เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
งาขี้ม้อน พืชให้โอเมก้า 3 แทนปลาน้ำลึก
   
ปัญหา :
 
 
งาม้อน หรือ งาขี้ม้อน เป็นพืชสมุน ไพรที่ปลูกในประเทศไทยกันมานานในพื้นที่ภาคเหนือหลายจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น มีพื้นที่ปลูกทั้งหมดประมาณ 3,400 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 80 กิโลกรัมต่อไร จากรายงานของ คุณพรรณผกา รัตนโกศล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 เชียงใหม่ รายงานว่าได้ทำการสำรวจการปลูกงาม้อนในเขตภาคเหนือตอนบนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน พบว่างาม้อนมีการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนเชิงเขา ผลการสำรวจทั้งหมด 30 แหล่งผลิต พบว่างาม้อนมีทั้งหมด 130 สายพันธุ์ มีทั้งขนาดเมล็ดใหญ่ เมล็ดเล็ก และมีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม เทาอ่อนจนถึงสีขาว การปลูกงาม้อนส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่ดอน และอาศัยน้ำฝน เกษตรกรที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย งาม้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง งาม้อนมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง มีฟอสฟอรัส และแคลเซียมมากกว่าพืชผักทั่วไปหลายเท่า มีแคลเซียม 410-485 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม นอกจากนั้นยังอุดมด้วยวิตามินบี และมีสารเซซามอลที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกล่าวว่า สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งและยังช่วยให้ร่างกายแก่ช้าลงอีกด้วย มีข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ โภชนาการหน่วยบริการการวิจัยด้านอาหาร กรมวิชาการ-เกษตรแห่งสหรัฐ อเมริการะบุว่า บุคคลทั่วไปอายุ 10-18 ปี และอายุ 19-65 ปี ต้องการแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน และอายุมากกว่า 65 ปีต้องการแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัมต่อวัน จาก รายงานระบุผลวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ พบว่าน้ำมันงาม้อนมีโอเมก้า 3 ถึงร้อยละ 56 และเป็นโอเมก้า 6 ร้อยละ 23 คุณพรรณผกา กล่าวว่า เมื่อพูดถึงโอเมก้า 3 หลายคนคงนึกถึงน้ำมันปลา (fish oil) ซึ่งสกัดมาจากปลาทะเลน้ำลึกที่มีสรรพคุณบำรุงสมอง แต่ราษฎรที่อยู่ตามยอดดอยต่าง ๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างไกลทะเล ไม่ได้ขาดโอเมก้า 3 เลย เนื่องจากเขามีพืชที่วิเศษที่เป็นแหล่งโอเมก้า 3 คืองาม้อนนั่นเองสารสกัดจากเมล็ดงาม้อนเป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นคือ โอเมก้า 3 คุณพรรณผกา กล่าวว่า ใบงา ม้อนเป็นอาหารราคาแพงของเกาหลี การสกัดสารออกมาในรูปของน้ำมัน ทำได้จากเมล็ดและใบสด น้ำมันที่สกัดจากเมล็ดใช้ทำอาหารและยา น้ำมันที่สกัดจากใบใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย ในญี่ปุ่นใช้เป็นสารแต่งรสชาติ ใช้เป็นสารแต่งกลิ่นอาหาร และมีสรรพคุณแก้เคล็ดขัดยอก ลดริ้วรอยบนใบหน้า บำรุงผิวหน้า นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยจากใบงาม้อนยังมีราคาถูกกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันกุหลาบ และมีศักยภาพที่จะสามารถใช้แทนที่น้ำมันหอมระเหยจากกุหลาบในอุตสาหกรรมเครื่องหอมอีกด้วย “เราได้ทำการสำรวจการปลูกงาม้อนในเขตภาคเหนือตอนบนในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน พบว่ามีการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนและเชิงเขา ผลการสำรวจทั้งหมด 30 แหล่งผลิตงาม้อน 130 สายพันธุ์ มีความแตกต่างทั้งขนาดเมล็ดใหญ่ เล็กไม่เท่ากัน สีต่างกันตั้งแต่น้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลไหม้ สีเทาเข้ม เทาอ่อนจนถึงสีขาว ซึ่งมีปริมาณน้ำมันและโอเมก้า 3 แตกต่างกัน” เนื่องจากงาม้อน มีความหลากหลายทางพันธุกรรม ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน จึงได้ดำเนินการทดลองปลูก เพื่อคัดเลือกสายพันธุ์งาม้อนที่มีคุณภาพดี และ มีผลผลิตสูง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการ คาดว่า ปี 2555-2556 ศูนย์ฯ คงจะได้มีงาม้อนสายพันธุ์ดีที่จะแนะนำ ให้เกษตรกรปลูกเสริมรายได้ต่อไป คุณ พรรณผกา กล่าวสนใจข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรน่าน ถนนน่าน-ทุ่งช้าง ต.ทุ่งช้าง อ.เมือง จ.น่าน (นวลศรี โชตินันทน์).
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
น่าน
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM