เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปัญจขันธ์ พืชสมุนไพรจีน กำลังเป็นที่นิยมในเมืองไทย
   
ปัญหา :
 
 
พืชสมุนไพร ปัญจขันธ์ เพราะเห็นว่าปัจจุบันมีผู้นิยมซื้อชามาดื่มกัน และมีราคาค่อนข้างดี หากนำมาปลูกในพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯ จะได้ผลหรือไม่ และมีวิธีปลูก ดูแลรักษาอย่างไร ปลูกแล้วให้ได้ผลดี
วิธีแก้ไข :
 
ปัญจขันธ์ หรือ เบญจขันธ์ จีนเรียกว่า เจียวกู่หลาน มีความหมายว่า สมุนไพรอมตะ คนญี่ปุ่น เรียกว่า อมาชาซูรู หรือ ชาหวานจากเถาไม้ ฝรั่งเรียกว่า หญ้ามหัศจรรย์ และ โสม 5 ใบ ปัญจขันธ์ จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับพืชตระกูลแตง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเล็กเรียว ที่ข้อมีมือพันเป็นเส้นคล้ายตำลึง ใช้เกาะไต่ไปกับค้างหรือร้าน ลำต้นแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อที่สัมผัสกับดินที่มีความชื้นจะมีรากเกิดขึ้น ใบแผ่คล้ายแบมือ มีใบย่อย 5 ใบ จึงเป็นที่มาของ ปัญจ หรือ เบญจ หมายถึง 5 ก้าน ใบยาว 3-7 เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่ หรืออาจเป็นรูปรี ปลายใบและโคนใบแหลม ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์เป็นส่วนเหนือดินขึ้นมา ซึ่งมีสารสำคัญ เรียกว่า กีปิโนไซด์ คล้ายสาร ซาโพนิน ที่พบในโสมเกาหลี มีสรรพคุณทางยา ใช้แก้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ลดความดันโลหิต ช่วยลดอาการหลอดเลือดหัวใจอุดตัน การขยายพันธุ์ ทำได้ทั้งวิธีเพาะเมล็ด และการปักชำ แต่การปักชำได้รับความนิยมสูงกว่า โดยคัดเลือกเถาของปัญจขันธ์ ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ตัดเป็นท่อนๆ แต่ละท่อนให้มี 3-4 ข้อ ปลิดใบที่อยู่ด้านล่างทิ้ง นำไปชำในถุงเพาะชำที่มีวัสดุปลูก ร่วนซุยและสะอาด ปักส่วนโคนลงวัสดุปลูก ให้ฝังข้อลง 1-2 ข้อ เอียงทำมุมกับพื้น 45 องศา หมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้ร่มเงา ภายใน 1-2 สัปดาห์ รากจะงอก เมื่อต้นกล้าเติบโตมีความยาว 10-15 เซนติเมตร จึงย้ายปลูกลงในแปลง การปลูก เตรียมดิน ด้วยการไถดะ ไถแปร ตากดิน ปรับพื้นให้เรียบ เก็บวัชพืชออกจากแปลงให้สะอาด ต้องวิเคราะห์ดินว่าไม่มีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่อย่างเด็ดขาด ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ต้องใส่ปุ๋ยคอกเก่า หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1 ตัน ต่อไร่ คลุกเคล้าลงดินให้เข้ากัน ยกแปลงกว้าง 1 เมตร สูงจากพื้น 25-30 เซนติเมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่ปลูก เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร ใช้ระยะปลูก 15x15 เซนติเมตร หรือ 15x30 เซนติเมตร เปิดหลุมขนาดใหญ่กว่าถุงเพาะชำกล้าเล็กน้อย ตัดหรือฉีกถุงเพาะชำ ระวังอย่าให้รากฉีกขาด วางต้นกล้าพร้อมดินลงในหลุม กลบดินพอแน่น แล้วรดน้ำตาม เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้ ทำค้างแบบซุ้มกระโจม ให้ต้นปัญจขันธ์เลื้อยขึ้นไป และเจริญเติบโตแผ่ขยายจนเต็มค้าง หมั่นรดน้ำอย่าให้ขาด ส่วนโรคและแมลงศัตรู ยังไม่พบมีการระบาดรุนแรง อายุครบ 75-90 วัน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ด้วยวิธีตัดเถาทั้งต้น เหนือดินขึ้นมา 20-25 เซนติเมตร แล้วใส่ปุ๋ยคอกเก่า อัตรา ต้นละ 1-2 กระป๋องนม พร้อมรดน้ำบำรุงต้น ให้แตกยอดออกมาใหม่ เจริญเติบโต ให้ผลผลิตในรุ่นต่อไป ทั้งนี้ แปลงปลูกต้องพรางแสงด้วยซาแรนตัดแสง 30 เปอร์เซ็นต์ ให้ปัญจขันธ์ได้รับแสงเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ ก็พอ นำผลผลิตที่ได้มาล้างให้สะอาด ตัดหรือหั่นให้มีความยาวตามต้องการ ผึ่งไว้ในร่ม ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หรืออบที่อุณหภูมิ 40-50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย หมั่นกลับผลผลิตที่อบไว้จนแห้งดี บรรจุถุงเก็บไว้ในห้องเย็น ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานขึ้น หรือนำมาผลิตชาไว้ดื่ม หรือส่งขายตลาดอย่างใดอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาคือ การปลูกปัญจขันธ์ให้ได้ผลดีต้องมีร่มเงาให้ ในบรรยากาศต้องมีความชื้นสูง อุณหภูมิที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโต และให้สารสำคัญสูง อยู่ที่ 16-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิดังกล่าว จะอยู่บนที่สูง ประมาณ 300-3,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล และมีความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ 60-80 เปอร์เซ็นต์ ผมเคยนำมาปลูกที่กรุงเทพฯ ผลปรากฏว่าไม่ได้ผลเท่าที่ควรครับ ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูล จาก กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และองค์การเภสัชกรรม ไว้ ณ โอกาสนี้
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ฉะเชิงเทรา
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM