เข้าสู่เว็บสำนักหอสมุดฯ


รายละเอียดข้อมูล
เรื่อง :
“วิจิตร ไกรสรสวัสดิ์” กับงานพิสูจน์มะยงชิด ดีเอ็นเอ
   
ปัญหา :
 
 

ความก้าวหน้าของการปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีได้มีความก้าวหน้าไปอีก ขั้นหนึ่ง เมื่อ คุณวิจิตร ไกรสรสวัสดิ์ เจ้าของสวนวิจิตรการเกษตร และยังมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมมะยงชิด-มะปรางหวานใหญ่ภาคเหนือ บ้านเลขที่ 363/1 ถนนเทศา 2 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 โทร. (055) 716-081, (081) 283-8151 จัดเป็นสวนมะปรางที่รวบรวมสายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีและคัด เลือกพันธุ์ที่มีลักษณะเด่นและน่าสนใจที่สุด ที่ผ่านการพิสูจน์ ดีเอ็นเอ ทุกสายพันธุ์ อาทิ มะยงชิดพันธุ์เพชรกลางดง เป็นสายพันธุ์ที่คุณวิจิตรคัดเลือกแล้วว่าดีที่สุด เมื่อตรวจ ดีเอ็นเอ พบว่ามีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากพันธุ์อื่นๆ มากที่สุด

สำหรับมะปรางหวาน คัดเลือกได้ 4 สายพันธุ์ โดยยึดความโดดเด่น 4 ประเภท คือ หวานฉ่ำ พันธุ์เพชรคลองลาน, หวานเจี๊ยบ พันธุ์เพชรหวานกลม, หวานหอม พันธุ์เพชรหวานยาว และหวานมัน พันธุ์เพชรนพเก้า เป็นต้น และมะปรางหวานพันธุ์ดีทุกสายพันธุ์ที่ได้กล่าวมามีขนาดผลใหญ่ทั้งสิ้น 

ความเป็นมาของ ศูนย์รวมฯ

คุณวิจิตร ไกรสรสวัสดิ์ ได้ เล่าถึงประวัติความเป็นมาของตนเองกับการเริ่มต้นสะสมสายพันธุ์มะปราง เมื่อปี พ.ศ. 2503 ในขณะนั้น คุณวิจิตร ได้ศึกษาอยู่ที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหิดล) ในช่วงปิดภาคเรียน เพื่อนมักจะชวนนั่งเรือจาก โรงพยาบาลศิริราช เข้าไปในคลองบางกอกน้อยและเที่ยวชมสวนผลไม้แถวบางขุนนนท์ ครั้งแรกได้มีโอกาสชิมผลไม้ที่คล้ายกับมะปราง แต่ลูกมีขนาดใหญ่มากและมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวมาให้ชิม

ในขณะนั้น รู้สึกประทับใจและคิดว่าในอนาคตอยากนำมาปลูก

หลัง จากนั้น ประมาณ 30 ปี ต่อมาคือประมาณปี พ.ศ. 2533 คุณวิจิตร ได้ออกตระเวนเสาะแสวงหามะยงชิดและมะปรางหวานผลใหญ่พันธุ์ดีทั่วประเทศที่ใคร บอกว่าดี เริ่มจาก จังหวัดอุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เรื่อยมาจนถึงภาคกลางนครนายก ปราจีนบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ได้รวบรวมสายพันธุ์ดีมาปลูก จำนวน 50 สายพันธุ์

ปัจจุบัน คุณวิจิตร ได้คัดเลือกพันธุ์ที่ดีที่สุดไปตรวจ ดีเอ็นเอ เพื่อจำแนกเอกลักษณ์พันธุ์ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นต้นแม่พันธุ์จำหน่ายและเผยแพร่แก่สาธารณชนต่อไป

 

เหตุผลที่ต้องพิสูจน์ ดีเอ็นเอ

สายพันธุ์ก่อนผลิตกิ่งพันธุ์จำหน่าย 

คุณ วิจิตร ก็เหมือนกับเกษตรกรที่ปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีทั่วไปคือ พยายามสืบเสาะไปสวนมะปรางที่บอกว่าเป็นพันธุ์ดีและซื้อกิ่งพันธุ์มาปลูก บางสายพันธุ์ที่ซื้อมาเมื่อให้ผลผลิตแล้วเหมือนกันทุกประการ ทั้งรูปทรงผลและรสชาติแต่มีชื่อสายพันธุ์ไม่เหมือนกัน เชื่อได้ว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันแต่มาเปลี่ยนชื่อใหม่

ต่อมาคุณวิจิตรได้พบกับ ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท จากคณะเกษตร มหาวิทยาลัยนเรศวร และได้ประสานงานติดต่อกับ ดร. ปิยศักดิ์ ชอุ่มพฤกษ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องวิเคราะห์ ดีเอ็นเอ คุณวิจิตรจึงได้ตรวจ ดีเอ็นเอ สายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีที่รวบรวมมามากกว่า 50 สายพันธุ์ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบ ดีเอ็นเอ แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

ด้านฟิสิกส์ คือ ความยาว ความกว้างของผล และรูปร่างของเมล็ด

ด้านเคมี คือ ความหวานและความเปรี้ยว

ด้านชีววิทยา ซึ่งเมื่อตรวจ ดีเอ็นเอ แล้วจะรู้ที่มาของสายพันธุ์คือรู้ที่ไปที่มา

คุณวิจิตร ย้ำว่าในปัจจุบันนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีห้องแล็บที่ตรวจ ดีเอ็นเอ ที่มีความทันสมัยที่สุด 

พร้อมกันนี้ คุณวิจิตรได้อธิบายเพิ่มเติมให้ง่ายต่อการเข้าใจว่า ดีเอ็นเอ นั้นคืออะไร?

ดี เอ็นเอ บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตและถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ถ้าเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์เดียวกัน ก็จะมี ดีเอ็นเอ เหมือนกัน

ดังนั้น ถ้าทราบข้อมูลใน ดีเอ็นเอ ก็จะทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้น

จากหลักการดังกล่าว จึงสามารถตรวจสอบความเหมือนหรือความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตได้ โดยใช้ลายพิมพ์ของ ดีเอ็นเอ

แล้ว ความมหัศจรรย์ของ ดีเอ็นเอ คือมีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ดีเอ็นเอ ในร่างกายเราเมื่อนำมารวมกันแล้ว จะมีความยาวกว่าระยะทางไปกลับดวงอาทิตย์ 50 รอบ จากการพัฒนาการทางเทคโนโลยีของ ดีเอ็นเอ ทำให้สามารถนำไปใช้ในการไขปริศนา สิ่งลึกลับต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านนิติเวชได้อย่างน่าอัศจรรย์ เรามักจะพบจากสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์หรือโทรทัศน์ อยู่เป็นประจำ

นี่ เป็นเหตุผลสำคัญที่ศูนย์นำเอา ดีเอ็นเอ มาแยกแยะ จำแนกเอกลักษณ์จำเพาะพันธุ์ ของ มะยงชิด-มะปรางหวานใหญ่ ที่ศูนย์ได้นำพันธุ์ดีต่างๆ ทั่วประเทศไทย 56 สายพันธุ์ มาปลูกรวมกัน เพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีเด่นและสายพันธุ์ไม่ซ้ำกัน ได้อย่างถูกต้องและชัดเจนอย่างที่สุด

ปัจจุบัน ศูนย์ได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีเด่น ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ทางเคมี และทางชีววิทยา โดยใช้ ดีเอ็นเอ ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบอยู่นานหลายปีและติดตามผลต่อเนื่อง ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 3 ปี จึงจะตัดสินใจนำไปตรวจสอบ ดีเอ็นเอ เป็นขั้นสุดท้าย ก่อนที่จะขยายพันธุ์

 

คัดพันธุ์ดีด้วยใจรัก

ได้จำนวน 9 สายพันธุ์

จากประสบการณ์ในการรวบรวมพันธุ์มะปรางมานานหลาย 10 ปี คุณวิจิตรได้แบ่งพื้นที่ปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีเป็น 2 โซน หลักๆ คือ

โซนภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชรและพิษณุโลก อีกโซนหนึ่งคือ ภาคกลาง

โซนภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี

แต่ ดูเหมือนว่า จังหวัดพิจิตร จะมีพื้นที่ปลูกในเชิงพาณิชย์มากที่สุด มีการคาดการณ์ว่าผลผลิตมะยงชิดพันธุ์ดีของจังหวัดพิจิตร ในฤดูกาลที่จะออกสู่ตลาดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2552 จะมีประมาณ 100 ตัน หรือ 100,000 กิโลกรัม

ใน เรื่องของการรวบรวมสายพันธุ์มะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีนั้น คุณวิจิตรมีความมั่นใจว่าตนเองมีประเภทของสายพันธุ์ไว้มากที่สุด ในการตรวจ ดีเอ็นเอ สายพันธุ์มะปรางจึงเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่เพื่อสร้างความชัดเจนของสาย พันธุ์

คุณ วิจิตร ได้ยกตัวอย่าง มะยงชิด พันธุ์ทูลเกล้า และพันธุ์เพชรกลางดง ซึ่งเมื่อดูจากลักษณะของต้น ใบ ผลผลิตและรสชาติคล้ายกันมาก แต่เมื่อนำมาตรวจ ดีเอ็นเอ แล้วพบว่า ไม่เหมือนกัน

สุด ท้าย ก็พิสูจน์ได้ว่า มะยงชิดพันธุ์เพชรกลางดง จัดเป็นมะยงชิดที่ศูนย์รวมมะยงชิด-มะปรางหวานใหญ่ของคุณวิจิตร คัดเลือกแล้วว่าดีที่สุด

เมื่อตรวจ ดีเอ็นเอ พบว่า มีเอกลักษณ์พันธุ์โดดเด่นแตกต่างจากมะยงชิดสายพันธุ์อื่นๆ มากที่สุด

มะยงชิดอีกสายพันธุ์ที่น่าสนใจคือ พันธุ์บางขุนนนท์  ซึ่ง คุณวิจิตร เล่าว่า ในสมัยราชกาลที่ 5 เรียกกันว่า มะปรางเสวย ซึ่งแหล่งปลูกอยู่แถว ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และก็ได้กระจายสายพันธุ์ในเขตนนทบุรี และแหล่งอื่นๆ ทั่วประเทศ ด้วยพันธุ์บางขุนนนท์

เหตุผล ที่คุณวิจิตรสนใจพันธุ์มะปรางหวานผลใหญ่ คุณวิจิตร บอกว่า ในการปลูกมะปรางพันธุ์ดีบ้านเราในเชิงพาณิชย์นั้นเกือบทั้งหมดจะปลูกมะยงชิด พันธุ์ดี มีเกษตรกรให้ความสนใจมะปรางหวานผลใหญ่กันน้อยมากที่มีพูดถึงกันบ้างจะมี เพียงพันธุ์สุวรรณบาตรและพันธุ์ทองใหญ่

ด้วย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พันธุ์สุวรรณบาตร จะมีลักษณะผลคล้ายผลมะดัน ผลไม่ใหญ่นัก แต่จะมีความโดดเด่นทางด้านรสชาติคือ เนื้อแน่นความกรอบ และต้นแม่พันธุ์อยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เกษตรกรที่นำพันธุ์มาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักคือ คุณศิลป์ ศัลยพงษ์ เจ้าของสวนเกษตรศิลป์ ส่วนพันธุ์ทองใหญ่ เจ้าของสายพันธุ์คือ ผู้พันทองดำ จังหวัดปราจีนบุรี

คุณ วิจิตร บอกว่า มะปรางหวานพันธุ์ทองใหญ่จัดเป็นมะปรางหวานที่ดีมากสายพันธุ์หนึ่ง คือลักษณะของผลยาวใหญ่ แต่มีจุดอ่อนตรงที่ให้ผลผลิตไม่ดก เหมาะที่จะปลูกเพื่อส่งเข้าประกวด ไม่เหมาะที่จะปลูกในเชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน คุณวิจิตร ได้คัดเลือกสายพันธุ์มะปรางหวานพันธุ์ดีและได้คัดเลือกสายพันธุ์ด้วยการตรวจ ดีเอ็นเอ และเรียกว่า มะปรางหวานใหญ่มีจำนวน 6 สายพันธุ์ คือ

เพชรคลองลานขนาดผลใหญ่มาก ผลใหญ่สุดใกล้เคียงกับไข่ห่าน รสชาติหวานฉ่ำ พบที่สุโขทัย

เพชรหวานกลมมีรูปทรงกลมมน ขนาดผลใหญ่ใกล้เคียงไข่เป็ด มีรสชาติหวานเจี๊ยบ มีเชื้อสายใกล้เคียงกับแม่อนงค์

เพชรหวานยาวมีรูปทรงที่ยาวมากและรสชาติหวานหอม พันธุ์นี้เชื้อสายใกล้เคียงกับสุวรรณบาตร

พันธุ์นพเก้ามีลักษณะคล้ายมะยงชิดมากที่สุด ทั้งลักษณะผลและต้น รสชาติหวานมัน

เพชรเหรียญทอง 1เป็นมะปรางพันธุ์เบา ติดผลดกมาก รสชาติหวานมัน พันธุ์นี้เชื้อสายใกล้เคียงกับพันธุ์ทองใหญ่ ได้สายพันธุ์มาจากจังหวัดพิจิตร

เพชรเหรียญทอง 2ทรงผลสวย มีรสชาติหวานแหลม รับประทานอร่อย

คุณวิจิตร ยังสรุปตอนท้ายเกี่ยวกับขนาดของผลมะปรางหวานพันธุ์ดีทุกสายพันธุ์ที่กล่าวมาจะมีขนาดผลใหญ่กว่าไข่เป็ดทุกสายพันธุ์

สำหรับ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีนั้น คุณวิจิตร ได้กล่าวมาแล้วว่าแหล่งผลิตหลักจะอยู่ที่พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง จึงมักมีคำถามตามมาว่า ถ้าพื้นที่บนดอย บนที่ราบสูงจะปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีได้ผลดีหรือไม่

คุณวิจิตร บอกว่า ถ้าพื้นที่ที่มีอุณหภูมิหนาวจัด เช่น ภูชี้ฟ้า จะไม่ได้ผลดีนัก ซึ่งสอดคล้องกับ อาจารย์พันเลิศ บูรณศิลปิน เคยปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีที่สวนวังน้ำค้าง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (ปลูกแทนส้มเขียวหวาน) ได้บอกกับชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตรว่า ถ้าช่วงมะปรางออกดอกและอุณหภูมิในขณะนั้นต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส จะทำให้ดอกมะปรางช็อกและไม่ติดผล แต่ถ้าปลูกในสภาพพื้นราบ เช่น อำเภอหางดง อำเภอสันทราย ฯลฯ มีเกษตรกรนำไปปลูกนับพันไร่ก็ได้ผลดีพอสมควร

แต่ ถ้าจะให้ดีแล้ว พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกมะยงชิดและมะปรางหวานพันธุ์ดีควรจะอยู่ใน จังหวัดลำปาง ลงจนถึงพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับพื้นที่ภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนมากไม่เหมาะต่อการปลูก

 

การผลิต และการตลาด

มะยงชิด และมะปรางพันธุ์ดี 

คุณ วิจิตร บอกว่า ปัจจุบันมีเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกมะปรางหวานและมะยงชิดพันธุ์ดีกันมากขึ้น เทคโนโลยีในการบำรุงรักษาก็ดีกว่าแต่ก่อนมาก ผลผลิตได้คุณภาพดี ความต้องการของตลาดยังมีมากกว่าผลผลิตที่ออกมาในแต่ละปี ในส่วนตัวของคุณวิจิตรแล้วยังมีความเชื่อว่าขณะนี้คนไทยรู้จักมะยงชิดเพียง 25% เท่านั้น

ดัง นั้น จึงยังมั่นใจว่าอีก 10 ปีข้างหน้า ก็ยังไม่ล้นตลาด เพียงแต่เน้นในเรื่องของคุณภาพและรสชาติเป็นสำคัญ ปัจจุบันเริ่มมีการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนฝรั่งถือว่ามะยงชิดพันธุ์ดีเป็นไม้ผลแปลกและหายากที่มีรสชาติอร่อยเฉพาะ ตัว

ใน ขณะนี้ คุณวิจิตร ยังได้บอกว่า เริ่มมีเกษตรกรให้ความสนใจในการขยายพื้นที่ปลูกมะปรางหวานผลใหญ่กันมากขึ้น เนื่องจากขายได้ราคาจากสวนแพงกว่ามะยงชิดเท่าตัว

ปัจจุบัน มะยงชิดที่ผลใหญ่ ผิวสวยและรสชาติดี ขนาดน้ำหนักผล 12-15 ผล ต่อกิโลกรัม ราคาจากสวนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้าเป็นมะปรางหวานผลใหญ่จะขายได้ถึงกิโลกรัมละ 200 บาท

 

มะปรางหวานผลใหญ่

มีอายุการวางตลาดได้นานกว่า 

คุณ วิจิตร บอกถึงความได้เปรียบของมะปรางหวานผลใหญ่ตรงที่มีอายุการวางตลาดได้ ยาวนานกว่ามะยงชิด มะยงชิดจะวางขายอยู่ในตลาดได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ เท่านั้น เนื่องจากมะยงชิดเมื่อผลดิบมีรสชาติออกเปรี้ยว จะมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อยเมื่อมีสีเหลืองทั้งผล

ใน ขณะที่มะปรางหวานพันธุ์ดี ซึ่งปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกในเชิงพาณิชย์น้อยมาก จะวางขายในตลาดได้นาน 10-15 วัน เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลมะปรางหวานพันธุ์ดีจะเก็บได้ตั้งแต่ผลเริ่มเข้าสี และยังดิบอยู่จะมีรสชาติหวานมัน และเมื่อเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทั้งผลจะมีรสชาติหวานแหลม

คุณ วิจิตร ไกรสรสวัสดิ์ เคยให้เพื่อนชาวต่างชาติได้ทดลองรับประทานมะปรางหวานสายพันธุ์ต่างๆ ที่สวนวิจิตรการเกษตร เขาจะชอบมาก และบอกว่าเป็นผลไม้มหัศจรรย์อีกชนิดหนึ่งและเหมาะต่อการส่งออก จัดเป็นผลไม้เมืองร้อนที่จัดอยู่ในกลุ่ม The Exotic Fruit

 

อ่าน 279 ครั้ง
พิมพ์

ภาพที่เกี่ยวข้อง











วิธีแก้ไข :
 
ที่อยู่
 
หมู่บ้าน :
ตำบล / แขวง :
ในเมือง
อำเภอ / เขต :
เมือง
จังหวัด :
กำแพงเพชร
รหัสไปรษณีย์ :
62000
ภาค :
ภาคเหนือ
แหล่งข้อมูล
 
แหล่งที่มา :
เทคโนโลยีชาวบ้าน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2557
 

ย้อนกลับ


   
วัตถุประสงค์โครงการ
   
จำแนกปัญหาตามภูมิภาค
จำแนกปัญหาตามจังหวัด
จำแนกปัญหาตามประเภท
สืบค้นตามชื่อเรื่องแบบใช้คีย์เวิร์ด
สรุปภาพรวมของปัญหา
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่ภูมิภาค
สรุปประเภทปัญหาตามแผนที่จังหวัด
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สารสนเทศเกษตร
เกษตรพลิกฟื้นชาติ
สารพันความรู้
กรมส่งเริมการเกษตร
ห้องสมุดกรมวิชาการเกษตร
เทคโนโลยีชาวบ้าน
หนังสือพิมพ์มติชน
ติดต่อ E-mail : คลิกที่นี่
 
 

สถิติจาก truehit.net

   


Download Acrobat Reader

Best view with IE 5.0 or later version at 800x600
All comments please mail to
Webmaster

This site is copyright @ 2005 สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
75/7 ถ.พระรามหก แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400 โทร 0 2201 7256 แฟกซ์ 0 2201 7265
Email : info@dss.go.th
ปรับปรุง : Tuesday, May 2, 2017 11:07 PM