เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
“ปลาเผาะ”สุดยอดปลาแม่น้ำโขง สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ เพื่อการส่งออก
   
ปัญหา :
 
 

พื้นที่แนวยาวตลอดริมฝั่งแม่น้ำโขงกว่า 153 กิโลเมตร ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้ริมน้ำนอกจากมีอาชีพประมงออกจับปลาในช่วงฤดูน้ำหลาก แล้ว ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งมีทั้งปลาหนังและปลามีเกล็ด เช่น ปลานิล ปลาแข้ ปลาคัง หากมองลงไปตามริมตลิ่งจะเห็นกระชังปลายาวสุดลูกหูลูกตา

ด้วย ความพร้อมด้านสถานที่และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถใช้เพาะเลี้ยงปลาได้ หลากหลายชนิด สำนักงานเคหะชุมชนจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก (ปลาเผาะ) ริมฝั่งแม่น้ำโขงขึ้น โดยมีการพัฒนาการเลี้ยงให้อยู่ในรูปแบบของกระชังลอยน้ำ เพื่อส่งเสริมและสร้างรายได้ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับชาวนครพนมได้มีอาชีพที่เพิ่มขึ้น

ตำบล อาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นตำบลหนึ่งที่มีพื้นที่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง อาชีพของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นอกจากจะทำการเกษตรเป็นอาชีพหลักแล้ว ยังมีอาชีพหาปลาเป็นรายได้เสริมไปพร้อมๆ กับเลี้ยงปลาในกระชังควบคู่กัน ดังเช่นกับ คุณพันธ์ อ่อนมณี บ้านเลขที่ 81 หมู่ที่ 1 ตำบลอาจสามารถ ที่ใช้เวลาว่างหลังจากการทำการเกษตรหันมาเลี้ยงปลาเผาะในกระชังริมฝั่งแม่ น้ำโขง จำนวน 22 กระชัง

คุณ พันธ์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนจะหันมาประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงปลานั้น ตนเป็นแม่บ้านที่มีหน้าที่ดูแลครอบครัวเหมือนกับผู้หญิงคนอื่นๆ แต่หลังจากสามีเกษียณอายุราชการและย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดของตัวเองที่ตำบล อาจสามารถ ได้เห็นชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงส่วนใหญ่เลี้ยงปลาเผาะใน กระชัง ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานเคหะชุมชนที่เข้ามาส่งเสริมให้ชาวบ้านทำเป็น อาชีพเสริม จึงเข้าร่วมโครงการ

ใน ช่วงเริ่มต้นคุณพันธ์เริ่มเลี้ยง 1 กระชัง เนื่องจากยังไม่มีความรู้ อยากจะทดลองดูก่อนในช่วงเริ่มต้น ยังไม่อยากลงทุนเยอะ ทำการศึกษาและเข้ารับการอบรมการเพาะเลี้ยงปลาเผาะในกระชังเชิงพาณิชย์เพื่อ การส่งออก มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เลี้ยงรายอื่น จนมีความรู้และประสบการณ์จนสามารถขยายพื้นที่และกระชังเลี้ยงเพิ่ม

ปลา เผาะ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตเร็ว มีน้ำหนักดี และมีกระบวนการเลี้ยงที่เหมือนกับการเลี้ยงปลากระชังทั่วๆ ไป ประกอบกับพื้นที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบมีความอุดสมบูรณ์ ทำให้การเพาะเลี้ยงไม่มีปัญหา ทำให้เราสามารถเพิ่มกระชังเลี้ยงได้ต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันพื้นที่ที่ติดริมน้ำโขงได้ปรับเปลี่ยนให้เป็นสถานที่เพาะเลี้ยง ปลาเผาะในกระชังทั้งหมด 22 กระชัง

คุณ พันธ์ จะให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอนของการเลี้ยง โดยเริ่มตั้งแต่กระชังที่ใช้เลี้ยงจะทำด้วยตนเอง ซื้อเหล็กนำมาตัดเชื่อมต่อกันเป็นกระชัง มีขนาดที่หลากหลาย (2x4, 2x3, 2x4) ด้านล่างแพใช้ถังพลาสติกขนาดใหญ่ผูกติดเพื่อให้แพสามารถลอยขึ้นลงตามระดับ น้ำ เนื้ออวนใช้ตาข่ายตาเล็กและตาใหญ่เย็บซ้อนกัน 2 ชั้น ตามขนาดของกระชัง โดยความลึกของกระชังจากผิวน้ำลงไปประมาณ 150 เซนติเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการจับปลาขาย อีกทั้งทำความสะอาดง่าย ทำให้มีความคงทนและมีอายุการใช้งานที่นาน

นอก จากนี้ คุณพันธ์จะให้ความสำคัญกับช่วงเวลาและฤดูกาล มีการวางแผนการผลิตในแต่ละรุ่นซึ่งในช่วงเดือนพฤษภาคมจะเป็นช่วงที่นำลูกปลา มาอนุบาลมากที่สุด เนื่องจากเป็นเดือนที่น้ำในแม่น้ำโขงพร้อม เหมาะที่จะอนุบาลลูกปลา ทำให้อัตราการรอดของลูกปลาจะมีมากกว่าช่วงฤดูกาลอื่นถึง 90 เปอร์เซ็นต์

ลูก ปลาเผาะแต่ละรุ่นที่นำมาอนุบาล คุณพันธ์จะซื้อตรงจากสำนักงานประมงจังหวัด ซึ่งมีปริมาณจำกัด ต้องสั่งจองล่วงหน้า โดยแต่ละครั้งจะสั่งประมาณ 5,000-7,000 ตัว ในราคาตัวละ 1 บาท

การ เลี้ยงปลาของคุณพันธ์มีการแบ่งแยกกระชังอย่างชัดเจน โดยจะประกอบไปด้วยกระชังอนุบาล 5 กระชัง สำหรับอนุบาลปลาเล็กในช่วงเดือนที่ 1-3 กระชังเลี้ยง 17 กระชัง สำหรับปลาใหญ่ที่ผ่านการอนุบาลและตักแยกออกมาเลี้ยงต่อในช่วงเดือนที่ 4-9 โดยมีอัตราการปล่อยอยู่ที่ 600 ตัว ต่อกระชัง เหตุผลที่แต่ละกระชังปล่อยในอัตราน้อยก็เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบว่ายไปมาอยู่ ตลอดเวลา อีกทั้งเป็นปลาที่มีรูปร่างใหญ่ต้องให้พื้นที่ส่วนตัวในการออกกำลังกายสร้าง กล้ามเนื้อ อัตราการปล่อยแต่ละกระชังจึงค่อนข้างน้อยกว่าปลาชนิดอื่นๆ

ด้าน อาหารการกินของปลานั้น คุณพันธ์บอกมาว่า ในช่วงอนุบาลจะให้เป็นอาหารกบ พอตักแยกไปเลี้ยงในกระชังเลี้ยงใหม่จะเริ่มให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป เบอร์ 1 ประมาณ 1 เดือน หลังจากครบจะเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดสำเร็จรูป เบอร์ 2 ไปจนจับจำหน่าย

ส่วน อาหารเสริม พวกวิตามิน หรือยารักษาโรค คุณพันธ์จะไม่ได้ให้ประจำ เนื่องจากปลาเผาะเป็นปลาที่มีความทนทานต่อโรคสูงกว่าปลาชนิดอื่นๆ สามารถอยู่ได้ในน้ำ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น วิตามินหรืออาหารเสริมไม่มีความจำเป็น จะให้เป็นพืชผักที่หาเก็บได้ในท้องถิ่น ส่วนยารักษาโรคให้ในช่วงที่มีโรคระบาด ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะผสมไปพร้อมกับอาหารที่ให้ วันละ 1 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น ตามความสะดวก) จะหลีกเลี่ยงการให้ประจำทุกวัน เนื่องจากยาที่ใช้นั้นหากให้ต่อเนื่องเป็นประจำจะทำให้มีสารพิษตกค้างอยู่ใน ปลา ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

ใน ส่วนอื่นๆ กิจกรรมแต่ละวันของการเลี้ยงปลาเผาะในกระชัง เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย การจัดการดูแลจึงไม่ลำบาก ใช้เวลาในช่วงที่ให้อาหารจะเป็นเช้า กลาง หรือเย็น เดินตรวจดูความเรียบร้อยทั้งของกระชัง สังเกตการขึ้นกินอาหารในแต่ละวันเพื่อเก็บข้อมูลไปคำนวณปริมาณอาหารที่จะให้ ในครั้งถัดไป

คุณ พันธ์ วางแผนการผลิตให้มีปลาออกจำหน่ายทุกเดือน วางรูปแบบการเลี้ยงให้มีระยะห่างกัน 2 รุ่น หมุนเวียนสับเปลี่ยนให้กับลูกค้าที่รับซื้อประจำในราคาจำหน่าย 100-150 บาท ซึ่งจะปัจจุบันปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการของร้านค้าในจังหวัดที่นำไป ประกอบเป็นอาหารจานเด็ดให้กับนักท่องเที่ยวได้ลิ้มรส

หลัง จากจับปลาจำหน่ายจนหมด กระชังที่ใช้เลี้ยงคุณพันธ์จะนำขึ้นมาทำความสะอาด ฉีดน้ำ ขัดเอาตะไคร่ที่ติดอยู่ตามเนื้ออวนออก ตรวจและซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย ก่อนจะนำไปใช้งานในครั้งถัดไป แต่หากมีเวลาเหลือพอ หรือในช่วงที่รอพันธุ์ปลายังไม่มา จะนำเนื้ออวนที่ทำความสะอาดแล้วไปตากแดดฆ่าเชื้อประมาณ 3 วัน เพื่อป้องกันการเกิดโรค

แต่ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลาเผาะนั้นใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานถึง 1 ปี การจะทำความสะอาดเนื้ออวนหรือตรวจสอบดูรอยฉีกขาดที่อาจเกิดจากปลาหรือกิ่ง ไม้ที่ไหลมากับน้ำไม่ได้บ่อย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยทุกๆ ครั้งที่จะทำการเพาะเลี้ยงรุ่นใหม่ กระชังจะต้องเปลี่ยนทุกปี

สำหรับ ใครที่มีความสนใจ ต้องบอกว่า ปลาเผาะ เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ทุกที่ที่มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา มีราคาขายที่ดี มีการเจริญเติบโตที่ไว เลี้ยงแล้วได้กำไร ตัดสินใจเลี้ยงแล้วไม่เสียใจ ไม่ขาดทุน ต้องการความรู้หรือที่ปรึกษา สอบถามข้อมูลได้ที่ คุณพันธ์ อ่อนมณี หมายเลขโทรศัพท์ (089) 276-1069

 

 

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อาจสามารถ
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นครพนม
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 17 ธันวาคม 2556
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM