เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ภาคตะวันตก กับการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
   
ปัญหา :
 
 

หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชผักที่มีศักยภาพในการส่งออกได้ดี ในเขตภาคตะวันตก มีพื้นที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ ตลอดช่วงที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบครบวงจร ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง บริษัทเอกชนที่รับซื้อผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายต่างประเทศ และหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรที่ประสานงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่ เกษตรกร โดยมีการทำสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า (contract farming)

พื้นที่ ปลูกหน่อไม้ฝรั่งที่สำคัญในเขตภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี และราชบุรี เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าว มีสภาพพื้นที่ดินเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่ง และเป็นเขตที่มีน้ำชลประทานอย่างเพียงพอ จึงทำให้สามารถผลิตหน่อไม้ฝรั่งได้ตลอดปีและมีคุณภาพที่ดีด้วย

ปัจจุบัน ในเขตภาคตะวันตก  มีเกษตรกรประมาณ 5,000 ราย รวมพื้นที่ปลูกประมาณ 12,000 ไร่ เป็นการผลิตหน่อไม้ฝรั่งชนิดหน่อเขียว                                

ส่วนใหญ่จะส่งประเทศญี่ปุ่น ทำรายได้ให้กับเกษตรกรปีละประมาณ 200 ล้านบาท

สำหรับ สถานการณ์การปลูกหน่อไม้ฝรั่งในปัจจุบัน เกษตรกรเริ่มประสบปัญหาการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า เนื่องจากเกษตรกรปลูกในพื้นที่เดิมมากว่า 5 ปี ทำให้ผลผลิตลดลง และจะขยายพื้นที่การระบาดเพิ่มมากขึ้น จนถึงขั้นทำให้ต้นหน่อไม้ฝรั่งตายในที่สุด แต่ในขณะนี้บริษัทเอกชนผู้ซื้อมีความต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพในจำนวนที่มาก ขึ้นกว่าเดิม

คุณไพรัช หวังดี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี กล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าว จึงจัดประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งในเขตภาคตะวันตก ร่วมกับบริษัทเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดแนวทางการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในเขตภาคตะวันตก  โดยมีข้อสรุปดังนี้

หนึ่ง ส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบครบวงจร เพื่อเพิ่มผลผลิตตามความต้องการของบริษัทเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต เป้าหมายในการเพิ่มพื้นที่ จำนวน 500 ไร่ โดยให้กลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวเป็นกลุ่มผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง จำนวน 19 กลุ่ม ดำเนินการคัดเลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากแปลงที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี ซึ่งเป็นเมล็ดพันธุ์ช่วงที่ 2 (F2) พร้อมทั้งให้เกษตรกรดำเนินการเพาะเมล็ด

โดย บริษัทเอกชนจะให้ค่าเมล็ดและค่าใช้จ่ายในการเพาะเมล็ด ต้นละ 3 บาท ให้กลุ่มเกษตรกรคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมโครงการ พิจารณาศักยภาพของเกษตรกรที่มีความสามารถในการปลูก การดูแลรักษาดี เป็นพื้นที่ใหม่ เว้นจากการปลูกหน่อไม้ฝรั่งไม่น้อยกว่า 1 ปี แปลงปลูกต้องห่างจากพื้นที่ปลูกข้าวโพด อ้อย ไม่น้อยกว่า 5 เมตร เนื่องจากพืชดังกล่าวมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาก และจะแจกจ่ายให้เกษตรกร 2,500 ต้น/ไร่ ในลักษณะสินเชื่อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้วจึงทยอยจ่ายคืนให้บริษัทต่อไป

สอง สนับสนุนต้นกล้าพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งให้เกษตรกร โดยศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) มีต้นพันธุ์พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกร จำนวน 20,000 ต้น โดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี ให้กลุ่มผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่ง 19 กลุ่ม กลุ่มละ 2,400 ต้น นำไปปลูกเป็นแปลงขยายพันธุ์ ซึ่งจะสามารถรับต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งได้ในเดือนธันวาคม 2556-มกราคม 2557 โดยมีเงื่อนไข ให้เกษตรกรต้องเข้ารับการอบรมเรื่องการปลูกและการดูแลรักษาหน่อไม้ฝรั่ง จากศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ด้วย ทั้งนี้ บริษัทเอกชนผู้ร่วมโครงการจะตรวจสอบคุณภาพผลผลิตจากแปลงที่เก็บหน่อพันธุ์ใน การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สาม การ ผลิตต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่งให้กลุ่มเกษตรกร โดยกลุ่มเกษตรกรที่มีความประสงค์ให้ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) ดำเนินการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้นกล้าหน่อไม้ฝรั่ง ให้ประสานงานเพื่อรับคำแนะนำในการเก็บตัวอย่างหน่อพันธุ์สำหรับการเพาะ เลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพื้นปลูกตามโครงการต่อไป

คุณ ไพรัช กล่าวด้วยว่า การกำหนดแนวทางการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในเขตภาคตะวันตก ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรและทางราชการหลายประการ ไม่ว่าการส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งแบบครบจงจร โดยมีการทำสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า (contract farming) เป็นการส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวเพื่อการผลิตสินค้าเกษตร ก่อให้เกิดความมั่นใจในการผลิตที่จะพัฒนาคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด

การ กำหนดแนวทางการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในเขตภาคตะวันตก จะสามารถแก้ไขปัญหาโรคระบาดของหน่อไม้ฝรั่ง เป็นการดำเนินงานเชิงรุกด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะพัฒนาเป็นเครือข่ายที่มั่นคงของเกษตรกรต่อไป

ขณะ ที่ด้านผลผลิตของหน่อไม้ฝรั่ง ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ จะสร้างรายได้ที่แน่นอนและมั่นคงให้แก่เกษตรกร เพิ่มดุลการค้าให้กับสินค้าการเกษตรของประเทศ สอดคล้องกับที่ประเทศไทยเป็นครัวของโลก

บท สรุปของการกำหนดแนวทางการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในเขตภาคตะวันตก เป็นการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจร โดยมีการทำสัญญาการซื้อขายล่วงหน้า (contract farming) ประกอบ ด้วย เกษตรกรผู้ผลิต บริษัทเอกชนผู้รับซื้อผลผลิต และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานของทางราชการ ร่วมดำเนินการจัดทำข้อตกลงซื้อขายผลผลิตล่วงหน้าของหน่อไม้ฝรั่ง ทำให้ได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพเพิ่มมากขึ้น ตรงตามความต้องการของตลาดต่างประเทศ

สอดคล้องกับที่ ประเทศไทยเป็นครัวของโลกทั้ง ยังสามารถแก้ไขและป้องกันโรคระบาดของหน่อไม้ฝรั่ง ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามนโยบายของกรมส่งเสริมการเกษตร ด้านการบริหารจัดการงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ มีการกำหนดพื้นที่และเป้าหมายการส่งเสริมอย่างชัดเจน

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
ราชบุรี
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคกลาง
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน 05 กุมภาพันธ์ 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM