เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
โรคเปลือกแห้งของต้นยาง เลี้ยงครั่ง-ผักหวานป่า
   
ปัญหา :
 
 
    ผมปลูกยางไว้ 20 ไร่เศษ ปัจจุบันเริ่มเปิดกรีดได้แล้ว ระยะแรกไม่พบปัญหาใดๆ แต่ต่อมาพบว่าเกิดอาการเปลือกของต้นยางแห้ง และต้นที่มีอาการเปลือกแห้ง มีผลให้น้ำยางลดลง ขอเรียนถามว่า เกิดจากสาเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร
วิธีแก้ไข :
 
    อาการเปลือกยางแห้งของต้นยาง อาการเริ่มแรกพบว่า ต้นยางจะให้น้ำยางเพิ่มขึ้น น้ำยางหลังกรีดจะหยุดไหลช้าลง และความเข้มข้นของน้ำยางลดลง ต่อมาผลผลิตของน้ำยางจะลดลงอย่างรวดเร็ว น้ำยางบนรอยกรีดจะแห้งเป็นแห่งๆ เนื่องจากการสร้างน้ำยางน้อยลง ต้นยางจึงได้อาหารไปใช้ในการเจริญเติบโตทางลำต้นเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ต้นยางที่เกิดอาการเปลือกแห้งมีขนาดใหญ่กว่าต้นปกติ จากนั้นผิวเปลือกเกิดปุ่มปมทั้งขนาดเล็กและใหญ่ กระจายทั่วลำต้น เมื่อพักการกรีดไปสักระยะหนึ่ง ด้วยเหตุที่ไม่มีน้ำยาง เปลือกต้นยางที่เกิดใหม่จะพัฒนาและเติบโตดันเปลือกเก่าให้แตก และหลุดล่อนออกเป็นแผ่น เปลือกยางใหม่เมื่อกรีดอีกครั้ง จะให้น้ำยางในปริมาณน้อยกว่าต้นปกติอยู่ดี สาเหตุการเกิดอาการเปลือกแห้งของต้นยาง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากสภาพแวดล้อม โดยพบว่าเขตแห้งแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายแห่ง เกิดอาการเปลือกแตกอัตราสูงกว่าในเขตฝนตกชุก พันธุ์ยาง บางพันธุ์เกิดอาการเปลือกแตกได้ง่ายกว่าพันธุ์อื่น เช่น พันธุ์ในกลุ่มบีพี นอกจากนี้แล้ว การกรีดยางถี่เกินไป มีผลต่อการเกิดอาการเปลือกยางแตกมากกว่าการกรีดยางในระยะและเวลาที่เหมาะสม วิธีการป้องกันและแก้ไข ในกรณีที่พบอาการเปลือกแตกของต้นยางเกิดขึ้นในสวนยางแล้ว การรักษาทำได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดคือการป้องกัน โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้คือ เมื่อพบความผิดปกติในการให้น้ำยางที่ไหลและหยุดเป็นระยะ แนะนำให้หยุดกรีดน้ำยางทันที เพื่อให้ต้นยางพักตัวและมีเวลาเพียงพอกับการสร้างน้ำยางทดแทน การเพิ่มอินทรียวัตถุในดินไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมี หรืออาจปลูกพืชคลุมดินร่วมด้วย โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะช่วยลดปัญหาอาการเปลือกยางแตกลง ไม่ควรเปิดกรีดยางที่มีขนาดเล็ก และให้หยุดกรีดยางเมื่อต้นยางเริ่มผลิใบ ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับยางพันธุ์ บีพีเอ็ม 24 บีพี 235 พีบี 255 พีบี 260 สถาบันวิจัยยาง 250 และ 251 หากคุณสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้น อาการเปลือกแตกของต้นยางจะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
มะลิวัลย์
อำเภอ / เขต :
ชุมแพ
จังหวัด :
ขอนแก่น
รหัสไปรษณีย์ :
40130
ภาค :
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน : วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ปีที่ 18 ฉบับที่ 383
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM