เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
“พลอยชมพู” ส้มโอพันธุ์ใหม่ ผลแป้น ใหญ่กว่าลูกบอล เบอร์ 5
   
ปัญหา :
 
 
“พลอยชมพู” ส้มโอพันธุ์ใหม่ รสหวานอมเปรี้ยว หนักเกือบ 3 กิโลกรัม ลูกโต ผลแป้น ใหญ่กว่าลูกบอล เบอร์ 5 ส้ม โอ เป็นผลไม้รสอร่อยมีหลากหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักและคุ้นเคยกันดี ได้แก่ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง พันธุ์ทับทิมสยาม พันธุ์ขาวทองดี พันธุ์ขาวแตงกวา พันธุ์โรตี พันธุ์ขาวใหญ่ ฯลฯ ทุกวันนี้ส้มโอไทยขายดีและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฮ่องกง สิงคโปร์ และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ในฉบับนี้ ผู้เขียนมีข่าวดีมาบอกต่อ สำหรับเกษตรกรที่สนใจปลูกส้มโอ เพราะล่าสุด ผู้เขียนไปเจอส้มโอพันธุ์ใหม่ ชื่อว่า “ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู” ลูก โต รสชาติดี ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตสูง เหมาะสำหรับปลูกเชิงการค้าในอนาคต เชื่อว่าคนไทยเชื้อสายจีนที่นิยมไหว้พระ ไหว้เจ้า ในช่วงเทศกาลและงานบุญน่าจะถูกใจกับขนาดบิ๊กไซซ์ของส้มโอพันธุ์นี้ “พลอยชมพู” ส้มโอสัญชาติไทย เชื้อสายมาเลย์ อาจารย์แป๊ะ หรือ คุณบุญเกื้อ ชมฉ่ำ ปัจจุบันเป็นข้าราชการครู ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดนนทบุรี และเป็นผู้ขยายพันธุ์ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู ได้เล่าให้ฟังว่า ผมรู้จักกับ คุณนพดล อริยะเครือ อาชีพหลักทำงานเป็นวิศวกร และใช้เวลาว่างปลูกต้นไม้ คุณนพดลอ่านเจอเรื่องมะนาวแป้นสิรินนท์ ก็ติดตามมาเยี่ยมชมถึงสวน เราได้แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง จนคุณนพดลกลายเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการของสวนแห่งนี้ในที่สุด เมื่อปีก่อน คุณนพดลไปทำธุรกิจที่มาเลเซีย ระหว่างเดินทางคุณนพดลโทรศัพท์มาเล่าให้ผมฟังว่า เขาไปเจอส้มโอพื้นบ้านของมาเลเซีย ที่มีลักษณะผลใหญ่ ทรงแป้น แตกต่างจากส้มโอที่ปลูกในไทย ผมจึงขอให้คุณนพดลซื้อส้มโอมาฝากหน่อย เขาขับรถจากกัวลาลัมเปอร์กว่า 100 กิโลเมตร มาที่ด่านสะเดา เพื่อส่งส้มโอมาให้ผมทางไปรษณีย์ วันรุ่งขึ้น ผมแกะกล่องไปรษณีย์ เจอส้มโอผลโตที่มีขนาดใหญ่กว่าลูกฟุตบอล เบอร์ 5 เจ้าของสวนห่อมิดผล เพื่อป้องกันแมลงวันทอง ทำให้ผลส้มโอมีสีเหลือง ผลส้มโอมีขั้วติดอยู่ ยาวกว่าฝ่ามือเล็กน้อย ผมได้ตัดตาขั้วกิ่ง จำนวน 3 ท่อน นำไปเสียบกิ่งกับตอส้มโอ จนได้กิ่งพันธุ์ส้มโอต้นใหม่ ที่มีสภาพแข็งแรง สมบูรณ์ และเรียกชื่อส้มโอพันธุ์นี้ว่า “พลอยชมพู” “ผม อยากให้เกษตรกรไทยมีพันธุ์พืชหลากหลายสายพันธุ์ให้ทดลองเลือกปลูก ผมเชื่อมั่นคุณภาพของส้มโอพลอยชมพูว่า มีคุณภาพสู้กับส้มโอพันธุ์ไทยได้แน่นอน เพราะผมทดลองชิมส้มโอมาแล้วทุกพันธุ์ พบว่า ส้มโอส่วนใหญ่มีเนื้อไม่นุ่มเหมือนพันธุ์พลอยชมพู จึงอยากให้ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่สนใจปลูกส้มโอเป็น อาชีพและเป็นงานอดิเรก” อาจารย์แป๊ะ กล่าว คุณนพดล เล่าเพิ่มเติมว่า มาเลเซียมีแหล่งปลูกส้มโอพันธุ์ดีอยู่ในตำบลทัมบุน มี 2 ชนิด คือ ทัมบุนไวท์ ที่เป็นส้มโอพันธุ์เนื้อสีขาว รสชาติหวาน และทัมบุนพิงค์ เนื้อสีชมพู รสหวานอมเปรี้ยว ชาวมาเลย์ส่วนใหญ่ไม่นิยมกินผลไม้รสเปรี้ยว ทำให้ส้มโอเนื้อสีขาวขายดีมากในตลาดแห่งนี้ เมื่อปีที่แล้ว ผมจัดส่งส้มโอพันธุ์ทัมบุนพิงค์ให้อาจารย์แป๊ะไปทดลองปลูก ล่าสุดในปีนี้ ผมมีโอกาสเดินทางไปมาเลเซียอีกครั้ง ได้แวะไปชมสวนส้มโอของ มิสเตอร์ชิน ที่เป็นเลขาธิการของสมาคมผู้ปลูกส้มโอของเมืองอีโบ ที่นี่เป็นทั้งรีสอร์ตและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ลุงชิน ปลูกส้มโอเนื้อขาวและเนื้อชมพู และตั้งชื่อพันธุ์ส้มโอของตัวเองว่า ทัมบุนชิน สวนแห่งนี้ยังขายพันธุ์ส้มโอที่เป็นกิ่งตอนให้แก่ผู้สนใจด้วย ผม ขอกิ่งทัมบุนไวท์จากต้น ลุงชินก็ตัดให้ฟรี และบอกว่า กิ่งแบบนี้ปลูกไม่ขึ้นหรอก เนื่องจากเกษตรกรชาวมาเลย์รู้จักการขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอนเพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรไทยเจ๋งกว่า อาจารย์แป๊ะสามารถนำกิ่งพันธุ์ส้มโอทัมบุนไวท์มาเสียบยอด ขยายพันธุ์ได้เป็นร้อยต้น จุดเด่น ของ ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู คุณฉัตราพร สิงหราช หรือ คุณเล็ก ซึ่งเป็นน้องสาวอาจารย์แป๊ะ โชว์ผลส้มโอพันธุ์พลอยชมพู ที่มีลักษณะเด่นแปลกตาจากส้มโอพันธุ์ทั่วไปที่จำหน่ายในท้องตลาดเมืองไทย เนื่องจากส้มโอพันธุ์นี้มีขนาดผลโต ทรงผลแป้น ไม่มีจุก เมื่อนำไปชั่งน้ำหนัก เข็มกิโลก็ไปหยุดอยู่ที่ตัวเลข 2.7 กิโลกรัม เมื่อนำลูกฟุตบอล เบอร์ 5 มาวางเปรียบเทียบขนาด ก็พบว่า ส้มโอพันธุ์พลอยชมพูมีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากส้มโอผลนี้มีเส้นรอบวงอยู่ที่ 72 เซนติเมตร ขณะที่ลูกฟุตบอล เบอร์ 5 มีเส้นรอบวงเพียง 66 เซนติเมตร เท่านั้น ส้มโอพันธุ์นี้ ที่ปลูกในมาเลเซีย มีหลายขนาด น้ำหนักต่อผล เฉลี่ยตั้งแต่ 2-3 กิโลกรัม คุณเล็กลงมือปอกส้มโอเพื่อโชว์เนื้อใน ก็พบว่า ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู มีเปลือกผลค่อนข้างบาง สีของเปลือกในและผนังกลีบสีชมพูเรื่อๆ เนื้อมีลักษณะนิ่ม ไม่ฉ่ำน้ำ จำนวนกลีบ 14-16 กลีบ มีรสหวานอมเปรี้ยว อาจารย์แป๊ะ บอกว่า ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู มีรสชาติใกล้เคียงกับส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา หากนำมาแกะเนื้อขายเป็นแพ็กและวางเคียงคู่กัน ผมเชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะเลือกหยิบส้มโอพันธุ์พลอยชมพูมากกว่าพันธุ์อื่นๆ เนื่องจากส้มโอพันธุ์พลอยชมพู มีสีสันเด่นสะดุดตา แถมมีรสชาติถูกใจนักชิม เพราะมีรสหวานอมเปรี้ยว ตรงกับรสนิยมของคนไทยที่นิยมกินผลไม้รสหวานนำและมีรสเปรี้ยวตามเล็กน้อย ผมมั่นใจว่า ส้มโอพันธุ์ใหม่นี้มีศักยภาพสูงที่จะผลิตเชิงการค้าในอนาคต การปลูก ดูแลรักษา อาจารย์แป๊ะ แนะนำเทคนิคการปลูกส้มโอว่า เกษตรกรโดยทั่วไปมักนิยมปลูกส้มโอแบบยกเนิน กว้างประมาณ 80 เซนติเมตร หากต้องการให้สะดวกต่อการดูแลจัดการ ผมขอแนะนำให้ปลูกส้มโอในวงบ่อซีเมนต์ ความสูง 2 ลูก (ไม่ปิดก้นถัง) วิธีนี้เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ลุ่มต่ำ ริมน้ำ แถมสะดวกต่อการดูแลใส่ปุ๋ยและการจัดการวัชพืชได้ง่าย สำหรับวัสดุปลูกส้มโอที่อาจารย์แป๊ะแนะนำก็คือ ขุยมะพร้าว 2 ส่วน ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน นำวัสดุปลูกทุกอย่างมาผสม ใส่กิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ และเทวัสดุปลูกที่เตรียมไว้จนเต็มวงบ่อซีเมนต์ ใช้เชือกโยงและเอาไม้คาดต้นไว้เพื่อป้องกันต้นทรุด คอยเติมวัสดุปลูกเป็นระยะ เมื่อรากต้นส้มโอแทงลงดินแล้ว ต้นส้มโอก็จะตั้งตัวได้ไว อัตราการตายแทบไม่มี เนื่องจากต้นส้มโอพันธุ์พลอยชมพูขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเสียบกิ่ง ทำให้ลำต้นแข็งแรง รากหากินเก่ง หากมีการเสริมรากอีก 2 โคน เกษตรกรไม่ต้องเหนื่อยในการดูแล เมื่อเทียบกับต้นส้มโอที่เกิดจากการตอนกิ่ง คุณนพดล กล่าวว่า การเพาะปลูกพืชให้ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ พันธุ์พืช การจัดการฟาร์ม และการจัดการธาตุอาหาร หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทำอาชีพการเกษตรไม่รุ่ง ที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมบำรุงต้นโดยให้ปุ๋ยเคมีสูตรรวมที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ความจริง พืชยังต้องการธาตุอาหารรอง คือ แคลเซียม แมกนีเซียม ซัลเฟอร์ และธาตุอาหารเสริม ที่มีบทบาทสำคัญต่อผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตพืช ซึ่งธาตุอาหารเสริมที่สำคัญ ได้แก่ สังกะสี เหล็ก ทองแดง แมงกานีส โบรอน โมลิบดีนัม นิกเกิล คลอรีน ธาตุอาหารเสริมเหล่านี้พืชต้องการในสัดส่วนที่น้อยมาก เพียง 1 ส่วน ต่อล้านส่วน แต่พืชจะขาดธาตุอาหารเสริมไม่ได้ มิฉะนั้น จะทำให้พืชอ่อนแอและตายในที่สุด หากเกษตรกรใส่ใจเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ครบถ้วน ก็จะช่วยบำรุงพืชให้เติบโตอย่างแข็งแรงและมีผลผลิตสูงตามที่ต้องการ เจอกันที่ งานเกษตรมหัศจรรย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับผู้สนใจอยากได้ส้มโอพันธุ์พลอยชมพู สามารถแวะไปเยี่ยมชมและเลือกซื้อได้ที่บู๊ธสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ภายในงานแสดงสินค้า “เกษตรมหัศจรรย์ 2014” ที่ กำลังจะมีขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2557 นี้ สินค้ามีจำนวนจำกัด หากกลัวว่าจะแย่งซื้อไม่ทันภายในงาน สามารถสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าได้ที่ สวนบางไผ่พันธุ์ไม้ เลขที่ 113/4 หมู่ที่ 4 ซอยวัดสังฆทาน ถนนนครอินทร์ พระราม 5 ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี หรือติดต่อโดยตรงได้ที่ คุณฉัตราพร สิงหราช (เล็ก) โทร. (086) 569-6225 หรือ คุณกัลยารัตน์ ชมฉ่ำ (แดง) โทร. (084) 656-1174 หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับส้มโอพันธุ์พลอยชมพู พูดคุยกับอาจารย์แป๊ะ ได้โดยตรงที่ โทร. (085) 326-6003 นอกจากนี้ หากใครอยากได้มะนาวพันธุ์ดี “แป้นสิรินนท์” ที่ มีลักษณะเด่น คือปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตตลอดปี ขนาดผลใหญ่ เปลือกบาง น้ำหอม สามารถปลูกได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ก็สามารถมาเลือกซื้อได้ในงานนี้เช่นกัน คุณเล็ก จำหน่ายกิ่งพันธุ์มะนาวแป้นสิรินนท์ในราคาพิเศษ แค่ต้นละ 200 บาท เท่านั้น หากใครมีเวลาว่าง สามารถแวะเข้ามาชมพันธุ์ไม้นานาชนิด ที่สวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ได้ตลอดเวลา เชื่อว่าทุกคนที่แวะเข้ามาชมจะได้พันธุ์ไม้ที่ถูกใจนำกลับไปปลูกที่ บ้านอย่างแน่นอน ใกล้ๆ กับสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ยังมีอาหารรสอร่อยให้ลิ้มลองหลากหลายเมนู ที่ครัวแม่ทวีสุข โทร. (02) 449-3985 หาได้ไม่ยาก เพราะอยู่ใกล้ปากทางหมู่บ้านพฤกษา ห่างจากสวนบางไผ่พันธุ์ไม้ ไม่เกิน 100 เมตร เมนูที่ต้องลิ้มลองคือ ก๋วยเตี๋ยวเป็ดรสอร่อย จำหน่ายในราคาไม่แพง เปิดบริการทุกวัน
วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นนทบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM