยลงบนโต๊ะหมักที่พื้นผิวสะอาด ทับกันหนาไม่เกิน 5 เซนติเมตร ใช้เวลาหมัก 1-3 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มคุณภาพของกลิ่น สี และรสชาติขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง การอบแห้ง หลังจากหมักได้ที่แล้ว ลดความชื้นให้เหลือเพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ ด้วยตู้อบที่ อุณหภูมิ 84-94 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ก็พอ และขั้นตอนสุดท้าย การคัดบรรจุ ให้คัดแยกก้าน และสิ่งเจือปนอื่นๆ ออก แล้วบรรจุลงถุงเก็บไว้บริโภค หรือจำหน่ายต่อไปครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ลาดงา
อำเภอ / เขต :
เสนา
จังหวัด :
กรุงเทพมหานคร
รหัสไปรษณีย์ :
13110
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM