เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ลุงบัวเรียน ปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล ได้เงินแสน
   
ปัญหา :
 
 
เกษตรกรดงเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้เลือกอยู่กับท้องถิ่น อยู่กับครอบครัว เพื่อร่วมสร้างกิจกรรมใหม่ขึ้นมาทำต่อจากการทำนาปีด้วยการปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล ขนาดผลเท่ากับหรือใกล้เคียงกับผลแอปเปิ้ลที่มีวางขายทั่วไป เป็นผลไม้ชนิดใหม่ที่มีรสชาติหวาน หอม กรอบ และอร่อย วิถีการเกษตรของชนชาวอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเกี่ยวข้าวนาปีแล้วมักจะปล่อยทุ่งนาให้ว่างเปล่าหรือเป็นทุ่งเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย แล้วก็เลือกเดินเข้าเมืองหลวงหางานทำเพื่อเสริมสร้างรายได้ และเมื่อฤดูฝนวนมาถึง ก็จะกลับมาทำนาอีก เป็นวิถีชีวิตที่เวียนวนและปฏิบัติอยู่อย่างนี้มานานนับปี แต่เกษตรกรดงเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้เลือกอยู่กับท้องถิ่น อยู่กับครอบครัว เพื่อร่วมสร้างกิจกรรมใหม่ขึ้นมาทำต่อจากการทำนาปีด้วยการปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล ขนาดผลเท่ากับหรือใกล้เคียงกับผลแอปเปิ้ลที่มีวางขายทั่วไป เป็นผลไม้ชนิดใหม่ที่มีรสชาติหวาน หอม กรอบ และอร่อย ที่ใครได้ลิ้มลองแล้วก็อยากจะลิ้มลองอีก เป็นพืชที่ปลูกง่าย โตไว ขายได้ดี พืชทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ เป็นความสำเร็จของ ลุงบัวเรียน…ปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล ได้เงินแสน ที่นำมาบอกเล่าสู่กัน ลุงบัวเรียน หลักทอง เกษตรกรผู้ปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล เล่าให้ฟังว่า หลายปีที่ผ่านมาเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วได้ปลูกแตงโมเป็นอาชีพที่ 2 เพื่อเสริมรายได้ ส่วนการเปลี่ยนมาปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ลนั้น มีที่มาจาก แม่บ้านได้ซื้อแคนตาลูปจากตลาดซึ่งขนาดของผลจะเท่าหรือใกล้เคียงกับผลแอปเปิ้ลทั่วไป เมื่อผ่าดูด้านในผลพบว่า มีเนื้อเป็นสีเขียวหยก และเมื่อลองรับประทานหลายคนในครอบครัวบอกว่า มีรสชาติหวาน กรอบ และอร่อย การปลูกได้ใช้วิธีเดียวกันกับการปลูกแตงโม ซึ่งปลูกง่ายอยู่แล้ว หลังจากปลูก ได้สังเกตพบว่า แคนตาลูปแอปเปิ้ลเจริญเติบโตติดดอกออกผลได้ดี และนับจากวันปลูก 70-80 วัน จะเก็บเกี่ยวได้ ในปีต่อมาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้ว จึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เก็บไว้รวมกับเมล็ดพันธุ์ที่ซื้อจากร้านมาปลูก และปลูกมา 7-8 ปีแล้ว บนพื้นที่ 3 ไร่ การเตรียมดินปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล เริ่มจากการไถดะ แล้วยกร่องแปลงปลูก กว้าง 2 เมตร ไถแปร ไถพรวน แล้วใส่ปุ๋ยคอก ในอัตราประมาณ 60 ถุงปุ๋ย ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยหว่านให้ทั่วแปลง เสร็จแล้วไถกลบ ระหว่างแปลงปลูกได้ปรับให้เป็นทางเดินและทางน้ำ เมื่อเตรียมแปลงแล้วได้ระบายน้ำเข้าในช่องทางเดินและทางน้ำให้เต็ม ปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ทั้งคืนน้ำจะซึมทั่วแปลงและแห้งไปเอง วันรุ่งขึ้นนำเมล็ดพันธุ์แคนตาลูปแอปเปิ้ล ไปหยอดปลูก 3-5 เมล็ด ต่อหลุม เกลี่ยดินกลบ จัดหลุมปลูกให้มีระยะห่างกันระหว่างต้นและห่างจากริมขอบร่องแปลงขึ้นมาบนสันแปลง 1 คืบ หรือ 15-20 เซนติเมตร ส่วนกลางร่องแปลงจัดเป็นพื้นที่ให้ลำต้นเลื้อยขึ้นไปเจริญเติบโตแตกดอกออกผล หลังหยอดเมล็ดพันธุ์ปลูกแล้วจะยังไม่ให้น้ำ เพราะดินยังมีความชื้นอยู่ เมื่อเมล็ดงอกและเจริญเติบโตต้องถอนต้นออก ให้เหลือ 2-3 ต้น ต่อหลุม การเตรียมเมล็ดพันธุ์ปลูก ได้นำเมล็ดพันธุ์แคนตาลูปแอปเปิ้ลห่อผ้านำไปแช่ให้จมน้ำ 2-3 ชั่วโมง แล้วปลูก วิธีนี้แคนตาลูปแอปเปิ้ลจะเจริญเติบโตช้า อีกวิธีหนึ่งคือ นำเมล็ดพันธุ์แคนตาลูปแอปเปิ้ลห่อผ้าแล้วนำไปแช่ให้จมน้ำ 1 คืน จากนั้นนำไปหมกไว้ในดิน 1 วัน 1 คืน เพื่อทำให้รากงอก เช้าวันรุ่งขึ้นก็นำไปหยอดปลูก 3-5 เมล็ด ต่อหลุม การปลูกวิธีนี้แคนตาลูปแอปเปิ้ลเจริญเติบโตได้ดี การดูแลหลังปลูก หลังจากปลูก 15-20 วัน เมล็ดจะงอก เมื่อแตกใบอ่อน 4-5 ใบ ก็เริ่มใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 1/2 ช้อนแกง ต่อหลุม หลังจากนั้นจะใส่ปุ๋ยชีวภาพเพื่อบำรุงต้น แล้วสูบน้ำเข้าไปในร่องแปลงปลูกให้เต็มและปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ทั้งคืนให้น้ำซึมไปทั่วแปลง จากนั้น 7 วัน จึงให้น้ำอีกครั้ง สำหรับแหล่งน้ำที่นำมาใช้ เป็นน้ำจากบ่อบาดาลที่ขุดเจาะเอาไว้ซึ่งมีปริมาณน้ำพอให้ใช้ได้ตลอดทั้งปี หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรก 25-30 วัน ได้ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตร 15-15-15 ในอัตราประมาณ 1 ช้อนแกง โดยโรยให้รอบต้น แล้วสูบน้ำเข้าไปในร่องแปลงปลูกให้เต็ม และปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ทั้งคืนให้น้ำซึมไปทั่วแปลง การใส่ปุ๋ยชีวภาพ ได้ใส่หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 1 เสร็จแล้ว ด้วยการนำปุ๋ยชีวภาพ อัตรา 20 ซีซี ผสมกับน้ำเปล่า ในอัตรา 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นให้ทั่วแปลง โดยฉีดพ่นปุ๋ยชีวภาพทุก 7 วัน ในเวลา 06.00-08.00 น. หรือจะฉีดพ่นในช่วงเวลา 5 โมงเย็น หรือ 17.00 น. เป็นต้นไปก็ได้ และหยุดฉีดพ่นก่อนการเก็บเกี่ยว การฉีดพ่นปุ๋ยชีวภาพจะช่วยบำรุงต้นเพื่อให้ผลมีผิวสีสวย เนื้อมีรสหวาน กรอบ และอร่อย หลังจากปลูกต้องคอยปฏิบัติดูแลรักษาเพื่อให้ลำต้นแคนตาลูปแอปเปิ้ลเจริญเติบโต แผ่กิ่งก้านไปบนพื้นดินที่สันร่องแปลงไปกระทั่งติดดอกสีเหลืองสวยงาม นับจากวันปลูก 70-80 วัน ผลจะเริ่มแก่หรือสุกพร้อมเก็บเกี่ยวได้ หรือสังเกตดูจากผิวเปลือกถ้าเป็นผลแก่หรือสุกผิวเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวนวล หรือสีเขียวตองอ่อน ลุงบัวเรียน เล่าให้ฟังในท้ายนี้ว่า วิธีเก็บ เมื่อแคนตาลูปแอปเปิ้ลแก่หรือสุก จะใช้มีดที่มีความคมหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ตัดที่ขั้วผลแล้ววางในตะกร้าหรือภาชนะที่เหมาะสม จากนั้นนำไปล้างน้ำหรือเช็ดให้สิ่งสกปรกที่ติดกับผิวผลออกและสะอาด นำผลแคนตาลูปแอปเปิ้ลไปบรรจุใส่ถุงพลาสติกเตรียมนำไปวางขาย ตลาด แคนตาลูปแอปเปิ้ลจะปลูกต้นเดือนพฤศจิกายนแล้วไปเริ่มเก็บเกี่ยวในราวปลายเดือนมกราคม ปีนี้ขายได้เงิน 100,000 บาท โดยได้จัดแคนตาลูปแอปเปิ้ลบรรจุถุงพลาสติกนำออกมาวางขายที่บริเวณหน้าสวน 1 ถุง 8 ลูก ขาย 100 บาท บรรจุถุงพลาสติก 1 ถุง 5 ลูก ขาย 50 บาท เป็นการบริการและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สัญจรผ่านไปมาได้เลือกซื้อไปรับประทานหรือเป็นของฝาก นอกจากนี้ ยังขายส่งให้กับพ่อค้าในราคาถุงละ 25 บาท ต่อกิโลกรัม เพื่อนำไปขายที่ตลาดในเมืองหรือตลาดจังหวัดใกล้เคียง เป็นการกระจายผลผลิตให้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น จากเรื่องราวของ ลุงบัวเรียน...ปลูกแคนตาลูปแอปเปิ้ล ได้เงินแสน ได้บอกเล่าถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดคุณค่า เรื่องของผลไม้เศรษฐกิจที่ปลูกง่าย โตไว เมื่อปฏิบัติดูแลรักษาดีก็ให้ผลผลิตดก ให้ผลตอบแทนคุ้มทุน มีตลาดรองรับ เป็นผลไม้ชนิดใหม่ที่มีรสชาติหวาน หอม กรอบ และอร่อย ที่เสริมสร้างรายได้ให้ครอบครัวเกษตรกรดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง มีความเข้มแข็งและมั่นคง สนใจเยี่ยมชม หรือต้องการรายละเอียด ก็ลองแวะไปพูดคุยกับ ลุงบัวเรียน หรือ ป้าสุบรรณ หลักทอง ที่บ้านเลขที่ 35 หมู่ที่ 1 ตำบลดงเจริญ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110 หรือโทรศัพท์ (088) 1241-288 ก็ได้เช่นกันครับ
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ยโสธร
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM