เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปรับปรุงบำรุงดิน 'อาชาทอง' เพิ่มผลผลิต-รายได้เกษตรกร
   
ปัญหา :
 
 

     จากอดีตจนปัจจุบัน การทำเกษตรกรรมสมัยใหม่หันไปพึ่งสารเคมีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผืนดินที่เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุถูกทำลายลงไปทีละนิด จนอาจเรียกได้ว่า สารเคมีเริ่มปลิดชีวิตผืนดินลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางกลุ่มที่ไหวตัวทันหันกลับมาเล็งเห็นคุณค่าของผืนดิน ด้วยการพยายามสรรหาผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพมาปรับสภาพผืนดิน กระตุ้นแร่ธาตุในดินให้กลับคืนมาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่พืชสวนไร่นาที่เพาะ ปลูกไว้

                       พรรณี เงินเลี่ยม อดีตอาจารย์สอนวิชาภาคการเกษตรของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันใน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ที่หันมามองเห็นคุณค่าของการบำรุงดิน เพื่อสร้างธาตุอาหารด้วยอินทรียวัตถุ หลังเกษียณอายุราชการ หันมามุ่งปรับสภาพดิน ด้วยผลิตภัณฑ์ วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน “อาชาทอง” สินค้าในไลน์เกษตรของ ไรเดอร์ พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล ผลลัพธ์ที่ออกมากลับสร้างมูลค่าในแง่ของรายได้ให้แก่เธออย่างเป็นกอบเป็นกำ

                       "ก่อนหน้านี้เก็บผลผลิตของปาล์มน้ำมันได้ 25-30 ตัน ต่อ 150 ไร่ต่อรอบการตัด 15 วัน แต่หลังจากใช้วัสดุปรับปรุงบำรุงดิน “อาชาทอง” ไปได้สักระยะ ผลผลิตที่ได้กลับเพิ่มขึ้นทวีคูณ สูงขึ้นไม่ต่ำกว่า 50-60 ตัน ต่อ 150 ไร่ ต่อรอบการตัด 15 วัน และทำสถิติสูงสุดพุ่งขึ้นถึง 64 ตัน ต่อ 150 ไร่ต่อรอบการตัด 15 วัน"

                       เธอยอมรับว่า นอกจากจะนำอาชาทองไปใช้กับสวนปาล์มน้ำมันแล้ว ยังนำผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไปใช้กับสวนผลไม้ชนิดต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนผลผลิตสร้างรายได้เสริมขึ้นมาอีกช่องทางหนึ่งด้วย โดยเฉพาะสวนมังคุด ที่ในช่วงที่ผ่านมาสามารถให้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมาก ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละ 180-200 บาท 

                       "ที่ผ่านมาก็มีการทดลองใช้ปุ๋ยมาหลายยี่ห้อ แต่ละยี่ห้อจะได้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 22-24 ตัน ต่อ 150 ไร่ต่อรอบการตัด 15 วัน ซึ่งยังไม่ค่อยตรงตามที่ต้องการ จนวันหนึ่งได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์วัสดุปรับปรุงบำรุงดินอาชาทอง จึงตัดสินใจทดลองใช้ โดยไม่ได้คาดหวังผลผลิตอะไรมากนัก"

                       เจ้าของสวนปาล์มน้ำมันเปิดเผยต่อว่า หลังได้ทดลองผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ปรากฏว่าสามารถปรับสภาพดินที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี จึงทดลองใช้ดูประมาณ 7 วัน ก็เห็นผลได้ทันตา สภาพของดินมีการร่วนซุยและที่สำคัญมีไส้เดือนอยู่เต็มรอบต้น เพราะตอนที่หว่านนั้นอยู่ในช่วงที่ฝนตก ดินยังแฉะอยู่ วัสดุปรับปรุงบำรุงดินที่หว่านไป จึงซึมซับเข้าไปในดินและเกิดมีไส้เดือนขึ้นมาแทน

                       “ผลที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วัน ทำให้เราคิดว่า ปาล์มที่ได้รับธาตุอาหารจากวัสดุปรับปรุงบำรุงดินที่หว่านลงไป ต้องงามแน่ๆ เพราะมีไส้เดือนที่ช่วยชอนไช และก็จริงอย่างที่คิดไว้ ซึ่งสถิติที่จดบันทึกไว้ ตัดครั้งแรกได้ผลผลิตมาถึง 27 ตัน ต่อ 150 ไร่ต่อรอบการตัด 15 วัน พอตัดครั้งที่สอง สาม สี่ก็ได้ผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มเป็นทวีคูณ เคยทำสถิติสูงถึง 64 ตัน ต่อ 150 ไร่ต่อรอบการตัด 15 วันด้วย" พรรณีกล่าวอย่างภูมิใจ

                       เธอย้ำด้วยว่า วัสดุปรับปรุงบำรุงดินอาชาทอง นอกจากจะไปช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่ต้นปาล์ม ที่มีความสมบูรณ์ ให้มีทะลายที่ใหญ่ขึ้นแล้ว ยังไปช่วยต้นปาล์มที่ไม่สมบูรณ์ให้ออกทะลาย และมีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยใบที่แผ่ออก ทะลายก้านใหญ่ขึ้น ทำให้เวลาเอาผลออกก็ง่าย ต้นไม่ช้ำ ใบก็เป็นสีเขียว ซึ่งในผลผลิตแต่ละครั้งเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันใช้ผลิตภัณฑ์ วัสดุปรับปรุงบำรุงดินอาชาทองกับพืชทุกชนิด และได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ และเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                       นับเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิตด้วยการใช้วัสดุปรับปรุงบำรุง ดินอินทรีย์ "อาชาทอง" อีกผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่ในไลน์เกษตรของ ไรเดอร์ พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล

 

วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
อำเภอ / เขต :
จังหวัด :
นครศรีธรรมราช
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคใต้
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก 25 ก.พ. 57
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM