เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
แกล้งดิน กับเปียกแห้งแกล้งข้าว เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
   
ปัญหา :
 
 
มีความสงสัยเกี่ยวกับ การแกล้งดินในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน กับการทำเปียกแห้งแกล้งข้าวนั้น มีหลักการเดียวกันหรือไม่ และมีความแตกต่างกันอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
การแกล้งดิน เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชประสงค์เพื่อปรับปรุงดินพรุ ที่เป็นกรดจัดหรือดินเปรี้ยวจัด พื้นที่สนองพระราชดำริ อยู่ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเกษตรกรอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่สามารถใช้ดินพรุทำนาได้ หรือหากแม้ทำได้ก็ได้ผลผลิตน้อยเต็มที หลังจากปรับปรุงดินแล้วสามารถปลูกข้าวได้ ให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์เป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ดินที่เป็นกรดจัดจะมีธาตุเหล็ก และอะลูมินัมในปริมาณมากผิดปกติ ธาตุทั้งสองจับตัวกันเป็นแร่ไพไรต์ มีลักษณะเป็นเม็ดสีเหลืองฟาง มีขนาดเล็กกว่านิ้วก้อย แพร่กระจายปะปนอยู่ในดิน ตั้งแต่ระดับผิวดินและลึกลงไปในดินอีกหลายเมตร นอกจากเหล็กและอะลูมินัมจะเป็นพิษกับรากพืชโดยตรงแล้ว ยังจับธาตุอาหารเมื่อใส่ปุ๋ยลงดินเอาไว้ โดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส ข้าวจึงไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดินที่เป็นกรด หากขังน้ำไว้ตลอดเวลา สภาพของความเป็นกรดจะอยู่คงที่ แต่เมื่อใดมีการระบายน้ำออกจากแปลงจนแห้ง ทำให้ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยามากขึ้น ความเป็นกรดจะรุนแรงขึ้นตามไปด้วย เมื่อปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง ประมาณ 5-7 วัน แล้วสูบน้ำเข้าในแปลงและขังไว้ 2-3 วัน พร้อมกับใส่ปูนขาวหรือปูนมาร์ลไปด้วย จากนั้นจึงให้ระบายน้ำล้างเอาความเป็นกรดทิ้งไป ทำเช่นเดียวกันอีกหลายครั้ง ในที่สุดความเป็นกรดของดินจึงลดความรุนแรงลง ทำให้ดินที่ปรับปรุงแล้วใช้ปลูกข้าวได้เป็นปกติ ส่วน เปียกแห้งแกล้งข้าว นั้นมีเรื่องดินเข้ามาเกี่ยวข้องเช่นเดียวกัน วิธีนี้ชาวนาญี่ปุ่นใช้มานานเกินกว่า 50 ปี การทำนาต้องมีการเตรียมดิน ด้วยวิธีไถกลบตอซัง และวัชพืช แล้วทำเทือกปรับระดับหน้าดินให้เรียบ ก่อนการหว่านเมล็ดข้าว หรือบางแห่งใช้วิธีปักดำก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าว เกิดการหมักและย่อยสลายของตอซังและเศษซากพืชในดิน ผลตามมาคือเกิดแก๊สแอมโมเนีย แก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไข่เน่า ซึ่งล้วนเป็นอันตรายกับรากข้าวทั้งสิ้น หลังจากปลูกข้าวไปแล้วระยะหนึ่ง มักเกิดอาการเมาตอซังขึ้น ให้สังเกตที่รากข้าวจะพบว่ามีสีดำคล้ำ ทำให้ดูดน้ำและอาหารได้น้อยลง วิธีแก้ไขให้ระบายน้ำออกจากแปลง ปล่อยให้ดินแห้งจนแตกระแหง เพื่อให้แก๊สพิษดังกล่าวระเหยไปในอากาศ ขณะเดียวกัน รากข้าวก็มีโอกาสได้รับออกซิเจนมากขึ้น ตัวอย่างความสำเร็จในญี่ปุ่น เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ญี่ปุ่นได้เร่งปฏิรูปที่ดิน ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา นำโดย นายพลแม็คอาเธอร์ มีการจัดรูปแปลงนาให้มีขนาด 10x100 ตารางเมตร หรือ 0.1 เฮกแตร์ หรือเฮกตาร์ ญี่ปุ่นเรียกว่า 10 อาร์ ใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ มีการวางท่อใต้ดิน ทำให้การจัดการฟาร์มเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดฤดูปลูกข้าวของชาวญี่ปุ่น มีการระบายน้ำเข้า-ออกอย่างน้อย 5 ครั้ง หรือ 5 รอบ โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด ในรอบสุดท้าย ระบายน้ำออกจากนาก่อนข้าวออกรวง 10-15 วัน ปล่อยดินให้แห้งจนแตกระแหง ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ก่อนหว่านปุ๋ยแต่งหน้าอีกครั้ง ให้ทั่วแปลง เม็ดปุ๋ยจะตกลงตามรอยแยกของดิน จากนั้นจึงระบายน้ำเข้าแปลงนา ต่อมาดินยุบตัวปิดทับปุ๋ยเอาไว้ ช่วยให้รากข้าวนำปุ๋ยไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งต่างกับวิธีหว่านปุ๋ยลงในนาขณะที่มีน้ำขังทำให้เกิดการสูญเสียปุ๋ยไป เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ และวัชพืชแย่งไปใช้เป็นอาหาร เกิดการระเหยเป็นแก๊สลอยไปในอากาศ ถูกน้ำพัดพาไหลไปที่อื่น และซึมลึกลงในดินเกินระดับรากข้าวจะนำมาใช้ได้ ข้าวจึงใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้เพียง 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ใส่ลงไปเท่านั้น จากผลการวิจัยพบว่า วิธีดังกล่าวสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ไม่น้อยกว่า 7-10 เปอร์เซ็นต์ ในประเทศไทยก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เพิ่มการฝังท่อเอสลอนสีฟ้าเจาะรูพรุน ฝังลงดินเพื่อให้มองเห็นระดับน้ำใต้ดินในนา จะเห็นว่าการทำวิธีเปียกแห้งแกล้งข้าวนั้นความจริงแล้วเป็นการช่วยสนับสนุนให้ข้าวได้ประโยชน์มากกว่าการทรมานต้นข้าว อีกทั้งดินก็ได้อานิสงส์ไปด้วย คือแก๊สพิษระเหยไปในอากาศ ระบบรากข้าวได้รับทั้งออกซิเจนและปุ๋ยอย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การทำเปียกแห้งแกล้งข้าว จึงเป็นการใช้สำนวนให้ไพเราะและสอดคล้องกับคำว่า แกล้งดิน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งประเทศครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
บึงสามร้อย
อำเภอ / เขต :
ลำลูกกา
จังหวัด :
ปทุมธานี
รหัสไปรษณีย์ :
12156
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM