เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ดุกบิ๊กอุย-กดคัง เลี้ยงในกระชัง โตเร็ว คุณภาพสูง
   
ปัญหา :
 
 

การกินเพื่อสุขภาพคือสิ่งจำเป็นที่จะต้องให้ความใส่ใจและต้องคำนึงถึงผลที่ มีต่อสุขภาพ โดยปัจจุบันคนรักสุขภาพจะเลือกปฏิบัติแบบง่ายๆ คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกเมนูอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงวัย เริ่มหันมากินอาหารที่ย่อยง่าย อย่างเช่น เนื้อปลา ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ช่วยเสริมสร้างร่างกายและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสื่อมสลายในผู้สูงวัย

ปริมาณ ความต้องการบริโภคเนื้อปลาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลทำให้อาชีพเพาะเลี้ยงปลาในรูปแบบบ่อดิน บ่อปูนซีเมนต์ หรือในกระชังริมแม่น้ำ ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีกระจายตัวอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และพื้นที่ที่อยู่ติดกับแหล่ง น้ำ โดยมีรูปแบบการเพาะเลี้ยงที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่และสภาพแวดล้อมโดยรอบ

คุณกนต์ธีร์ บัวอ่อน และ คุณเสาวนีย์ ห้วยหงษ์ทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 2 แห่งตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นผู้ที่ให้ความสนใจในอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในรูปของกระชังริมแม่น้ำน่าน มายาวนานกว่า 10 ปี

ผู้ใหญ่ เสาวนีย์ เล่าให้ฟังว่า เดิมมีอาชีพรับจ้างทั่วไปอยู่ที่กรุงเทพฯ ทำมาระยะหนึ่งต้องกลับบ้านเพื่อมาดูแลพ่อแม่ที่ป่วย ในขณะเดียวกันได้มองหาอาชีพเพื่อหารายได้เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระของสามีที่ รับราชการ ซึ่งในช่วงนั้นมีบริษัทเอกชนเข้ามาส่งเสริมการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง พร้อมกับรับซื้อผลผลิตให้กับชาวบ้านที่อาศัยและมีพื้นที่อยู่ติดกับแม่น้ำ น่าน จึงสนใจและเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

เช่น เดียวกัน ผู้ใหญ่กนต์ธีร์ ที่ก่อนจะมาเพาะเลี้ยงปลา เคยทำงานอยู่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แต่ด้วยความจำเป็นต้องกลับมาดูแลครอบครัวที่บ้าน จึงตัดสินใจกลับมาหาอาชีพใหม่ทำ โดยหันมาให้ความสนใจกับอาชีพเพาะเลี้ยงปลาในกระชังตามคำเชิญชวนของบริษัทที่ เข้ามาส่งเสริม เพราะเห็นว่ามีรายได้ดี

ความ รู้ในการเลี้ยงยังไม่มี แต่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาส่งเสริม ทั้งเรื่องของการเตรียมกระชังเพาะเลี้ยง การอนุบาลลูกปลา ตลอดจนการดูแลและรับซื้อผลผลิตจากเรา ซึ่งในระยะแรกการเลี้ยงเป็นไปได้ดี มีผลกำไรเป็นที่น่าพอใจ ปลาได้น้ำหนักและคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเป็นการเลี้ยงในช่วงแรก สภาพแวดล้อมโดยรอบยังไม่เสื่อมโทรม จนกระทั่งเลี้ยงติดต่อกันเข้าปีที่ 6 ต้องประสบปัญหาน้ำในแหล่งธรรมชาติเน่าเสีย เนื่องจากมีสารเคมีจากการทำนาไหลลงมาปนกับน้ำในช่วงต้นฤดูฝนที่มีการปล่อย น้ำลงสู่แม่น้ำ ส่งผลทำให้ปลาที่เลี้ยงอยู่ตายและเกิดโรคระบาดอย่างต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งระบบการผลิตที่ได้รับการส่งเสริมเกิดปัญหา เข้ามาจับไม่ตรงกับกำหนด ทำให้ต้องเลี้ยงต่อ ต้นทุนอาหารเริ่มสูง ปลามีน้ำหนักเกิน

จากปัญหาที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ใหญ่บ้านทั้งสอง ตัดสินใจออกจากระบบและหันมาเลี้ยงปลากดคังและปลาดุกโดยหาตลาดรับซื้อเอง

ปลา ทั้งสองมีความทนทานต่อน้ำและโรคมากกว่าปลาทับทิม สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมขณะนั้น ทำให้จากการเพาะเลี้ยงปลาทับทิมจึงเริ่มปรับเปลี่ยนนำปลากดคังและปลาดุกเข้า มาเพาะเลี้ยงเปรียบเทียบซึ่งได้ผลดี จึงขยายกระชังเพิ่ม จนวันนี้มีมากถึง 70 กระชัง

หลัง จากที่หันมาเลี้ยงปลากดคังและปลาดุกโดยหาตลาดเองนั้น ผู้ใหญ่บ้านทั้งสองได้ศึกษาระบบการเลี้ยงปลาทั้ง 2 ชนิดนี้ โดยการสอบถามจากพ่อค้าที่จำหน่ายพันธุ์ปลาให้ ขอคำแนะนำในการเลี้ยง ใช้เวลาลองผิดลองถูกมาประมาณ 2 ปีกว่า จนกระทั่งประสบความสำเร็จ สามารถเพาะเลี้ยงปลาได้ต่อเนื่องทุกๆ ปี ซึ่งปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงปลาในกระชังจะคำนึงถึงฤดูกาล โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลากดคังต้องเลือกช่วงการอนุบาล หลีกเลี่ยงสภาพอากาศเย็นเพื่อลดการสูญเสียในช่วงอนุบาลเนื่องจากลูกปลานั้น ไม่ชอบ ส่วนปลาดุกนั้น สามารถเพาะเลี้ยงได้ในทุกฤดู เพราะเนื่องจากเป็นปลาหนังที่เลี้ยงได้ในทุกสภาพอากาศและทุกสภาพพื้นที่ ยกเว้นแต่ช่วงต้นฤดูฝนที่มักจะพบสารเคมีปนเปื้อนมากับน้ำ จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะเดือนละ 1-2 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาความสูญเสียที่เกิดขึ้น

ทุก ปี ผู้ใหญ่บ้านทั้งสองวางแผนการผลิตหมุนเวียนทั้งหมด 4 รุ่น มีปลาดุกจำหน่ายทุกๆ 2 เดือน ปลากดคังจำหน่ายทุกๆ ปี โดยกระชังที่ใช้เลี้ยงจะมี 2 ขนาด คือ 5 คูณ 5 เมตร และ 3 คูณ 6 เมตร ใช้เนื้ออวนที่มีความหนาของเส้นเชือกพิเศษ เย็บเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามขนาดกระชังซ้อนกัน 2 ชั้น สำหรับปลากดคัง เพราะเนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ส่วนปลาดุกใช้เนื้ออวนที่มีเส้นเชือกหนาเย็บซ้อนทับกับตาข่ายสีฟ้าขนาดตาถี่ ในลักษณะคล้ายกัน เพื่อป้องกันการหลุดลอดของปลาและอาหารของปลา

กระชัง 5 คูณ 5 เมตร จะใช้เลี้ยงปลากดคังเป็นหลัก เนื่องจากต้องการเนื้อที่ในกระชังให้ปลาได้ว่ายไปมาเพื่อออกกำลัง ส่วน 3 คูณ 6 เมตร จะใช้เลี้ยงปลาดุก แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดกระชังทั้งสองเป็นขนาดที่มีมาตรฐาน สามารถใช้เลี้ยงได้ทั้งปลากดคังและปลาดุก ขึ้นอยู่กับอัตราการปล่อยแต่ละกระชัง ซึ่งที่ผ่านมา ขนาด 3 คูณ 6 เมตร จะปล่อยลูกปลาดุกประมาณ 3,000 ตัว ปลากดคังที่อนุบาลมาแล้วประมาณ 3 เดือน 600 ตัว ส่วน 5 คูณ 5 เมตร สามารถปล่อยปลาดุกได้ ตั้งแต่ 5,000-8,000 ตัว ปลากดคัง ตั้งแต่ 600 ตัวขึ้นไป ให้ประเมินปริมาณความหนาแน่นในกระชังด้วยสายตาเป็นหลัก

ปลา ทั้ง 2 ชนิด จะผ่านการอนุบาลมาก่อนประมาณ 2-3 เดือน จึงจะนำมาปล่อยลงเลี้ยงในกระชังเลี้ยงโดยจะคัดแยกขนาดไซซ์ที่เท่ากันลงใน กระชังเดียวกัน เพื่อการควบคุมการเจริญเติบโตให้ง่ายขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าปลาเล็กจะกินอาหารไม่ทันปลาใหญ่ 

นอก จากนี้ สถานที่เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงปลาให้ประสบความสำเร็จและ มีคุณภาพ กระชังปลาจะต้องมีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา อย่าให้กระชังอยู่ในน้ำนิ่งเพราะอาจจะทำให้เกิดแก๊ส ทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยลง อาจส่งผลต่ออัตราการแลกเนื้อน้อยลง

สำหรับปลาทั้ง 2 ชนิด จะใช้ระยะเวลาเลี้ยงที่ต่างกันมาก ปลาดุกจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 2-3 เดือน สามารถจับจำหน่ายได้ ปลากดคังใช้เวลาประมาณ 1 ปี ครึ่ง ดังนั้น อาหารจึงต้องใช้ทั้งอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับปลาเล็ก หลังจากพ้นช่วงอนุบาลไปประมาณ 3 เดือน จึงเปลี่ยนเป็นไส้ไก่และเศษขนมปังเพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนค่าอาหาร โดยปลากดคังจะให้วันละ 1 ครั้ง ปลาดุกวันละ 2-3 ครั้ง ส่วนในช่วงที่เกิดโรคระบาด จะเสริมวิตามินทุกๆ วัน วันละ 1 มื้อ ผสมไปพร้อมกับอาหาร เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับปลา และช่วยป้องกันการเข้ามาทำลายของโรคที่มากับน้ำซึ่งผู้เลี้ยงไม่สามารถรู้ ได้

ตลอด ช่วงการเลี้ยงปลา ผู้ใหญ่บ้านทั้งสองจะเดินตรวจเช็กกระชังทุกๆ เดือน โดยทุกครั้งที่จับปลาขึ้นมาจำหน่ายไปแล้ว จะนำกระชังที่ใช้เลี้ยงขึ้นมาทำความสะอาดและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย ก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงอีกครั้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยงรอบถัดไป

ใน แต่ละกระชังสามารถผลิตปลาเฉลี่ยประมาณ 2 ตัน มีขนาดไซซ์ต่อตัวตั้งแต่ 1-1.5 กิโลกรัม จำหน่ายในราคา 120-160 บาท ซึ่งจะมีพ่อค้าแม่ค้าขาประจำเข้ามารับถึงหน้ากระชังทุกๆ ปี และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับพ่อค้าแม่ค้า และตลาดที่กำลังเติบโต ระบบการเพาะเลี้ยงต้องมีความคงที่ โดยให้ความเอาใจใส่ทุกขั้นตอน

สนใจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณกนต์ธีร์ บัวอ่อน และ คุณเสาวนีย์ ห้วยหงษ์ทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 2 ตำบลสนามคลี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ (081) 751-5944, (091) 028-3642, (084) 948-7608

วิธีแก้ไข :
 

 

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
สนามคลี
อำเภอ / เขต :
บางกระทุ่ม
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM