เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปั้นเกษตรกรปลูก'มะลิ'เงินล้าน!
   
ปัญหา :
 
 
หลังชาวบ้านในตำบลแก้มอ้น อ.จอมบึง จ.ราชบุรีต้องทนกับภาวะแห้งแล้งซ้ำซากมานานหลายสิบปี เนื่องจากพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน ในที่สุดปัญหาดังกล่าวก็เริ่มหมดไป เมื่อสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดราชบุรี โดยการนำของบรรลือศักดิ์ ไกรโชค มีแนวคิดในการบูรณาการความร่วมมือกับสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 8 ราชบุรี จัด “โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยแล้งเขตปฏิรูปที่ดิน” ขึ้นมา เพื่อสูบน้ำจากดิน โดยก่อสร้างระบบประปาบาดาล กระจายไปรอบหมู่บ้าน พร้อมวางแนวท่อจ่ายน้ำเข้าแปลงเกษตรกรเพื่อพลิกฟื้นผืนดินเกษตรกรรมของชาวบ้านให้กลับมามีความชุ่มชื่นอีกครั้ง "น้ำคือชีวิต" หลักคิดสำคัญที่พ่อหลวงพระราชทานให้แก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อนำไปปฏิบัติในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนยังกึกก้องอยู่ในหัวสำหรับ "สมชัย คำแก้ว" หนุ่มใหญ่วัย 60 ปี หนึ่งในเกษตรกรชาวตำบลแก้มอ้นที่เข้ามาอาศัยทำกินในเขตปฏิรูปที่ดิน โดยยึดอาชีพปลูกอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด และเกษตรผสมสาน แต่ต้องประสบปัญหาขาดทุนทุกปี ทำให้เกิดความท้อแท้ และเงินเก็บที่มีนำไปลงทุนไปนั้นหดหายไปจนเกือบหมดตัว เนื่องจากผลผลิตที่ปลูกคุณภาพต่ำ ส่งผลให้ราคาผลผลิตที่ได้ตกต่ำไปด้วย จากปัญหาดังกล่าว ส.ป.ก จึงเข้าช่วยเหลือจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรขึ้นจนพื้นที่มีน้ำกิน น้ำใช้ในการเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์ จากนั้นจึงพลิกผันหันมาปลูกมะลิแทนการปลูกพืชไร่ หลังจากได้รับคำแนะนำจากเพื่อนบ้านว่าปลูกมะลิไม่ยากอย่างที่คิดและมีรายได้ใช้จ่ายภายในบ้านทุกวัน จึงเริ่มสนใจไปซื้อกิ่งพันธุ์มาจาก จ.นครนายก ปลูกในพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรจาก ส.ป.ก.จำนวน 3 ไร่ ได้ผลผลิตภายใน 2 เดือน ระยะแรกปริมาณผลผลิตมะลิที่ได้ยังไม่มากเท่าที่ควร แต่มะลิจะให้ผลผลิตได้ดีมีปริมาณมากขึ้นการปลูกจะต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี และหลังจาก 2 ปีไปแล้วผลผลิตที่ได้จะมากถึง 10 กิโลกรัม หรือมากกว่าต่อไร มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 3 หมื่นบาทต่อสัปดาห์ หรือเฉลี่ยปีละล้านกว่าบาท "การปลูกมะลิทำไม่ยาก จะโตได้ดีในสภาพแวดล้อมดินร่วนซุยมีการระบายน้ำดี มีความเป็นกรด-ด่าง 5.5-6.5 มีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารสมบูรณ์ ได้รับแสงแดดเต็มที่เพื่อให้มีดอกดก ส่วนการขยายพันธุ์ที่นิยมกันมากที่สุดคือ การปักชำ" สมชัยแจงรายละเอียดต่อว่า การปลูกมะลินิยมนั้นปลูกในช่วงฤดูฝน หรือประมาณเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคม ขุดหลุมลึก กว้าง และยาวด้านละ 50 ซม. เริ่มแรกให้ใส่ปุ๋ยคอกและวัสดุอื่นๆ ในอัตราส่วน 1:1:1 พร้อมทั้งเติมปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) และปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 อย่างละ 1 กำมือ คลุกให้เข้ากัน แล้วใส่กลับลงไปในหลุมใหม่ ทิ้งไว้ 7-10 วัน จึงนำต้นมะลิลงปลูก สำหรับเคล็ดลับการปลูกแบบง่ายๆ ต้องให้น้ำแบบระบบน้ำหยด ซึ่งมะลิต้องการน้ำปานกลาง อาจจะให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง ส่วนการใส่ปุ๋ยให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้นขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม ส่วนโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญต้องระวัง ได้แก่ โรครากเน่า โรคแอนแทรกโนส โรครากปม หนอนเจาะดอก หนอนเจาะใบ หนอนเจาะลำต้น และเพลี้ยไฟ ขอบคุณ ส.ป.ก.ที่นำสิ่งดีๆ มามอบให้เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินของตำบลแก้มอ้น โดยเฉพาะการพัฒนาแหล่งน้ำที่ทำให้ผลผลิตด้านการเกษตรมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดอีกด้วย และ สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินให้มีอาชีพและรายได้มั่นคงต่อไปในอนาคต” นายสมชัยกล่าวทิ้งท้าย จะเห็นว่าปัจจุบันบทบาทของ ส.ป.ก.ใช่เพียงมีภารกิจจัดหาที่ดินทำกินให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรเท่านั้น แต่ยังมีภารกิจหลักในการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ให้สามารถเพียงพอต่อการทำเกษตรกรรมของเกษตรกรอีกด้วย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่อาศัยในเขตปฏิรูปที่ดินให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั่นเอง
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ราชบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM