เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
ปลาสลิดบ่อปูนซีเมนต์ ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดทั้งปี
   
ปัญหา :
 
 

ปลาสลิดเป็นปลาน้ำจืดพื้นบ้านของประเทศไทย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดอยู่ในลุ่มภาคกลาง มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระดี่หม้อแต่ขนาดโตกว่า ปัจจุบันปลาชนิดนนี้เป็นที่นิยมรับประทาน ในรูปของปลาสลิดแดดเดียว ซึ่งแหล่งผลิตและแปรรูปที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก คือ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการณ์

    การ เพาะเลี้ยงปลาสลิด ทุกวันนี้มีการพัฒนาไปไกลมาก ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเพาะลูกปลา รูปแบบการเลี้ยงดูที่หลากหลาย สามารถหล่นระยะเวลาการเลี้ยงให้สั้นลง เพิ่มจำนวนผลผลิตต่อไรที่สูงขึ้น  ตลอด จนปรับเปลี่ยนกลไกการซื้อขายในตลาดปลาให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และนอกจากนี้ยังมีการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทันสมัย ทำให้สะดวกรวดเร็วและประหยัด แรงงาน ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิตลง ส่งผลทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีกำไรเพิ่มขึ้น

            คุณ ประวิง แดงโชติ เป็นคนที่รักในอาชีพเกษตรกรรม พยายามพัฒนารูปแบบการทำการเกษตรต่างๆ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงปลา ซึ่งหลังจากออกมาสร้างครอบครัว คุณประวิงได้มายึดอาชีพ และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อยู่ที่บ้านเลขที่ 579 หมู่ 7 ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

            คุณ ประวิง เล่าให้ฟังว่า ตัวเองเป็นคนชอบที่ชอบจับสัตว์น้ำ แต่ละวันจะออกไปจับสัตว์น้ำตามแม่น้ำและคลองต่างๆ ขึ้นมาจำหน่ายและนำมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งแต่ละครั้งการออกไปจับสัตว์น้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ค่อนข้างที่จะเหนื่อยและลำบาก ตนจึงมีแนวความคิดที่จะเลี้ยงเองโดยที่ไม่ต้องไปรบกวนสัตว์น้ำธรรมชาติที่ นับวันจะยิ่งลดน้อยลงไป

แต่ ด้วยพื้นที่ที่จะใช้เป็นสถานที่เพาะเลี้ยงไม่เอื้อต่อการ เนื่องจากอยู่ห่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้ไม่มีน้ำในการใช้เพาะเลี้ยงได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งสภาพแวดล้อมก็ยังไม่เหมาะที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ แต่ด้วยความที่รักและอยากที่จะหาอาชีพเสริมช่วยครอบครัว จึงได้เริ่มพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแบบพอเพียง สร้างระบบการเลี้ยงที่สามารถอยู่ใกล้ๆกับบ้าน

ด้วย สภาพแวดล้อมและพื้นที่ที่ผมมีอยู่เพียง 2 ไร่ จะเลี้ยงใหญ่ๆแบบคนอื่นเขาก็ยาก อีกอย่างเงินลงทุนก็มีไม่มากพอ แรกๆ ผมเลยเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก  แต่ ก็เลี้ยงมาได้ระยะหนึ่ง บ่อเกิดชำรุด ใช้งานได้เพียง 1 ปี การจับแต่ละครั้งก็ค่อนข้างจะลำบาก อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในเรื่องของอาหารที่ให้ในแต่ละวัน หากให้น้อยเกินไปปลาก็จะไม่เจริญเติบโตได้ขนาด ให้มากไปต้นทุนด้านอาหารก็จะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เราไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้

จากนั้นผมก็เปลี่ยนมาเพาะเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์แทน  ซึ่ง แต่ละวันสามารถจับกบขายได้วันละ 10 กก. แต่ก็ทำมาได้ระยะสั้นๆ ต้องมีปัญหาเรื่องราคาขาย ต้องกลับมาเพาะเลี้ยงปลาอีกครั้งหนึ่ง แต่การกลับมาเลี้ยงปลาครั้งนี้ ผมได้เลือกชนิดปลาที่ใช้เงินลงทุนน้อย มีการดูแลที่ไม่ยาก ได้กำไรคุ้มค่าและสามารถเลี้ยงในบ่อปูนซีเมนต์ที่เป็นบ่อเพาะเลี้ยงกบเดิม ได้

คุณ ประวิง ใช้เวลาศึกษาและคัดเลือกปลาชนิดใหม่ พร้อมกับปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงให้เข้ากับพื้นที่และสภาพแวดล้อมอยู่ 3 ปี จนกระทั่งได้ปลาที่ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับสภาพบ่อเพาะเลี้ยงเดิมที่ เตรียมไว้ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เข้ามาใช้จ่ายในครอบครัวได้ตลอดทั้งปี ซึ่งปลาที่ว่า คือ ปลาสลิด

เหตุผล ที่คุณประวิงเลือกปลาสลิด ก็เพาะว่าเป็นปลาที่ เลี้ยงง่าย กินน้อย ลงทุนครั้งเดียวสามารถต่อยอดได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งพื้นที่เพาะเลี้ยงไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติเหมือน กับการเลี้ยงในบ่อดินขนาดใหญ่  พื้นที่เล็ก หรือในบ่อปูนซีเมนต์ก็ทำได้ ช่วยลดพลังงานในการที่จะนำมาใช้ได้มาก

ผม ปรับบ่อเพาะเลี้ยงกบซึ่งเป็นบ่อปูนซีเมนต์ที่สร้างอยู่ติดกับตัวบ้าน ใช้ทำบ่อเพาะเลี้ยง เนื่องจาก พื้นที่เพาะเลี้ยงเราอยู่ห่างจากแหล่งน้ำมาก การหาน้ำมาใช้เพาะเลี้ยงจึงค่อนข้างยาก การประยุกต์ใช้บ่อปูนซีเมนต์ที่สร้างอยู่ติดกับตัวบ้านทำเป็นบ่อเลี้ยง โดยอาศัยหลังคาบ้านเป็นตัวรวบรวมน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงหน้าฤดูฝนลงมายังบ่อ เพาะเลี้ยงทำให้ผมไม่เดือนร้อนเรื่องน้ำ เพราะ 1 ปี ถ่ายน้ำเพียง 1 ครั้งเท่านั้นสำหรับการเลี้ยงปลาสลิด

สำหรับ บ่อเพาะเลี้ยง จะใช้บ่อที่มีความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ความกว้างขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ ก้นบ่อเลี้ยงจะรองด้วยดินและมูลควาย หมักทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน จากนั้นปล่อยน้ำเข้าประมาณ 40-50 เซนติเมตร(ครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยง) พอบ่อเพาะเลี้ยงพร้อม ก็นำพ่อแม่พันธุ์จำนวน 1 กิโลกรัมมาปล่อยในบ่อ

แต่ ละวันจะให้อาหารเม็ด วันละ 1 มื้อ (08.00-09.00)เนื่องจากภายในบ่อเราสร้างระบบธรรมชาติโดยการทำปุ๋ยหมักให้ เกิดไรแดง พร้อมกับปลูกพรรณไม้น้ำเพื่อช่วยบำบัดน้ำและเป็นอาหารของปลาอีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยลดต้นทุนด้านอาหาร

การ เลี้ยงปลาสลิดในบ่อปูนซีเมนต์ คุณประวิง บอกว่า เป็นการเลี้ยงที่ไม่มีความเสี่ยงอะไร สามารถควบคุมได้ ทั้งอาหาร อัตราการรอดที่มีมากถึง 100 เปอร์เซ็นต์  ที่ สำคัญศัตรูธรรมชาติก็ไม่สามารถเข้ามาทำลายได้ การจับจำหน่ายก็ทำได้ง่าย แต่เมื่อเลี้ยงไประยะหนึ่ง ปลาที่ปล่อยจะขยายพันธุ์ ทำให้ประชากรในน้ำมีเพิ่มมากขึ้น หากปล่อยไว้ก็จะทำให้น้ำเสีย ต้องควบคุมจำนวนประชากรให้เหมาะสมกับขนาดบ่อเลี้ยง

การ เลี้ยงปลาสลิด ต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงนานพอสมควรกว่าจะจับขายได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ประมาณ 8 -10 เดือน ทำให้ในระหว่างนั้นจะมีประชากรปลาที่เกิดใหม่ขึ้น  หาก ปล่อยเลี้ยงไว้ในบ่อก็จะทำให้น้ำเสียเร็วขึ้น ปลาใหญ่แย่งอาหารปลาเล็ก ดังนั้นพอปลาใหญ่ว่างไข่และให้ลูกแล้ว ผมจะเริ่มจับปลาใหญ่ขายไปและเพาะเลี้ยงปลาเล็กที่เกิดใหม่เป็นรุ่นต่อไปใน บ่อเลี้ยงเดิม โดยที่ไม่ต้องล้างหรือทำความสะอาดบ่อใหม่ อาศัยการเติมน้ำในช่วงฤดูฝนครั้งละ 1 ปี เท่านั้น แต่ด้วยปริมาณลูกปลาที่เกิดมาแต่ละครั้งค่อนข้างเยอะ จะเลี้ยงในบ่อเดียวไม่ได้ จึงแยกไปเลี้ยงให้เหมาะสมกับขนาดบ่อที่เลี้ยง

ปัจจุบัน คุณประวิง มีบ่อเพาะเลี้ยงปลาสลิดทั้งหมด 6 บ่อ มีระบบการดูแลโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้การเจริญเติบโตของปลาเร็วกว่าที่เลี้ยงแบบปล่อยทั่วไป (10-12 ตัว/1 กิโลกรัม) มีเนื้อที่ฟู ไม่มีไขมัน ตัวไม่รีบ รสชาติอร่อยกว่าปลาทั่วไป

ทุกๆเดือน คุณประวิง มีปลาสลิดออกจำหน่ายในรูปแบบปลาสดและแปรรูปปลาแดดเดียวจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 120 (ปลาเป็น) 140 (ปลาแดดเดียว)

นอก จากนี้บ่อเพาะเลี้ยงปลาของคุณประวิง จะสร้างรายได้จากการจับปลาขายแล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ศึกษาดูงานให้นักเรียน นักศึกษา และคนที่สนใจ เข้ามาศึกษาดูงาน ซึ่งมีหมุ่นเวียนเข้ามาทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง

สำหรับท่านใดที่สนใจ  อยากจะทำเป็นอาชีพเสริมแต่พื้นที่หรือสภาพแวดล้อมไม่เอื่ออำนวย สามารถสอบถามไปยังคุณประวิง แดงโชติ โทรศัพท์ (087)843-0255

 

 

วิธีแก้ไข :
 

 

ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
579 หมู่ 7
ตำบล / แขวง :
วังนกแอ่น
อำเภอ / เขต :
วังทอง
จังหวัด :
พิษณุโลก
รหัสไปรษณีย์ :
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 23 สิงหาคม 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM